เครื่องพิมพ์ 3มิติ คืออะไร? | 2025

เครื่องพิมพ์ 3มิติ คืออะไร? | 2025

เครื่องพิมพ์ 3 มิติ คืออะไร ?

เครื่องพิมพ์ 3 มิติ คืออะไร เชื่อว่าหลายๆ คนอาจจะเคยได้ยินมาบ้าง หรือยังไม่รู้จักเทคโนโลยีตัวนี้ วันนี้ทาง 3DD เลยจะมาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่สนใจ หรือกำลังตัดสินใจที่จะซื้อเครื่องพิมพ์ 3 มิติ สักเครื่องมาลองใช้งาน สามารถทำงานได้ตั้งแต่งานโมเดลชิ้นเล็ก การสร้างผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป จนไปถึงชิ้นงานระดับอุตสาหกรรม

Dr. Hideo Kodama

เริ่มจากเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ มีจุดเริ่มต้นปี 1980 ซึ่งบุลคลแรกเริ่ม มีชื่อว่า Dr. Hideo Kodama จากประเทศญี่ปุ่น เขาเป็นคนแรกที่ทดลองเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ซึ่งเป็นระบบเรซิ่น ที่ใช้การฉายแสงUV ทีละชั้น จนทำให้เกิดเป็นชิ้นงาน 3 มิติ ขึ้นมา

Chuck Hall

ต่อมาในปี 1984  Chuck Hall ได้ยื่นขอจดสิทธิบัตร เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติอย่างเป็นทางการ โดยเรียกเทคโนโลยีนี้ว่า Stereolithography (SLA) หมายถึงวิธีการ ซึ่งวัตถุถูกทำให้แข็งด้วยการพิมพ์ชั้นของวัสดุด้วยแสงอัลตราไวโอเลต จากนั้นในปี 1986 เขาได้เปิดบริษัทชื่อว่า 3D system และผลิตเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ออกมาจำหน่ายเป็นเครื่องแรก โดยใช้ชื่อว่า SLA-1 นอกจากเทคโนโลยี SLA ที่ Chuck Hull คิดค้นขึ้นมาแล้ว ยังมีเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติอื่น ๆ ที่พัฒนาในเวลาต่อมาอีก เช่น Selective Laser Sintering (SLS), Fused Deposition Modeling (FDM)

  • Selective Laser Sintering (SLS) ซึ่งพัฒนาโดย Carl Deckard ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ใช้เลเซอร์เพื่อเผาผนึกผงวัสดุให้กลายเป็นวัตถุที่เป็นของแข็ง
  • Fused Deposition Modeling (FDM) คิดค้นโดย Scott Crump ในปี 1989 ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้เส้นพลาสติกหลอมเหลวและฉีดขึ้นรูปเป็นชั้น ๆ  ปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมมากในเครื่องพิมพ์ 3 มิติ สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป

 

โดยในปัจจุบัน Fused Deposition Modeling (FDM) ถือเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ใช้ทั่วไป เนื่องจากราคาไม่ได้สูงมาก ระบบใช้งานง่าย และสามารถใช้วัสดุได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น PLA, ABS, PETG, TPU นอกจากนี้ เทคโนโลยี 3 มิตินี้ยังถูกนำไปใช้ในอุตสาหกรรมหลายๆ ด้าน เช่น อุตสาหกรรมทางการแพทย์, อุตสาหกรรมยานยนต์, อุตสาหกรรมเครื่องประดับ

Photo Credit : www.google.com

อุตสาหกรรมทางการแพทย์

เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ได้กลายเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีสำคัญ ที่ช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมการแพทย์ไปอย่างก้าวกระโดด โดยช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่สามารถปรับแต่งได้เฉพาะบุคคล

การสร้างแบบจำลองทางกายวิภาค

สามารถใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ FDM เพื่อสร้างแบบจำลองอวัยวะจากภาพ CT Scan หรือ MRI เพื่อช่วยวางแผนการผ่าตัดที่ซับซ้อน เช่น การผ่าตัดสมอง หัวใจ หรือกระดูก

