6ขั้นตอน พิมพ์โมเดล3D Hi-Def ขนาดใหญ่50cm จากต้นจนจบ

6ขั้นตอน พิมพ์โมเดล3D Hi-Def ขนาดใหญ่50cm จากต้นจนจบ

มีหลายคนชอบโมเดลสัตว์ประหลาด หาซื้อไม่ได้ พิมพ์ด้วยตัวเองได้ครับ บทความจะมาเจาะขั้นตอนการพิมพ์จากต้นจนจบโมเดล Kaiju ขนาด 50cm รายละเอียดสูง (แค่ไฟล์ 3D เองก็ 2GB แล้ว) โดยจะแบ่งขั้นตอนเป็น  6 ขั้น ใช้เครื่องพิมพ์ MSLA 3D Printer รุ่น Flashforge Foto13.3 พิมพ์ทั้งหมด 8 ชิ้นแล้วมาต่อกันตอนหลัง ที่เลือกใช้ระบบนี้เพราะได้งานที่ละเอียดสูงที่สุด ที่ไม่เลือกพิมพ์เป็นชิ้นเดียวเพราะอยากได้ชิ้นใหญ่เอามาต่อเองที่หลังดีกว่า เรซิ่นที่ใช้เป็น Washable Resin สีเทา เพื่อลดขั้นตอนการล้างและการทำความสะอาดให้ทำงานได้เร็วขึ้นเยอะ โดยรวมงานชิ้นนี้จากหัวถึงหางยาวประมาณ 50cm ใช้งบไปทั้งหมดประมาณ 2000-2200บาท (จะหาซื้อโมเดลละเอียดขนาดนี้หายากอยู่ และราคาแพงกว่าแน่นอน)

ซื้อโมเดลจาก Myminifactory.com
พิมพ์งานใหญ่ขึ้น 150% หัวถึงหางประมาณ 50cm
พิมพ์เสร็จชอบ รายละเอียดอย่างงี้หาซื้อไม่ได้ง่ายๆ เราพิมพ์เองก็ไม่ได้จากเย็นอะไรนัด ทุนประมาณ 2000-2200บาท

1. เลือกไฟล์

ขั้นตอนนี้แล้วแต่ความชอบเลยครับ ส่วนตัวยังไม่เคยพิมพ์งานใหญ่ๆแล้วมีรายละเอียดสูง จำพวกสัตว์ประหลาดมีเกร็ดผิวหนังมี Texture เยอะๆกะว่าจะลองเครื่องด้วยเลย เลือกพวก Kaiju ครับโดยมากแล้วโมเดลดีๆทำไฟล์มาสวยๆจะเสียเงิน น้อยมากที่จะฟรี คราวนี้เลือกแบบเสียเงินครับ แนะนำเวบไซต์ที่มีทั้งฟรี และเสียเงินอย่าง MyMiniFactory.com อุดหนุนศิลปินให้เค้าสร้างสรรค์ชิ้นงานมาเพิ่ม คราวนี้ผมเสียเงินไป 25USD – 800บาท เพราะใช้ไฟล์ฟรีมาเยอะแล้ว

เค้าทำไฟล์มาให้ค่อนข้างดีครับ โดยแยกชิ้นส่วนมาให้อย่างละเอียด มีทั้งแบบติด Support มาให้แล้ว และแบบไฟล์ 3D ดิบๆ มีทั้งแบบทั้งตัวเลย และแยกเป็นชิ้นย่อย (พิมพ์งานรายละเอียดสูงพวก Hi-def แนะนำให้แยกพิมพ์ครับ ไม่งั้น Support จะติดหนืบแกะอย่างไงก็ไม่สวย) ไฟล์ที่มา 2GB+

ส่วนใครมีความสามารถ เก่งเรื่อง 3D สร้างไฟล์กันได้เลยครับ หากเป็นงาน Art Freeform ซอฟแวร์ยอดนิยมคงหนี้ไม่พ้น Zbrush, Blender

โมเดลมีให้เลือกมากมาย แบบฟรีก็มี เสียเงินก็มี ตัวอย่างนี้เสียเงินงานค่อนข้าง Hi-End
ตัวอย่างไฟล์ที่ไปซื้อมา ถ้าเป็นแบบซื้อจะแยกไฟล์มาให้อย่างดี มีทั้งแบบเต็ม และแยกเป็นส่วนๆ และแบบติด Support มาให้แล้ว

