ในการพิมพ์ 3 มิติ สิ่งที่จะขาดไม่ได้เลย (นอกจากเครื่องพิมพ์ และวัสดุพิมพ์ แน่อยู่แล้ว!!!) ก็คือ Slicer program ซึ่งจะเป็นตัวช่วยแปลงไฟล์ STL ให้เป็น G-code ซึ่งเป็นภาษาของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ดังนั้นการที่เครื่องพิมพ์จะพิมพ์งานออกมาได้ดีหรือไม่ สวยมาก-น้อย แข็งแรงแค่ไหนนั้น ต้องยอมรับว่า Slicer เป็นตัวแปรที่มีสำคัญมากจริง ๆ
นับจากอดีตถึงปัจจุบันมี Slicer อยู่มากมายหลายตัว มีทั้งแบบ Open source แบบ Close source ทั้งแบบใช้งานฟรี และแบบจ่ายเงินซื้อ เช่น Cura, Simplify3D, Slic3r, ฯลฯ ซึ่งแต่ละแบบก็มีความสามารถแตกต่างกันพอสมควร แต่ก็มี Slicer ตัวหนึ่งที่ยังพัฒนาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 คือ PrusaSlicer ซึ่งเป็นแบบ Open source หมายความว่าใช้งานได้ฟรี มีกลุ่มสังคมออนไลน์ช่วยกันแก้ไขปรับปรุง และพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ
บริษัท SoftFever พัฒนา PrusaSlicer มาเป็น Orca Slicer หรือชื่อเดิมคือ BambuStudio-SoftFever ซึ่งวันนี้เราจะมาแนะนำตัว Orca Slicer ให้รู้จักว่ามันมีดีอะไร ทำไมถึงน่าใช้ โดยจะแนะนำในส่วนที่สำคัญ ๆ และน่าสนใจของโปรแกรมตัวนี้
Wall Generator
ขอเริ่มจากการสร้าง Wall (Wall Generator) จากเดิมเวลาพิมพ์เครื่องพิมพ์จะฉีดเส้นพลาสติกออกมาเป็นเส้นที่มีความกว้างเท่ากันหมดตลอดทั้งชิ้นงาน ทำให้บางชิ้นงานที่มีผนังบางกว่าขนาดหัวพิมพ์จะไม่สามารถพิมพ์ได้ หรือจะมีช่องว่างภายในเนื้องานมาก ทำให้งานไม่แข็งแรง ตอนนี้จะมีคำสั่งให้เลือกเป็น Arachne (อ่านว่า อะ-แร็ก-นี่) โดยที่เครื่องพิมพ์จะฉีดเส้นพลาสติกที่มีขนาดไม่เท่ากัน ทำให้สามารถแทรกเข้าไปพิมพ์ในช่องว่างที่เล็กกว่าหัวพิมพ์ได้
ความจริงแล้วคำสั่งนี้มีมาตั้งแต่เป็น PrusaSlicer แล้ว แต่ก็ได้มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นตลอดมา อย่างไรก็ดีการใช้ Arachne ก็ยังมีปัญหาอยู่บ้าง เช่นผิวงานอาจจะไม่สวยเนื่องจากขนาดเส้นที่ไม่เท่ากัน และในส่วนที่เป็น Overhang ผิวงานจะไม่สวยเนื่องจากการทำความเร็วถูกจำกัด และขนาดของชิ้นงานอาจจะมีความแม่นยำลดลง ก็ต้องชั่งใจดูระหว่างการใช้ Arachme หรือ Classic wall generator
Cut
ต่อไปเป็นความสามารถในการตัดโมเดล ปรกติ Slicer หลายตัวก็สามารถตัดโมเดลได้ แต่ก็จะเป็นการตัดตรง ๆ เท่านั้น แต่ Orca มาสารถตัดเป็น Dovetail หรือที่ภาษาช่างบ้านเราเรียกว่าแบบหางปลา โดยใช้คำสั่ง Cut หรือกดปุ่ม C มีประโยชน์มากในการทำจุดต่อของโมเดลในกรณีที่ใหญ่เกิดแท่นพิมพ์ หรือประกอบกับชิ้นส่วนคนละสี หรือคนละวัสดุ ซึ่งในคำสั่งจะมีตัวเลือกให้ปรับขนาด และตำแหน่งของหางปลาได้ในทุกส่วนประกอบเลยทีเดียว เช่นความยาว ความลึก สูง-ต่ำ องศาความเอียง
Mesh Boolean
ถัดมาเป็นความสามารถในการทำ Mesh Boolean ซึ่งถือว่าหายากในโปรแกรม Slicer ทั่ว ๆ ไป ฟังก์ชั่นนี้นับว่ามีประโยชน์มากทีเดียว การทำ Mesh Boolean จะมีให้ 3 แบบคือ
- Union
- Difference
- Intersection
การทำก็ไม่ยาก โดยเลือก object 2 ชิ้น แล้วกดเมาส์ปุ่มขวา และเลือก Assemble แล้วใช้คำสั่ง Mesh Boolean หรือกดปุ่ม B ที่คีย์บอร์ด จากนั้นก็เลือกวัตถุที่จะทำ Mesh Boolean (สามารถเลือกว่าจะลบวัตถุที่ถูกตัดออกไปแล้วหรือไม่ด้วย) แล้วกดปุ่ม Union, Difference, หรือ Intersection ตามต้องการ