  • แบบจำลองกะโหลกศีรษะ ที่ใช้สำหรับการฝึกผ่าตัดของนักศึกษาแพทย์
  • แบบจำลองหัวใจ สำหรับการศึกษาโครงสร้างของผู้ป่วยเฉพาะราย
  • แบบจำลองขากรรไกร สำหรับการศัลยกรรมตกแต่ง

การผลิตอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ช่วยเหลือ

ผลิตแขนขาเทียม และอุปกรณ์ช่วยเหลือสำหรับผู้พิการ โดยมีข้อดีคือสามารถปรับแต่งให้เข้ากับผู้ป่วยแต่ละรายในราคาที่ถูกกว่าวิธีดั้งเดิม

  • แขนขาเทียม ที่พิมพ์จากวัสดุพลาสติกที่แข็งแรง เช่น ABS หรือ Nylon
  • เฝือกทางการแพทย์ ที่ออกแบบมาให้น้ำหนักเบา และช่วยระบายอากาศได้ดี
  • อุปกรณ์ช่วยเหลือต่างๆ เช่นที่จับสิ่งของสำหรับผู้ที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวร่างกาย

การใช้วัสดุชีวภาพ

แม้ว่า ระบบการพิมพ์ 3 มิติ ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถพิมพ์เซลล์มีชีวิตได้ แต่ก็มีการพัฒนาเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่สามารถใช้วัสดุชีวภาพ (Biocompatible Materials) เพื่อผลิตโครงสร้างที่สามารถปลูกถ่ายในร่างกายได้

  • การพิมพ์โครงสร้างกระดูกที่สามารถช่วยให้เซลล์กระดูก งอกออกใหม่ได้สมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
  • การพิมพ์เนื้อเยื่อแบบ 3 มิติ เหมือนจะอยู่ในช่วงการทดลอง
  • การสร้างแบบจำลองหลอดเลือดสำหรับทดลองยา

 

Photo Credit : www.google.com

อุตสาหกรรมยานยนต์

ระบบการพิมพ์ Fused Deposition Modeling (FDM) กลายเป็นเทคโนโลยีที่มีบทบาท และสำคัญมากในอุตสาหกรรมยานยนต์ เนื่องจากช่วยให้สามารถผลิตชิ้นส่วนได้อย่างรวดเร็ว ใช้ต้นทุนต่ำ และสามารถปรับแต่งให้ตรงตามความต้องการได้อย่างอิสระ

การพัฒนาและทดสอบชิ้นส่วนต้นแบบ

FDM ถูกนำมาใช้ในกระบวนการออกแบบและพัฒนายานยนต์ โดยช่วยให้วิศวกรสามารถสร้างชิ้นส่วนต้นแบบที่สามารถจับต้องได้และทดสอบสมรรถนะของชิ้นส่วนนั้นก่อนการผลิตจริง

  • การพิมพ์ต้นแบบแผงหน้าปัด ในรถรุ่นต่างๆ
  • ชิ้นส่วนภายในรถยนต์ เช่น ช่องแอร์ และปุ่มควบคุมต่างๆ ที่เป็นชิ้นส่วนพลาสติก
  • การสร้างแบบจำลอง แอโรไดนามิกส์ของตัวรถ เพื่อทดสอบในอุโมงค์ลมจำลอง ลดการใช้พื้นที่ขนาดใหญ่

การผลิตชิ้นส่วนที่ใช้งานจริง

ปัจจุบันมีการใช้ FDM ในการผลิตชิ้นส่วนที่สามารถติดตั้งในรถยนต์ได้จริง โดยเฉพาะในรถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์สมรรถนะสูงที่ต้องการชิ้นส่วนเฉพาะที่ไม่มีการผลิตในจำนวนมาก

  • ช่องระบายอากาศของรถยนต์แข่ง
  • แผงควบคุม หรือปุ่มต่างๆ ในรถยนต์
  • ฝาครอบเครื่องยนต์

การผลิตชิ้นส่วนอะไหล่แบบพิเศษ

FDM มีประโยชน์อย่างมากในการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ที่หายากหรือไม่ได้ผลิตเป็นจำนวนมาก เช่น รถยนต์คลาสสิก หรือรถยนต์รุ่นพิเศษ ที่ไม่มีการผลิตชิ้นส่วนทดแทน

