นักเรียนอายุ 16 กับเพื่อนร่วมชั้นใช้เครื่องพิมพ์สามมิติปรับปรุงรถเข็นคนพิการของตัวเอง

นักเรียนอายุ 16 กับเพื่อนร่วมชั้นใช้เครื่องพิมพ์สามมิติปรับปรุงรถเข็นคนพิการของตัวเอง

16-year-old-redesigns-wheelchair-with-classmates-3d-printing-2

นักเรียนของโรงเรียน NuVu High School ในเมือง Massachusetts ได้ทำโครงงานดัดแปลงรถเข็นคนพิการของตัวเองโดยร่วมมือกันกับเพื่อนๆ ในชั้นเรียน

16-year-old-redesigns-wheelchair-with-classmates-3d-printing-10

 

Mohammad Sayed กล่าวว่าเขาได้ออกแบบด้วยตัวของเขาเองมาก่อนที่เพื่อนๆ ของเขาจะเข้ามาช่วยเหลือ โดยแต่เดิมเขาคิดจะให้รถเข็นของเขาเป็นรถที่ไปได้ทุกสภาพถนน และเป็นรถเข็นที่ว่ายน้ำได้ด้วย เขากล่าวว่า “จริงๆ แล้วผมต้องการสร้างรถเข็นที่บินได้ และลงใต้น้ำได้ด้วย แต่คุณครูบอกว่าเราควรเริ่มจากสิ่งเล็กๆ ก่อนจะขยายใหญ่ขึ้น”

พวกเขาร่วมมือกันโดยใช้โปรแกรม Autodesk Fusion 360 ออกแบบและสร้างหุ่นจำลองชิ้นงานดัดแปลงทั้งสามแบบสำหรับรถเข็นของ Sayed ดดยใช้เวลาที่เหลือของเทอมนั้น และตั้งเป้าไว้ว่าจะเปิดกว้างให้ใครๆ สามารถนำแบบไปพิมพ์ และใช้กับรถเข็นของตัวเองได้อย่างเสรี

wheelchair-with-classmates-3d-printing-11

รูปแบบแรกคือถาดวางหน้าตัก โดยใช้ต้นแบบของ Sayed แล้วพัฒนาต่อจากการสังเกตชีวิตประจำวันของเขา ซึ่งสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่างเช่นวางและเก็บคอมพิวเตอร์ และสิ่งของอื่นๆ มีการใช้ Laser cutter และเครื่องพิมพ์สามมิติร่วมกันในการสร้างถาด และส่วนกลไก

wheelchair-with-classmates-3d-printing-15wheelchair-with-classmates-3d-printing-14

หลังจากที่ทำถาดสำเร็จแล้ว ทีมานก็เริ่มทำการออกแบบชิ้นส่วนที่ซับซ้อนขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ Sayed และคนอื่นๆ ที่ใช้ wheelchair ขับเคลื่อนตัวเองไปข้างหน้าได้อย่างสะดวกสบายขึ้น

พวกเขาใช้ต้นแบบก้านโยกจากรถ GoGrit All-Terrain wheelchair และจาก NASA engineer Salim Nasser’s Rowheels project มาพัฒนาต่อโดยออกแบบให้พิมพ์จากเครื่องพิมพ์สามมิติได้ และทำให้มีราคาถูกลง

16-year-old-redesigns-wheelchair-with-classmates-3d-printing-4

 

กลไกที่ลดการใช้แรงหมุนล้อมาจากเทคนิกการพายเรือ เพื่อช่วยคนที่ไม่ค่อยมีแรงหมุนล้อของรถเข็นโดยทั่วไป

16-year-old-redesigns-wheelchair-with-classmates-3d-printing-3

หลังจากที่ทดลองออกแบบมาได้ระยะหนึ่ง สุดท้ายพวกเขาได้แบบที่สามารถพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติเกือบ 100% และยังสามารถขับเคลื่อนไปข้างหน้าหรือถอยหลังได้ด้วย

16-year-old-redesigns-wheelchair-with-classmates-3d-printing-7

โครงการแบบนี้แหละที่ผลักดันให้เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นส่วนหนึ่งของนักออกแบบผลิตภัณฑ์ และวิศวกร รุ่นใหม่ นอกจากนี้การเรียนรู้การออกแบบทางกายภาพยังช่วยให้นักเรียนได้รู้ซึ้งถึงพื้นฐานการทำงานร่วมกัน และการสื่อสารที่ดี