2. เตรียมไฟล์

การเตรียมไฟล์แล้วแต่เครื่อง 3D Printer ที่ใช้ ในบทความนี้ใช้เครื่องระบบ SLA วัสดุตั้งต้นเป็นของเหลว ซอฟแวร์ที่นิยมใช้มีหลายตัว ผมเลือกใช้ ChituBox เพราะเห็นว่าง่ายดี ส่วนตัวชอบ Interface ของน้องชิตู เนื่องจากคิดอยู่แล้วว่าอยากพิมพ์ให้ใหญ เลือกปรับขนาดให้เป็น 150% ทุกชิ้นส่วนครับ รวมๆแล้วชิ้นงานทั้งหมดใหญ่กว่า 50 cm เลือกพิมพ์แยกชิ้นทั้งหมด 8 ชิ้น เพราะติดเรื่องเครื่องพิมพ์ใหญ่ไม่ได้ขนาดนั้น และอีกอย่างแบ่งๆเป็นชิ้นๆสามารถเลือกตำแหน่ง Support ได้ง่ายกว่า ควบคุมคุณภาพได้ดีกว่า

หากใครสนใจวิธีการใช้ ChituBox แบบละเอียดขึ้นลองดูในบทความนี้เพิ่มเติมครับ

งานทั้งหมดแบ่งพิมพ์ทั้งหมด 3ครั้ง ตามตัวอย่างข้างล่าง

ชิ้นส่วนนี้ใหญ่สุดพิมพ์ชิ้นแรกเลย จัดยกส่วนเกร็ดแผงหลังยกขึ้นเพื่อเลี่ยง Support ติด Support ให้อยู่ด้านท้องที่เห็นได้ยากกว่าแทน
พิมพ์ส่วนหาง และ ขา เลือกที่เอาขาชี้ขึ้นมุมเงยให้เล็บอยู่เหนือสุดไล่ไป เพื่อเลี่ยง Support เช่นเดียวกันกับหาง ดูมุมเงบของเกร็ด
พิมพ์ส่วนโคนหาง มือ และ แขนเจ้ากิ้งก่าน้อยของเรา

3. พิมพ์จริง

เมื่อได้ไฟล์พิมพ์ เชคงานกันเรียบร้อยแล้วก็มาถึงขั้นตอนการพิมพ์ ในบทความนี้ใช้เครื่องพิมพ์เรซิ่นระบบ LCD หรือ MSLA โดยเลือกวัสดุที่พิมพ์เป็นเรซิ่นแบบ Washable HD เป็นเรซิ่นที่เอาล้างออกได้ด้วยน้ำเปล่า การพิมพ์แต่ละครั้งใช้เวลาราวๆ 9-12ชม. รวมแล้วเวลาในการทำทั้งหมดใช้เวลา 2 วันเฉพาะพิมพ์ โดยในบทความนี้เลือกพิมพ์ที่ 100um ถ้าใครต้องการงานสวยกว่านี้เลือกพิมพ์ที่ 50um ได้แต่ Workflow ทั้งหมดจะเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวตามความละเอียดที่เพิ่มขึ้น

ขนาดพิมพ์จริงออกมาใหญ่ใช่เล่น
หนักใช้ได้เลยทีเดียว
ขาก็มา เหมือนน่องไก่เลย

4. ล้างงาน แกะ Support

เมื่อพิมพ์งานเสร็จ ก็มาถึงขั้นตอนการล้างงาน ใช่!! พิมพ์เรซิ่นเสร็จทุกครั้งต้องล้างงานให้สะอาดและแกะ Support งานที่พิมพ์เสร็จใหม่ๆจากเครื่องเลอะเรซิ่น ปกติจะใช้ Isopropyl Alcohol (IPA) ในการล้างเรซิ่นออกเนื่องจากเรซิ่นไม่ทำละลายในน้ำเปล่า แต่เราใช้ Washable Resin เลยลดทอนขั้นตอนการใช้ IPA ไป โดยหลักๆแล้วเราจะแช่ชิ้นงานลงในภาชนะขนาดใหญ่กว่าชิ้นงาน ในที่เราใช้ถังเติ่มน้ำเปล่าไว้ เอาชิ้นงานลงล้าง ใครจะฉีดน้ำก็ได้ เทคนิคอีกอย่างคือเมื่อเอาชิ้นงานไปแช่ใน IPA หรือกรณีน้ำเปล่า Support จะอ่อนตัวเป็นจังหวะที่ดีที่เราจะแกะเจ้า Support ออกในขั้นตอนนี้ ก่อนเอาไปเป่าลม และตากให้แห้ง