  • ชิ้นส่วนปุ่มควบคุมและแผงคอนโซล สำหรับรถยนต์วินเทจในรุ่นนั้นๆ
  • ตัวยึด หรือโครงสร้างพิเศษ ที่ใช้ในการซ่อมแซมรถยนต์เก่า ที่เลิกผลิตอะไหล่ไปแล้ว
  • อุปกรณ์ตกแต่งเฉพาะที่เจ้าของรถสามารถออกแบบเองได้อย่างอิสระ

 

Photo Credit : www.google.com

อุตสาหกรรมเครื่องประดับ

FDM เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่ช่วยพลิกโฉมอุตสาหกรรมเครื่องประดับ เนื่องจากช่วยให้สามารถสร้างแบบจำลองที่มีความละเอียดสูง และผลิตต้นแบบได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งช่วยลดต้นทุนและเพิ่มความสามารถในการออกแบบเครื่องประดับที่ซับซ้อน

ลดเวลาใช้สร้างต้นแบบเครื่องประดับ

เครื่องประดับสามารถสร้างต้นแบบแหวน สร้อยคอ หรือต่างหู ได้อย่างรวดเร็ว ก่อนที่จะนำไปขึ้นรูปด้วยวัสดุจริง

  • ต้นแบบแหวนและจี้ที่สามารถแก้ไขได้ก่อนการผลิตจริง
  • การสร้างแม่พิมพ์ที่มีลวดลายซับซ้อนซึ่งยากต่อการแกะสลักด้วยมือ
  • การผลิตแบบจำลองเครื่องประดับที่สามารถทดสอบขนาดและสัดส่วนก่อนการผลิตจริง

การออกแบบเครื่องประดับที่ซับซ้อน และสามารถปรับแต่งเฉพาะบุคคลได้

ช่วยให้ดีไซเนอร์สามารถออกแบบเครื่องประดับที่มีลวดลายซับซ้อนและสามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการของลูกค้า

  • แหวนและสร้อยคอที่มีโครงสร้าง lattice หรือ organic forms ที่ผลิตได้ยากด้วยวิธีดั้งเดิม
  • เครื่องประดับแบบปรับแต่งชื่อหรือสัญลักษณ์ตามความต้องการของลูกค้า
  • การออกแบบเครื่องประดับที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะดิจิทัล

การใช้วัสดุที่หลากหลายในการพิมพ์เครื่องประดับ

รองรับวัสดุหลายประเภท เช่น PLA, ABS, Nylon และวัสดุแบบผสม (Composite) ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับการสร้างเครื่องประดับ

  • เครื่องประดับที่พิมพ์จากวัสดุผสมไม้หรือคาร์บอนไฟเบอร์เพื่อให้มีพื้นผิวพิเศษ
  • การใช้เส้นพลาสติกแบบเรืองแสงหรือเปลี่ยนสีเมื่อโดนแสง UV
  • การพิมพ์ต้นแบบจากวัสดุเรซินแบบละเอียดสูงก่อนการขึ้นรูปด้วยโลหะ

 

แล้วจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราเหมาะกับเครื่องพิมพ์ประเภทไหน ?

การเลือกเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

เครื่องพิมพ์ 3 มิติที่เหมาะสมกับเรา ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆด้าน ยกตัวอย่างเช่น วัสดุที่ต้องการใช้ เช่น PLA, PETG, ABS ประเภทของชิ้นงาน เช่น งานโมเดล ชิ้นส่วนรถยนต์ หรือ ชิ้นส่วนระดับอุตสหกรรม  สุดท้ายคือ ต้องการขนาดชิ้นงาน เล็ก กลาง ใหญ่ ขนาดไหน โดยต้องพิจารณาดังนี้