Seam painting
อีกฟังก์ชั่นหนึ่งที่ช่วยให้งานสวยขึ้นคือ Seam painting หรือกดปุ่ม P เป็นการกำหนดจุดเริ่มต้น และจุดสิ้นสุดของเลเยอร์ ซึ่งปรกติจะเห็นเป็นรอยต่อ บางครั้งรอยต่อ หรือ seam นี้ไปปรากฏอยู่บนส่วนที่เราไม่ต้องการทำให้เมื่อพิมพ์โมเดลออกมาแล้วดูไม่สวยงาม เราก็จะใช้คำสั่งนี้เพื่อกำหนดจุดที่ต้องการให้ seam นี้ไปอยู่ การทำก็ง่าย ๆ โดยใช้เมาส์ลากเส้นตรงตำแหน่งที่ต้องการให้ seam ไปอยู่แค่นั้นเอง
Color Painting
บางครั้งเราต้องการให้โมเดล STL ที่โหลดมาสามารถพิมพ์เป็นสีหลายสีได้ เราไม่ต้องไปแยกส่วน หรือเขียนแบบใหม่ เพราะ Orca มีคำสั่งระบายสีมาให้ชื่อ Color Painting หรือกดปุ่ม N จะมีเครื่องมือระบายสีให้เลือกใช้หลายตัวเลย เช่นแปรงวงกลม แปรงทรงกลม สามเหลี่ยม เลเยอร์ ถังสี ปิดช่องว่าง ลองเล่นกันดูได้เลย
Emboss
ต่อมาก็จะเป็นการใส่ตัวหนังสือ สามารถใส่ไปเป็น object ต่างหาก หรือจะให้ไปวางลงบนผิวงานของโมเดลอื่นก็ได้ มีตัวเลือกให้ปรับแต่งจนกว่าจะพอใจ แล้วยังเลือกได้ว่าจะให้ตัวหนังสือนี้นูน (Join) ออกมา หรือจมลงบนโมเดล (Cut) คำสั่งนี้คือ Emboss หรือกดปุ่ม T เท่าที่ลองใช้ดูคำสั่งนี้อาจจะมีลูกเล่นน้อยไปหน่อย
Measure
เรายังสามารถวัดระยะต่าง ๆ หรือรัศมีของส่วนโค้งในโมเดลได้ด้วยคำสั่ง Measure หรือกดปุ่ม U ช่วยให้สะดวกมากขึ้น เราสามารถเช็คขนาดก่อนพิมพ์ได้เพื่อป้องกันความผิดพลาด
Assembly View
สุดท้ายคือคำสั่ง Assembly View ในกรณีที่เรามีการพิมพ์โมเดลหลาย ๆ ชิ้น ที่ไม่สามารถลงได้ใน 1 แท่นพิมพ์ หรือมีโมเดลที่ใช้วัสดุไม่เหมือนกัน และอาจจะต้องนำมาประกอบเข้าด้วยกัน คำสั่งนี้ช่วยให้ไม่ต้องสร้างไฟล์มากมาย โดยเอามารวมกันในไฟล์เดียว การเพิ่มแท่นพิมพ์ทำได้โดยกดปุ่ม Add Plate บนแถบคำสั่งด้านบน
ยังมีข้อดีใน Slicer ตัวนี้อีกมาก เท่าที่ยกมาให้ชมเป็นส่วนหลัก ๆ ที่น่าสนใจเท่านั้น อยากให้ทุกท่านได้ลองใช้ Orca Slicer ตัวนี้ดูจะเห็นว่ามีความสามารถในการพิมพ์ 3 มิติ ได้อย่างชัดเจน หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้สนุกกับการพิมพ์ 3 มิติได้มากขึ้น และลดปัญหาในการพิมพ์ลงได้นะครับ
-
HotWifiDirect Drive
Flashforge Adventurer 5M
14,900.00 ฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
HotWifiCamDirect Drive
Flashforge Adventurer 5M Pro
24,900.00 ฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
HotWifiCamDirect Drive
Flashforge Guider 3 Ultra HighSpeed 3D Printing
Original price was: 239,000.00 ฿.139,000.00 ฿Current price is: 139,000.00 ฿. Add to cart -
WifiCam2-Extruders
Flashforge Creator 4s
Original price was: 359,000.00 ฿.329,000.00 ฿Current price is: 329,000.00 ฿. Add to cart
-
Bambu Lab A1 Mini
9,500.00 ฿ – 16,900.00 ฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
Bambu Lab A1
15,900.00 ฿ – 23,900.00 ฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
Bambu Lab P1S / Combo โครงสร้างปิดขนาดพิมพ์ 256 x 256 x 256mm
29,900.00 ฿ – 39,900.00 ฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
Bambu Lab X1 Carbon / Combo เครื่องพิมพ์3มิติ ผสาน Lidar 256x256x256mm
57,900.00 ฿ – 69,900.00 ฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
Bambu Studio
Read more