ในปัจจุบันเราสามารถพบเห็นเครื่องพิมพ์ 3 มิติตามโรงพยาบาลได้มากขึ้น โดยเฉพาะการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติช่วยในด้านสร้างแบบจำลองเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับงานผ่าตัดที่มีความซับซ้อน ย้อนกลับไปเมื่อเดือนเมษายนปี้นี้มีทารกที่แรกเกิดเป็นโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด ทางโรงพยาบาลได้ใช้แบบจำลองที่สร้างจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติเข้ามาช่วยเพื่อลดความผิดพลาดในการผ่าตัด ในอนาคตเครื่องพิมพ์ 3 มิติจะเข้ามามีบทบาทในด้านสร้างแบบจำลองการผ่าตัดทำให้แพทย์สามารถศึกษาอาการของผู้ป่วยได้ง่ายขึ้นและประหยัดค่าใช้จ่าย
แพทย์ศัลยกรรมทางด้านกระดูก ดร.โกลดี้ ได้รักษาผู้ป่วยที่เกิดที่เกิดจากภาวะแทรกซ้อนโดยเฉพาะที่เกิดจากนักกีฬาเช่น นักกีฬาเทนนิสมีปัญหาด้านกระดูกข้อมือและหัวไหล่ ส่วนนักกีฬากอล์ฟมีปัญหาด้านกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท ก่อนการผ่าตัดส่วนใหญ่แล้วใช้การทำ CT scans เพื่อดูความผิดปกติของผู้ป่วยแต่ยังไม่เพียงพอกับการผ่าตัดที่มีความซับซ้อน มีแพทย์ศัลยกรรมหลายคนที่นำไฟล์ที่ได้จากการสแกนไปให้บริษัทภายนอกสร้างแบบจำลองแต่ไม่สามารถทำได้ทุกครั้งเนื่องมีราคาแพงและใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการส่งมอบชิ้นงาน
แพทย์ศัลยกรรมจึงหันมาเลือกซื้อเครื่องพิมพ์3มิติไว้ใช้ในหน่วยงานของตนเอง เนื่องจากมีราคาไม่แพงและสามารถใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์ Opensource ได้ โดยไฟล์ที่ได้จากการสแกนสามารถนำมาเข้าโปรแกรมของเครื่องพิมพ์เพื่อสั่งพิมพ์เป็นชิ้นงาน 3 มิติได้ทันที ดร.โกลดี้ กล่าวว่า “เครื่องพิมพ์ 3 มิติช่วยให้เขาวางแผนการผ่าตัดได้ง่ายขึ้นและช่วยลดความผิดพลาดในการผ่าตัด และที่สำคัญที่สุดสามารถทำให้ผู้ป่วยเข้าใจในโรคที่เขาเป็นมากขึ้น”
การใช้เครื่องพิมพ์ 3 สร้างแบบจำลองก่อนการผ่าตัดเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ให้ผลในการรักษาเป็นอย่างดี และในประเทศไทยก็มีหน่วยงานแพทย์หลายหน่วยงานที่ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติเข้าช่วยในงานด้านต่างๆ