  • งบประมาณ – เครื่องพิมพ์ราคาประหยัดเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้น ในขณะที่เครื่องพิมพ์ระดับอุตสาหกรรมมีราคาสูงแต่ให้คุณภาพที่ดีมาก
  • ประเภทของวัสดุ – ต้องเลือกเครื่องพิมพ์ที่รองรับวัสดุที่ต้องการใช้งาน เช่น PLA, PETG, ABS
  • ความละเอียดของการพิมพ์ – ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่เลือกใช้ เช่น SLA จะให้ความละเอียดที่สูงกว่า FDM
  • ขนาดของพื้นที่พิมพ์ – หากต้องการพิมพ์ชิ้นงานขนาดใหญ่ ต้องเลือกเครื่องที่มีพื้นที่พิมพ์กว้างตามขนาดของชิ้นงาน

 

เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ระบบฉีดเส้นพลาสติก (FDM)

เป็นเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติที่ใช้หลักการฉีดเส้นพลาสติกที่ถูกให้ความร้อนจนหลอมเหลว และวางเป็นชั้นๆ ตามรูปแบบที่กำหนดจนเกิดเป็นชิ้นงาน ใช้งานง่าย คุ้มค่า และเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม

คุณสมบัติ
  • คุ้มค่าและเข้าถึงง่ายเหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นและใช้ในอุตสาหกรรมต้นแบบ ด้วยต้นทุนวัสดุที่ไม่สูง
  • รองรับวัสดุพลาสติกหลากหลายชนิดพิมพ์ได้ทั้ง PLA, ABS, PETG และวัสดุชนิดพิเศษ เช่น ไฟเบอร์เสริมแรง และคาร์บอนไฟเบอร์
  • โครงสร้างชิ้นงานแข็งแรงใช้พลาสติกเป็นเส้น ทำให้ชิ้นงานมีความทนทานสูง และสามารถใช้ในการทดสอบฟังก์ชันการทำงานได้
  • เหมาะสำหรับการพิมพ์ต้นแบบและงานผลิตจริง ใช้ในงานด้านวิศวกรรม, การศึกษา, การออกแบบผลิตภัณฑ์ และอุตสาหกรรมขนาดเล็ก

 

เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ระบบน้ำเรซิ่น  (SLA/ LCD / DLP)

เทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ ที่ใช้แสงUV ในการฉาย ทำให้เกิดการแข็งตัวของเรซิ่นเหลว ทีละชั้นๆ เพื่อสร้างชิ้นงาน ให้ความรายละเอียดชิ้นงานสูง และพื้นผิวเรียบเนียน เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความละเอียด

คุณสมบัติ
  • ความละเอียดสูงมากสามารถพิมพ์ชิ้นงานที่มีความละเอียดสูงถึง 25-50 ไมครอน ทำให้ได้รายละเอียดที่คมชัด
  • พื้นผิวเรียบเนียนไม่จำเป็นต้องขัดผิวเพิ่มเติมมากนัก เนื่องจากชิ้นงานมีพื้นผิวที่เรียบเนียนตั้งแต่พิมพ์เสร็จ
  • เหมาะกับงานต้นแบบที่ต้องการความแม่นยำใช้ในอุตสาหกรรมทางการแพทย์, ทันตกรรม, วิศวกรรม และอัญมณี
  • รองรับวัสดุเรซิ่นที่หลากหลายสามารถพิมพ์วัสดุโปร่งใส, ยืดหยุ่น, ทนความร้อน หรือแม้แต่เรซิ่นสำหรับงานทันตกรรมโดยเฉพาะ

 

สรุป

เครื่องพิมพ์ 3 มิติเป็นเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงวิธีการผลิตและการสร้างสรรค์ผลงานในหลากหลายวงการ ด้วยหลักการทำงานที่ใช้การเติมเนื้อวัสดุทีละชั้น เทคโนโลยีนี้ช่วยลดต้นทุน ลดขยะวัสดุ และเปิดโอกาสใหม่ๆ ในการออกแบบและผลิตผลิตภัณฑ์ ผู้ที่สนใจควรศึกษาประเภทของเครื่องพิมพ์ ความสามารถ และข้อจำกัด เพื่อเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการ


บทความที่เกี่ยวข้อง FDM

บทความที่เกี่ยวข้อง SLA

Visual Portfolio, Posts & Image Gallery for WordPress