หลังจากล้าง แกะ Support แล้ว แนะนำใครมีเครื่องเป่าลม ให้เอามาเป่าชิ้นงาน จะช่วยให้งานสวยขึ้นไล่เรซิ่นที่อาจจะติดอยู่บางๆออกด้วย รายละเอียดชิ้นงานจะสวยขึ้น

นำชิ้นงานไปล้างทำความสะอาด ในที่นี้ใช้เรซิ่นที่ล้างด้วยน้ำเปล่าได้ ในขั้นตอนนี้อาจจะใช้วิธีแช่ทิ้งไว้ไปเลย Support จะนิ่มขึ้นแกะในขั้นตอนนี้เลยก็ได้ครับ
เป่าลม ปั๋มลมไม่ต้องใหญ่มากก็ได้ เป็นการไล่ละอองเรซิ่นที่เกาะอยู่ทำชิ้นงาน ทำงานคมเนียนขึ้น จริงๆแกะ Support ก็มาเป่าลมก็ได้ครับ แต่ที่ถ่ายแบบนี้จะได้ให้คนเห็นง่าย
ซ้ายไปขวา ถาดพิมพ์ ชิ้นงานที่ต้องการ Supportที่ไม่ได้ใช้
เรซิ่นที่พิมพ์ทั้งหมดใช้ไปประมาณ 930g โดยเป็นโมเดล 678g Support 258g หรือคิดเป็น 27% ของทั้งหมดที่ต้องทิ้ง

5. ตากแห้ง และ อบ UV

ขั้นตอนต่อมาหลักจากแกะ Support และเราต้องทำให้ชิ้นงานแห้งและแข็งตัวอย่างเต็มที่ โดยงานที่พิมพ์ออกมาจากเครื่องยังมีคุณสมบัติทางเคมีไม่เป็น Polymer ที่สมบูรณ์โดยแสง UV ในเครื่องจะทำให้เกิด Bonding 50-60% เพียงเท่านั้น เมื่อจับชิ้นงานจะรูปสึกนิ่มๆเหนียวๆอยู่เหมือนดินเหนียวที่ยังไม่แห้งสนิท เราทำได้โดยให้ชิ้งงาน Cure สนิท ง่ายที่สุดคือนำชิ้นงานไปตากแดด (กรณีไม่มีเครื่องพิมพ์) หรือจะให้ดีหน่อยใช้เครื่องอบ UV Curing Machine จะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่าทางเคมี เนื่องจากมีฉายแสงอย่างทั่วถึงทุกด้าน และมีการเป่าลมร้อน (เรซิ่นแต่ละชนิดมีเวลา Set ตัวไม่เท่ากันและอุณหภูมิที่ใช้ก็ไม่เท่ากัน)

งานที่ได้หลังอบชิ้นงานจะมีควาามแข็งแรง ได้คุณสมบัติเติมตามชนิดเรซิ่นนั้นๆ เทคนิคนิดหน่อยที่แนะนำ ถ้าต้องการขัดหรือแต่งชิ้นงานทำได้ก่อน หรือ หลังอบ UV ได้ทั้งคู่แต่ก่อนอบ UV ชิ้นงานจะมีความนิ่มมากกว่า

อบ UV // หากใครไม่มีตากแดดก็ได้ครับ
แขน และหัว
ขา เกร็ดและอื่นๆมาครบ
เมื่ออบแล้วสีของชิ้นงานจะเข้มขึ้นคิดหนึ่งแต่ละแข็งขึ้นมาก

