3D Printer กล่องเก็บของ Engineer Box แบบราคาประหยัด

3D Printer กล่องเก็บของ Engineer Box แบบราคาประหยัด

เคยประสบปัญหานี้กันไหมครับ เก็บอุปกรณ์เครื่องมือในกล่องเครื่องมือ หรือถุงเครื่องมือ ประเภทดอกสว่าน หรืออะไรที่เป็นแหลมคม หากเป็นกล่องก็จะหายากเนื่องจากมีขนาดเล็ก หากเป็นถุงก็จะแทงทะลุถุง หรือไปเกี่ยวกับตัวเนื้อของผ้า หากจะพันด้วยเทปกาว หรือเทปพันสายไฟก็จะทำให้เก็บใช้งานลำบาก เวลาเก็บก็จะต้องพันม้วนไปใหม่ ทั้งลำบาก ทั้งเวลา และสิ้นเปลือง ต่อให้ใช้ถุงแบบหนังก็สามารถเจาะทะลุได้ เนื่องจากอุปกรณ์ที่เราใช้นั้นเป็นสำหรับ เจาะทะลุอยู่แล้ว เพราะฉนั้น จะดีกว่าไหมหากเราใช้กล่องเก็บอุปกรณ์แบบ Engineer Box ที่ทำได้ง่ายๆ ที่ทำมาจาก 3D Printer Aquila x3 ราคาประหยัด ไม่ถึงหมื่น ทำอย่างไรไปดูกัน

Voxelab Aquila X3 ใช้ง่าย ฟังชั่นเพียบ ไม่ถึงหมื่น
การสร้างซัพพอร์ทใน VoxelMaker

แนะนำให้รู้จักกับโปรแกรม Slicer VoxelMaker เป็นโปรแกรม Slicer เฉพาะของ Voxelab ที่จำหน่าย 3D Printer แบบโครง เป็นผู้ผลิตเดียวกับแบรนด์คุณภาพสูงอย่าง Flashforge โดยที่ VoxelMaker หน้าตาจะคล้ายกันกับ Flashprint รุ่นก่อนเนื่องจากเป็นผู้พัฒนาเดียวกัน ครั้งนี้เราจะบอกเทคนิคเล็กๆว่าโมเดลที่เราใช้ เราไม่ได้ออกแบบเอง ซึ่งโมเดลนั้นจะเป็นรูสำหรับใส่น็อต ซึ่งปกติแล้วถ้าเรา Slicer โดยใช้ซัพพอร์ท มักจะออโต้ให้ซัพพอร์ทนั้นอุดอยู่ในรูของน็อต ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่ๆ เราจึงแนะนำให้ใส่ด้วยตัวเองแบบ อัตโนมือ ซึ่งสามารถเลือกได้เองว่าจะใส่ในตรงไหน แบบไหน รวมถึงขนาดของ ซัพพอร์ทเอง โดยมีกฏอย่างง่ายๆระยะความสูงห่างจากตัวโมเดลเกิน 2-3 มิล แนะนำให้ใส่ซัพพอร์ท เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้โมเดลของล้ม เนื่องจากการทำงานของทางระบบ FDM 3D Printer เกิดขึ้นจากการไล่ระดับการก่อตัวขึ้นไปเรื่อยโดยทำการฉีดเส้นพลาสติกนั่นเอง หากไม่มีซัพพอร์ท การขึ้นรูปจะตกหรือหล่นลงทำให้โมเดลไม่สมบูรณ์บางช่วงอาจจะทำให้สเกลบิดเบี้ยว ทำให้การวางโมเดลหรือการวางซัพพอร์ทนั้นสำคัญ



VoxelMaker วางซัพพอร์ทด้วยตัวเองและออโต้ได้

วางซัพพอร์ทเสร็จแล้ว จะเห็นได้ว่าเราไม่ใส่ซัพพอร์ทในรูที่จะต้องใส่น็อตเลย เนื่องจากรูที่เราใส่น็อตหากมีซัพพอร์ทจะทำให้เกิดการอุดตันได้ และลำบากในการนำซัพพอร์ทออก หลายคนคงสงสัยว่า ซัพพอร์ทที่เยอะอาจจะทำให้แกะยากในตอนที่พิมพ์เสร็จแล้ว หากใช้ Filament ของทางเราที่เป็น PLA Pro หรือ PLA MATTE ไม่ต้องกังวลเรื่องนั้นเลย เพราะแกะออกง่าย ใช้งานก็ง่าย เหนียวและแข็งแรง

