5 Tips นักออกแบบมือใหม่สำหรับงาน 3D Printing

5 Tips นักออกแบบมือใหม่สำหรับงาน 3D Printing

สำหรับนักออกแบบมือใหม่ที่เริ่มหัดใช้3D Printerนั้นก็เริ่มกำลังเรียนรู้การออกแบบไฟล์กันอย่างแน่นอน ในช่วงแรกๆทุกคนก็คงจะโหลดไฟล์จากอินเทอร์เน็ตมาพิมพ์กันเป้นปกติอยุ่แล้วและถึงเวลที่เราจะต้องมีชิ้นงานเป็นของตัวเองซักที แต่ัญหาคือ ทำไมเวลาเอาไปใช้งานจริงถึงใช้งานไม่ได้กันนะ? ทำไมถึงพิมพ์ออกมาไม่เห็นเหมือนกับที่ออกแบบไว้เลย? พิมพ์ติดบ้างไม่ติดบ้าง? วันนี้ผมจะมาแนะนำ 5 Tip การออกแบบไฟล์ให้สามารถพิมพ์ได้อย่างลุล่วง

1.ออกแบบบนพื้นผิวที่เรียบ


ในข้อนี้ถือเป็นข้อสำคัญที่สุดเลยก็ว่าได้ครับสำหรับผุ้ที่ใช้งานเครื่องพิมพ์ระบบ FDM เพราะเครื่องระบบนี้จะพิมพ์บนฐานพิมพ์หรือBed ซึ่งแน่นอนว่าพลาสติกที่ถูกฉีดออกมานั้นจะต้องลงไปเกาะบนฐานพิมพ์ในชั้นแรกสุด ดังนั้นชั้นแรกของตัวงานที่ลงไปเกาะบนฐานรองพิมพ์นั้นจะต้องมีพื้นที่ที่มากพอสมควร หากพื้นที่ที่ติดฐานพิมพ์น้อยเกินไปจะส่งผลให้ชิ้นงานหลุดอออกจากฐานพิมพ์การก่อนที่งานจะเสร็จได้เลย

2.หลีกเลี่ยงส่วนที่เป็น Steep overhang หรือส่วนที่มีการเอียงแบบสูงชัน


Steep overhang เป็นมุมของตัวงานที่มีลักษณะเอียงยื่นออกมาจากตัวงานในแนวตั้งฉาก โดยปกติแล้วเครื่องพิมพ์ทพการพิมพ์ส่วนส่วนที่เอียงนี้โดยการใส่ซัพพอร์ตในทุกๆครั้งที่โปรแกรมเห้นควรว่ามีมุมOverhangที่มากเกินไป ถึงแม้ว่าเรื่องมุมSteep overhangนั้นจะไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไรแต่สำหรับการพิมพ์ชิ้นงานที่สวยสมบูรณ์นั้นการใช้งานซัพพอรืตนั้นอาจจะไม่ตอบโจทย์มากนักเพราะหลังจากที่แกะซัพพอร์ตแล้วชิ้นงานจะมีรอยตำหนิจากตัวซัพอร์ตเอง
ถ้าต้องพิมพ์งานโดยที่ไม่จำเป็นต้องใส่ซัพพพอร์ตนั้นจะต้องทำใหชิ้นงานไม่เกิดมุมเอียงมากเกินไปโดยใช้ปัจจัยเหล่านี้

มุมOverhangที่มากเกินไปโปรแกรมslicerจะบังคับให้เราใส่ซัพพอร์ต

-ความสามารถของเครื่องเป็นสิ่งสำคัญ โดยปกติเครื่องพิมพ์จะสามารถพิมพ์ชิ้นงานได้โดยไม่ต้องมีซัพพอร์ตในขณะที่ส่วนนั้นๆมุมเอียงไม่เกินค่าที่กำหนด ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยุ่กับความสามารถของเครื่องพิมพ์ที่ใช้อยุ่ด้วยครับ ซึ่งปกติแล้วเครื่องทั่วไปสามารถพิมพ์ได้้มื่อช้นงานเกิดมุมเอียงไม่เกิน40-60องศา
-เพิ่มส่วน Filet/Chamfer ในข้อนี้คือการลดองศาของมุมชิ้นงานไม่ให้ตั้งฉากครับ โดยจะเป็นการเพิ่มส่วนโค้งหรือเพิ่มเหลี่ยมเข้าไปในส่วนมุมของตัวงาน สามารถดูลักษณะที่รุปได้เลย