6. ต่องาน เก็บงาน

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ยาก และ สนุกที่สุดของผมเพราะชิ้นงานจะสำเร็จแล้ว ที่ว่ายากคือการต่อชิ้นงานนั้นจะให้สวย เนียนสนิทยากมากๆ ซึ่งเราก็ไม่ได้เก่งขั้นทำให้ชิ้นไม่มีรอยต่อเลย ที่ทำได้คือพอใช้+เทคนิคที่ดูใน Youtube ช่วย นั้นคือการเชื่อมชิ้นงานด้วยเรซิ่นของมันเอง โดยเราจะลงลึกเรื่องนี้ในอีกบทความนึงครับ โดยการติดกาวที่ชิ้นงานด้วยกาวธรรมดาก่อน แล้วการเก็บรอยต่อด้วยการฉีดเรซิ่นไปที่รอยต่อนั้นด้วยเรซิ่นที่ใช้พิมพ์เลย เช่นตย.นี้ให้สีเทา Washable ให้หลอดฉีดยา ตอนแรกซื้อเข็มมาด้วยแต่ใช้ไม่ได้ดูดไม่ขึ้น เลยต้องใช้หลอดเปล่าๆ ฉีดไปที่รอยต่อและเอาแสง UV เชื่อมเลยมันดีมาก ติดกันแถบไม่เห็นรอยต่อ และที่แนะนำมากกว่านั้นใช้ไฟฉาย UV เพราะการให้กล่อง UV ที่ตั้งอยู่นิ่งๆนี้เป็นอะไรที่ยากมากต้องจับโมเดลเอียงทางนู้นทีทางนี้ที ท่ายากและเมื่อยมาก

ลำดับการต่อมีความสำคัญมากๆ อันนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละคน ผมเลือกต่อส่วนที่เป็นหางและขาก่อน เพราะจะได้ตั้งโมเดลด้วยขาได้ ใครจะต่อหัวก่อนก็ได้ ไม่มีผิดถูกให้ทำงานสบายก็แล้วกันครับ  ในที่สุดก็ออกมาเป็นตัว ภูมิใจที่ได้ทำและจะไม่เนียนที่สุด และก็รู้สึกดีที่ได้ทำเองครับ

โมเดลนี้มีการพ่นสีรองพื้นด้วย ใช้สเปร์ยตัวไปรองพื้นครับ อันนี้ส่วนตัวคิดว่าพลาดไม่น่าพ่นครับ ไม่พ่นสวยกว่า

พิมพ์ออกมาแปดชิ้นพร้อมติด ประกอบ
ทางกาว ผมใช้กาวยางนะใครจะใช้กาวร้อนก็ได้ แต่ต้องมือแน่จริงๆ ติดแล้วติดเลย
หยอดเรซิ่นส่วนที่เป็นรอยต่อ
ฉายแสงให้งานเชื่อมกันจะได้เนียนๆ
ขนาดพอดีมือ
ต่อเสร็จออกเป้นตัวแล้ว
ฉีดสเปร์ยรองพื้น
จะเห็นว่าส่วนที่ฉีด(ซ้าย) จะเงากว่าด้านที่ยังไม่ฉีด(ขวา)
ลวดลายมาครบเห็นรอยต่อบ้างแต่ไม่น่าเกลียดต้องขอบคุณวิธีการเชื่อมด้วยเรซิ่นของตัวเอง
เกร็ดเป็นเกร็ด
งานเก็บอย่างเนียน มีรอย Support ที่ใต้คอให้เห็นบ้าง

สรุป และ แนะนำ

ที่ทำมามีอะไรให้พัฒนาต่ออีกหลายอย่างครับสรุปได้อย่างงี้

  • การจะเชื่อมชิ้นงานด้วยเรซิ่นของตัวเองแนะนำให้ใช้ไฟฉาย อย่าใช้กล่อง UV ต้องมาเก้ๆกังๆจับชิ้นงานฉายแสง สู้ไฟฉายจี้ไปจุดนั้นเลย
  • ง่ายกว่านั้นก็พิมพ์ชิ้นเดียวไปเลยด้วยเครื่องใหญ่เลย พวก 60cm / 170cm แต่เป็นเครื่องเป็นล้านครับ
  • ถ้าจะเลือกลำดับการต่อใหม่ จะต่อชิ้นส่วนเล็กที่สุดก่อน ค่อยไล่ไปชิ้นส่วนใหญ่ๆยาวๆ ให้การทำงานง่ายขึ้น
  • ถ้าเลือกได้คราวหน้าไม่พ่นสเปร์ยรองพื้น ส่วนตัวคิดว่าไม่สวย ไม่พ่นสวยกว่า
ไฟฉาย UV มีขายตาม Lazada Shopee

ส่งท้ายด้วยมีม และ Gag ขำๆนะครับ