3D Resin เรซิ่นเครื่องพิมพ์ 3มิติ Photopolymer Resin


วัสดุพิมพ์3มิติ น้ำเรซิ่นของเครื่องพิมพ์ 3มิติ ระบบ SLA, LCD, MLCD, DLP น้ำเรซิ่นจะแข็งตัวเฉพาะจุดที่โดนแสง UV โดยหลักๆจะแบ่งเป็น 2ประเภทจากขนาดคลื่นของ UV ความยาวคลื่น 385-405nm สำหรับเครื่องพิมพ์ขนาดเล็ก และ UV ความยาวคลื่น 355nm สำหรับเครื่องพิมพ์ระดับอุตสาหกรรมที่พิมพ์ได้ขนาดใหญ่ SLA 3D Printer 60ซม – 3เมตร

เรซิ่น 385-405nm ใช้ได้กับ 3D Printer ทั่วไปในท้องตลาด (MLCD, SLA, DLP)

โดยมากจะขายที่น้ำหนัก 1Kg เป็นขนาดมาตรฐานมีให้เลือกมากมายในท้องตลาด ทั้งแบบ Standard ใช้ได้กับงานทั่วไป, High Detail Nano ละเอียดพิเศษ, Washaable ล้างได้ด้วยน้ำเปล่า, Engineer สามารถให้ตัว แข็งแรง, Wax สำหรับงานหล่อเครื่องประดับ Jewelry เป็น โดยเรซิ่นของ 3DD สามารถใช้ได้กับเครื่องทั่วไปรวมถึง Phrozen, Elegoo, Creality, AnyCubic, Flashforge เป็นต้น

เรซิ่น 355nm ใช้กับ SLA 3D Pritner ระดับอุตสาหกรรม พิมพ์ได้ 60cm – 300cm

ขนาดที่ขายมาตรฐานคือ 10Kg เนื่องจากเครื่องพิมพ์บรรจุเรซิ่นอยู่แล้ว  250Kg – 1000Kg โดยมากผู้ใช้งานจะไม่ค่อยเปลี่ยนเรซิ่นเพื่อถังเรซิ่นในเครื่องใหญ่มากๆเปลี่ยนยาก จะเติ่มครั้งละ 10Kg 355nm Photopolymer Resin ที่นิยมในไทยจะเป็นสีน้ำตาล Brown Resin


เรซิ่นเครื่องพิมพ์ 3มิติ หรือ Photopolymer Resin มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงเวลาหลายปีมานี้ราคาถูกลงอย่างมาก โดยหลายตัวราคาต่ำกว่า 1000บ/กก. แล้ว มีให้เลือกหลากหลาย บทความนี้จะแนะนำข้อแตกต่าง เพื่อประโยชน์ในการเลือกซื้อเรซิ่นให้เหมาะกับเครื่องพิมพ์ระบบเรซิ่น 3D Printer SLA, MLCD, DLP ของท่านต่อไป โดยวัสดุมีหลากหลายเช่น ใช้งานทั่วไป, ทนความร้อนสูง, เติมวัสดุ Wax เข้าไปเพื่อให้สามารถนำไปหล่อเป็น Jewelry ได้ หรือ แม้กระทั้งนำไปใช้ Implant ปลูกถ่ายในร่างกายมนุษย์

เรซิ่นแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน หากคิดไม่ออกใช้งานทั่วไปให้เลือก Standard หรือ Washable ครับเพราะคุณสมบัติใช้ง่ายและราคาไม่แพง ต่างกันที่ Washable สามารถล้างออกด้วยน้ำเปล่า ส่วน Standard ต้องล้างด้วย IPA | หากต้องพิมพ์ละเอียดสูงแนะนำเป็น Nano | หากพิมพ์งานที่ต้องไปประกอบเจาะ Functional ให้เลือกเป็น Engineer

Photopolymer Resin คืออะไร?

หากแปลตรงตัว Photopolymer คือ โพลิเมอร์ขึ้นรูปด้วยแสง โดยสถานตั้งต้นของเรซิ่นจะเป็นสถานะเป็นของเหลวครับ เรซิ่นจะประกอบด้วย Monomer โมเลกุลตั้งต้นของพลาสติกโพลิเมอร์ทั่วไป แต่จะต่างกันที่ มีการใส่สารตัวประสานเข้าไปชื่อ Photoinitiator, Oligomer ตัวประสานนี้จะมีความสามารถพิเศษคือ เมื่อดูดซับคลื่นแสง UV ที่ความถี่หนึ่งๆแล้วจะเกิดโครงสร้าง Bonding ขึ้นมาจับกับ Monomer ทำให้เมื่อโดน UV จะแข็งตัวครับ ใช่ครับคุ้นกันไหมอะไรที่โดน UV แล้วแข็ง ยาทาเล็บของคุณผู้หญิงก็เป็น Photopolymer อย่างหนึ่งครับ นอกจากนั้นนักวิทยาศาสตร์ก็นำมาใช้กับสินค้าอย่างอื่นเช่น กาวอุตสาหกรรม และวัสดุสำหรับเครื่องพิมพ์ 3มิติ ที่ใช้แหล่งกำเนิดแสง UV ฉายเพื่อให้เกิดชิ้นงานขึ้นมาเป็นชั้น เช่น พวก SLA, MLCD, DLP Printer เป็นต้น