3.คำนึงถึงเส้นที่ผ่านพื้นผิวของตัวงาน

อย่างที่ทราบกับดีว่าเครื่องพิมพ์สามมิติจะพิมพ์แบบเป็นชั้นๆ โดยจะทำการเปลี่ยนชั้นไปเรื่อยๆตามความสูง โดยจุดที่เปราะบางที่สุดของงานที่พิมพ์ออกมากนั้นก้คือรอยต่อระหว่างชั้นนี่แหละ ดังนั้นการวางชิ้นงานเพื่อที่จะพิมพ์นั้ต้องคำนึงถึงทางาการวาดเส้นของเครื่องพิมพ์สามมิติด้วยโดยเราสามรถวางงานง่ายๆด้วยเคล็ดสั้นๆ

-ยิ่งมีพื้นที่ที่ลากเส้นยาวเท่าไหร่ก้ยิ่งแข็งแรงเท่านั้น ถ้าหากให้คิดง่ายๆก้คือ ในทางแนวแกนXและY นั้นงานจะแข้งกว่าแนวแกนZ
-ทิศทางของเส้นนั้นจะต้องอยู่แนวขวางกับทิศทางของแรง โดยหากจะต้องใช้งานในการรับแรงกับชิ้นงานข้อนี้ถือว่าสำคัญมาก ซึ่งหากทิศทางของแรงไปทางเดียวกับทางของเส้น แน่นอนว่าอาจจะทำให้ชิ้นงานหักได้ทันทีเลยทีเดียว

หากแรงกระทำกับทางเดียวกันของเส้นงานจะทำให้ชิ้นงานแตกหักง่าย
หากแรงกระทำกับงานในทางขวางเส้นจะมีความแข็งแรงมากกว่า

4.ตรวจสอบขนาดให้ดีก่อนที่จะเริ่มพิมพ์

หลายคนที่เริ่มหัดทำไฟล์นั้นก็อาจจะไม่ได้คำนึงถึงขนาดของชิ้นงานเท่าไหร่นัก โดยปัญหาของมือใหม่หลายๆคนที่เริ่มจากการทำพวงกุญแจของตัวเองมักจะเจอปัญหากับขนาดเล็กเกินไปหรือใหญ่ไป ตัวหนังสือไม่พิมพ์ออกมาบ้างทั้งๆที่ในไฟล์ก็มีนะ
ขนาดเส้นที่เล็กสุดที่ออกมาจากหัวแีดนั้นจะอยู่ที่0.4มม.เป็นมาตฐานครับ เมื่อเรานำไฟล์ที่มีขนาดเล็กเข้าโปรแกรมเพื่อทำการSliceไฟล์นั้น ก็จบพบทันทีว่ามีบางส่วนขาดหายไป ซึ่งแน่นอนว่าหากขนาดของงานเล้กกว่าขนาดข้างต้นโปรแกรมจะไม่สามารถพิมพ์ได้

เมื่อส่วนของชิ้นงานเล็กกว่าขนาดที่เครื่องจะพิมพ์ โปรแกรมจะแสดงผลออกมาไม่ครบดังรูป

5.ลองซ้ำๆวนไป

ไม่มีเคล็ดลับอะไรทั้งนั้น อยุ่ที่การพยายามของผู้ใช้ล้วนๆครับ แต่ถ้าแนะนำก็อยากให้วาดไฟล์แล้วก็พิมพ์เอาไปใช้กันบ่อยนะครับ แน่นอนว่าครั้งแรกพิมพ์แล้วมันไม่เป๊ะแน่นอนมันจะต้องมีครั้งที่2-3-4ไปเรื่อยๆ และเดี๋ยวใช้งานไปเรื่อยๆก็จะเริ่มรุ้ปัญหาและแก้ไขได้ครับ

3D Printer สำหรับมือใหม่ที่เราแนะนำ

วัสดุ PLA คุณภาพสูงจาก 3DD เหมาะกับการใช้งานที่หลากหลาย