การตั้งค่าเบื้องต้นของทาง Aquila X3

การตั้งค่าก่อนสั่งพิมพ์ นั้นสำคัญเพราะเป็นตัวชี้วัดได้เลยว่างานของคุณจำสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับตรงนี้ โดยแนะนำว่าให้หาโปรไฟล์ของเครื่องให้เจอ แล้วจากนั้นก็ตั้งค่าพวกความร้อนของหัวพิมพ์ ที่ใช้กับเส้น Filament ของเรา ซึ่งเราได้ใช้ PLA Proทำให้าการตั้งค่ายุ่งยากมากนัก เนื่องจากโปรไฟล์มาตราฐานของ PLA อยู่แล้ว ซึ่งทางแอดมินเองจะใช้เพียงการเพิ่มค่าของ Infill ที่จะทำให้ภายในโมเดลแข็งแรง และในส่วนของ Fill Pattern ภายในเป็น Hexagon ในรูปแบบหกเหลี่ยม และจากนั้นดูในด้าน Support ว่าได้เปิดไว้ไหม แต่ส่วนใหญ่ถ้าเรา Add Support เข้าไปแล้วจะเปิดอัตโนมัติ และควรเพิ่ม Top Solid Layer เป็น3ชั้น และจากนั้นก็กด Raft เพื่อเปิดขึ้น จากนั้นกดที่ Ok เพื่อเซฟไฟล์งาน

หลังจากการตั้งค่า Slicer ที่ VoxelMaker

หลังจากการกด OK แล้ว Save File เสร็จแล้วจะเห็น Preview ของโมเดลเรา รวมถึงรายละเอียดต่างๆเช่น เวลา ความยาวของเส้นที่จะใช้ เป็นต้น แต่ Voxelab Aquila X3 ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องเวลาหรือMatterial เนื่องจากมี Filiment Check และ Resume Print ที่จะคอยช่วยให้งานของคุณสำเร็จ



หลังจากที่เราได้ทำการ Slicer ใน VoxelMaker  เสร็จแล้ว เราจะทำการสั่งใช้งานพิมพ์จริงบนเครื่องแล้ว อย่างที่รู้กันว่า Voxelab Aquila X3 ต้องใช้ Micro SD card ในการสั่งงานเครื่อง และจากนั้นก็กดสั่งงานและก็รอ

ชิ้นส่วนด้านล่างของกล่องจาก Aquila X3
ชิ้นส่วนฝาของกล่องจาก Aquila X3

Showing all 4 results


หลังจากที่เราพิมพ์เสร็จแล้ว ก็สามารถแกะออกเพื่อใส่น็อตใช้งานได้เลย และที่แน่นอนไฟล์การพิมพ์ มีทั้งหมด 4 ชิ้น หากต้องการนำไปใช้จริงๆ จะมีโมเดลที่เป็นยางรอง ที่จะต้องพิมพ์เส้น TPU หรือเส้นยาง แนะนำให้นำโมเดลนั้นมาตัดแบ่งให้เล็กลงหรือไม่ใส่ก็ได้ โดยทางโปรแกรม Slicer VoxelMaker  สามารถทำได้เลย

การใช้ Set Cut Plane ในโปรแกรม Slicer VoxelMaker

หลังจากที่เราทำการ Cut Plane แล้วก็สามารถเลือกใช้ได้เลย และตั้งค่า Slicer เหมือนเดิม และทำเหมือนเดิม จะเห็นได้ว่า UI บน VoxelMaker เข้าใจง่าย และใช้งานง่าย จะไม่เหมือน Slicer ที่เป็นกลาง

การประกอบของโมเดลนี้จะใช้น็อตตัวผู้ทั้งหมด 6 ตัวและแหวนน็อตตัวเมียทั้งหมด 6 ตัวเช่นกันในการประกอบ

ประกอบช่วงฝาและตัวกล่องด้านล่าง
ประกอบฝาและตัวล็อคเข้าด้วยกัน

จากการใช้งานจริง ใช้สำหรับเก็บดอกสว่าน และพวกน็อต รวมถึงใบมีดต่างๆ เพราะของประเภทนี้ไม่สามารถใส่ร่วมกับของอื่นๆได้ เพราะจะทำให้การใช้งานได้ลำบาก และอันตราย รวมถึงในขณะทำงาน สามารถเปิดฝาทิ้งไว้และใช้สำหรับวางของประเภทอื่นๆ เพื่อให้ทำงานง่ายขึ้น

ใส่เครื่องมืออื่นๆได้ด้วยนะ
ใส่ดอกสว่าน ไขขวง6เหลี่ยม
เพื่อมีกรรไกล คีมขนาดเล็กก็ใช้ได้นะ
ใส่ทั้งอุปกรณ์และอะไหล่ใช้งานได้หลากหลายมากๆ

Showing all 4 results