พลาสติกชนิดนี้เป็น Plastic-thermoset คือเมื่อเผาหรือทำความร้อนสูงๆ พลาสติกจะเสียหายและถูกทำลายไปเลย ต่างจาก Thermo-Plastic ที่โดยความร้อนสามารถหลอมแล้วนำกลับมาเป็นวัสดุ Recycle ได้

ที่พบได้ทั่วไปในท้องตลาดแบ่งเป็นกลุ่มคือ UV 385-405nm ใช้กับเครื่องพิมพ์ SLA, MLCD, DLP Printer ทั่วไปในท้องตลาดราคาไม่สูง, UV 355nm ใช้กับ SLA Printer ขนาดใหญ่ เพิ่มเติมเมื่อขึ้นรูปด้วยแสง UV เสร็จต้องนำออกมาล้างโดยทั้วไป ต้องใช้ IPA ไอโซโพพลิลแอลกอฮอล์ ล้างซึ่งมีกลิ่นค่อนข้างฉุนแรงมีราคาสูง จะมีเรซิ่นบางชนิดสามารถให้น้ำเปล่าล้างออกได้โดยทำเป็นสูตรน้ำ Washable Resin 

เมื่ออยู่ในสถานะของเหลว จะประกอบด้วย Monomer Oligomer Photoinitiator | หลังจากดูซับคลื่นแสงที่ความถี่หนึ่งๆ | เกิดการสร้างพันธะเชื่อมโยงโครงสร้างขึ้นมา กลายเป็นของแข็ง

Standard Resin เรซิ่นทั่วไป

Standard Resin เรซิ่นที่ใช้ได้ทั่วไป ตั้งแต่ขึ้นรูปเป็นโมเดล Art Toy โมเดลต้นแบบของสินค้า สามารถขัดแต่งด้วยกระดาษทราย ข้อดีของเรซิ่นชนิดนี้คือ ราคาถูก Setting ง่าย พิมพ์งานคุณภาพดี แต่อาจจะมีข้อเสียเนื่องจากว่าไม่ได้เด่นด้านใดด้านหนึ่งไม่ได้ใส่สารเพิ่มคุณสมบัติ อีกอย่างส่วนมากเรซิ่นชนิดนี้จะค่อนข้างเปราะคือตกแล้วแตกครับ

ในรูปพิมพ์คละกันทั้ง Standard และ Washable

Washable Resin เรซิ่นทั่วไป+สูตรน้ำ (ล้างได้ด้วยน้ำเปล่า)

Washable Resin เรซิ่นชนิดนี้คล้ายกับเรซิ่น Standard มากโดยทำเป็นสูตรน้ำ คือสามารถละลายได้ในน้ำเปล่า แทนที่จะเป็น Isopropyl Alcohol ทำให้อำนวยความสะดวกในการใช้งาน ไม่ต้องทนกับกลิ่นฉุน และ สกปรก อย่างไรก็ดีแนะนำว่าหากไม่ได้ใช้เป็นเวลานานควรเทกลับเข้ากล่อง เพราะสามารถดูดซับความชื้นในอากาศ

Nano Resin เรซิ่นความละเอียดสูง

Nano Resin เป็นเรซิ่นที่มีการใส่ Pigment เข้าไปพิเศษ มีความด้านและความทึบแสงกว่าเรซิ่นมาตรฐาน เวลาพิมพ์เสร็จจะเห็น Detail ค่อนข้างชัดเจน เรซิ่นชนิดนี้นิยมใช้กับงาน Jewelry หรืองาน พุทธศิลป์ โมเดลขนาดเล็ก (สีส้มคล้ายสีมาตรฐานของ Envisiontec ที่ใช้กันมานานเป็น 10ปีแล้ว)

Engineer Resin เรซิ่นเพื่องานวิศวกรรม

Engineer Resin มีการเติมสารบางตัวให้เมื่อถูกขึ้นรูปด้วย UV แล้วคงสภาพและทนกันแรงบิด ไม่แข็งเปราะเหมือนเรซิ่นทั่วไป เรซิ่นชนิดนี้สามารถไปใช้เชิงการประกอบ ขึ้นเกลียว ให้ตัวดัดบิดได้ สามารถใช้งาน Functional ได้ แต่ก็มีขึ้นเสียด้วยเช่นกัน คืออาจจะต้องใช้ค่าแสงฉายนานกว่าทั่วไป และไม่แนะนำให้พิมพ์บางๆ เพราะมันจะบิดงอผิดรูปได้


Gallery งานที่พิมพ์จากเรซิ่น


บทความที่เกี่ยวข้อง