**ข้อมูลในบทความนี้อาจจะต่างไปบ้าง เนื่องจาก update Firmware / software ใหม่ๆ**
แกะกล่อง
ตอนแรกที่ได้เห็นกล่องมีขนาดเล็กและเบาอย่างน่าตกใจครับ หนักเพียง 1 กิโลกว่าๆเท่านั้น ในกล่องมีเพียงกระดาษแผ่นเดียว กับเครื่องครับ(ไม่มี CD หรืออย่างอื่นเลย) โดยในกระดาษจะระบุว่าให้ไปลงทะเบียนใน www.cubify.com เผื่อไปดาว์โหลดโปรแกรม และเพื่อลงทะเบียนโดยใช้ Serial Number ของเครื่อง เมื่อลงทะเบียนเราจะได้โค้ด 4 หลักมาเพื่อไว้ใช้งาน โค้ดนี้จะเป็นค่าเฉพาะของเครื่องนั้นๆครับ
ตัวเครื่องหลักๆมีกล้อง 3 อัน อันแรกลักษณะปล่อยแสง IR(infrared), กล้องจับ IR และกล้องสำหรับถ่ายภาพครับ อีกส่วนด้านล่างของเครื่องมีเกลียวไว้สามารถใช้กับขาตั้งกล่องได้
การใช้งาน
หลักการทำงานของเครื่องนี้คือ ปล่อยแสงอินฟราเรด และใช้กล้องอีก 2 ตัวตรวจจับภาพและแสงสะท้อนอินฟราเรด ทำให้ได้ภาพที่เป็นมิติ โดยผู้ใช้ต้องวาดเครื่องนี้ไปมาตามวัตถุที่ต้องการสแกน (ควรจะลากขึ้น-ลงไปมา และ เวียนให้ครบตัววัตถุที่ต้องการ สแกน) โปรแกรมจะทำการคำนวณภาพสามมิติที่ได้ และทำการต่อภาพไปเรื่อยๆ(คล้ายหลักการต่อภาพ Panorama) ดังนั้นเครื่องคอมที่ใช้ควรจะมีการ์ดจอ Graphic ดีๆหน่อย (ผู้รีวิวใช้การ์ดจอที่ซื้อมาแล้ว 3ปี ก็ยังใช้ได้ แต่พอมาใช้กับ Notebook รุ่นถูกๆแล้วเครื่องประมวลผลไม่ทัน)
โปรแกรมจะมีการบอกระยะที่ถูกต้องในการสแกน ว่าเราอยู่ในระยะพอดี(สีฟ้า) หรือ ห่าง-ใกล้ เกินไป(สีแดง) หากใช้งานจริงทำเพียง 6-7 ครั้งก็เริ่มทำเป็นแล้ว (ไม่ได้ยากอย่างที่คิด) เมื่อได้ชิ้นงานแล้ว จะเป็นรูป 3D ดิบ เราสามารถ Crop เฉพาะส่วนที่ต้องการได้ โดยมีเมนูคร่าวๆดังนี้ Erase (ใช้ในการลบส่วนที่ไม่ต้องการเป็นพื้นที่) Solidify (ปิดหรือเติมชิ้นงานในส่วนที่สแกนไม่ถึง ทำให้ชิ้นงานเป็นก้อนปิด เพื่อที่สามารถจะเอาไปพิมพ์โดย 3D Printer ต่อได้) Smooth(ทำให้ชิ้นงานเรียบมากขึ้น) Trim(ตัดชิ้นงานในแนวระนาบ) Touch Up(เครื่องมือทำให้สีเรียบ)
เมื่อเราทำเสร็จแบบ All in one ในโปรแกรม Sense แล้วเราก็จะสามารถ Save งานของเราออกมาในรูปแบบ .STL ได้ครับ โดยเราสามารถนำไฟล์นี้ไปทำงานต่อใน 3D program หรือ ใช้สั่งพิมพ์ชิ้นงานได้เลย
การพิมพ์ชิ้นงานที่ได้จาก Sense
เราสามารถเปิดชิ้นงาน .STL ได้ทั้งใน ReplicatorG หรือ Makeware(กรณีใช้เครื่อง Flashforge Creator หรือ MakerBot) หรือ โปรแกรม 3D printing อื่นๆก็ได้ครับแล้วแต่คนใช้ 3D Printer ยี่ห้ออะไร
งานที่เปิดขึ้นมาจะใหญ่มากครับ เช่นถ้าสแกนคน ก็จะได้ Scale คนจริงๆซึ่งต้องมาย่อขนาดในโปรแกรมอีกรอบ สั่งพิมพ์ชิ้นงานได้เลยครับ แล้วแต่เรากำหนดขนาดและสีของชิ้นงาน ตัวอย่างที่ผมนำมาแสดงนี้เป็น PLA สีขาว พิมพ์แบบกลวง(infill 0%)
ไฟล์ตัวอย่างงาน
Tips ควรรู้
1. จากการทดลองของเราเอง พบว่าการสแกนแบบ Landscape (คือจับเครื่องแสกนอยู่ในแนวนอน) จะได้งานคุณภาพดีกว่าและง่ายกว่า
2. การสแกนควรอยู่ในสภาพแสงที่ ไม่สว่างจนเกินไป ไม่มีแสงแยง
แก้ปัญหาเบื้องต้น
Download
โปรแกรม Sense >> http://www.3dsystems.com/shop/sense/downloads
ดูตัวอย่างงานแสกนได้ที่ >> https://sketchfab.com/print3dd