Medical / Healthcare solutions

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 3D Printing กับงานด้านการแพทย์ / ทำอุปกรณ์การแพทย์ / Implant Surgery / วิจัยทางวิทยาศาสตร์

กระโหลกจาก CT Scanner พิมพ์ด้วยเครื่อง SLA และ ส่วน implant วัสดุไททาเนียมจาก SLM

ใช้เครื่องพิมพ์ 3มิติ ช่วยในการพิมพ์ชิ้นส่วนทางการแพทย์ เช่น พิมพ์กระดูกจากไฟล์สแกน CT Scan หรือพิมพ์ชิ้นส่วนเพื่อการปลูกถ่าย implant ศัลยกรรม คณะแพทยศาสตร์หลายแห่งใช้เครื่องพิมพ์ 3มิติ เพื่อพิมพ์อุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอนแพทย์เครื่องมือแพทย์และอื่นๆ

  • ใช้ 3D Printer พิมพ์ชิ้นส่วนกระดูก ที่ได้จาก CT Scan
  • ใช้เครื่องพิมพ์ พิมพ์อุปกรณ์การเรียนการสอนของแพทย์
  • ใช้ 3D Printer ออกแบบเครื่องมือทางการแพทย์
  • ต่อยอดสู่ Bio Printer

เนื่องจากร่างการมนุษย์แต่ละคนไม่เหมือนกัน เครื่องสแกนเนอร์ 3มิติมีส่วนช่วยสำคัญในการเก็บขนาดร่างกายเรา เช่น ในการทำแขนเทียมขาเทียม สแกนเก็บขนาดของผู้ป่วยให้เรียบร้อย แล้วนำไฟล์มาทำต่อให้ Software เพื่อนำมาเป็นแขนเทียม ขาเทียมที่มีขนาดตามคนนั้นๆจริงๆ (Personalize, Customize)

ในอนาคตอันใกล้น่าจะมีเครื่องพิมพ์ Bio Printing ออกมาให้ใช้จริงในอนาคต

  • ประยุกต์ใช้กับไฟล์ จาก CT Scanner / MRI Scan ไฟล์ DICOM
  • สแกนวัดขนาดร่างกาย เช่นแขน / ขา
  • ประยุกต์ในการทำแขนเทียม ขาเทียม อุปกรณ์ที่ต้องติดตั้งกับร่างกาย
ขาเทียม 3d Printer

Case Study1

โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ (คณะแพทยศาสตร์) ในหน่วยงานมีเครื่องพิมพ์ 3มิติหลายเครื่องหลายระบบ รวมถึงเครื่องสแกนเนอร์ 3มิติ เพื่อทำเครื่องทางการแพทย์ และเพื่อการวัจัย / รองรับการพิมพ์ไฟล์จากเครื่อง CT Scan / MRI Scan สามารถทำมือเทียมขาเทียมได้

โรงพยาบาลจุฬา
ในหน่วยงานมีเครื่องพิมพ์ 3มิติหลายเครื่องหลายระบบ รวมถึงเครื่องสแกนเนอร์ 3มิติ เพื่อทำเครื่องทางการแพทย์ และเพื่อการวัจัย

Case Study2

โรงพยาบาลศิริราช (คณะแพทยศาสตร์) หน่วยหุ่นจำลองทางการแพทย์ หน่วยงานที่สร้างเครื่องมือการเรียนการสอนให้นักศึกษาแพทย์ใช้เครื่องสแกนเนอร์ 3มิติ ในการผลิตชิ้นงานออกมา

สินค้าที่เกี่ยวข้อง


Gallery


บทความที่เกี่ยวข้อง