ความเป็นมา
มหาวิทยาลัย Zhejiang University of Technology (ZJUT) ได้เชิญบริษัท SHINING 3D เข้าร่วมโครงการ “Alumni Mentor Program” ในการเป็นพี่เลี้ยงให้กับนักศึกษาวิศวกรรมเครื่องกล โดยโครงงานแรกของพวกเขาคือช่วยทีมแข่งรถของมหาวิทยาลัยฯ ในการออกแบบรถแข่งตามจินตนาการของนักศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีสามมิติทั้งเครื่องสแกนสามมิติ และเครื่องพิมพ์สามมิติ
โจทย์ที่ 1 – ออกแบบพวงมาลัยรถสำหรับคนขับ
ในการแข่งรถจำต้องใช้ทักษะในการควบคุมรถอย่างสูง การจับพวงมาลัยจะต้องจับได้ถนัด กระชับ ควบคุมพวงมาลัยได้อย่างใจ มิฉะนั้นอาจมีผลกับประสิทธิภาพของการขับรถ SHINING 3D ได้แนะนำ ให้ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบโดยใช้เครื่องสแกน และเครื่องพิมพ์สามมิติ
- ใช้ plasticine (คล้ายดินน้ำมัน) ในการปั้นที่จับให้เหมาะมือ
- ใช้สแกนเนอร์ EinScan-SE สแกนงานนั้น
3. จากนั้นนำข้อมูลจากเครื่องสแกน ไปตกแต่งให้เข้ากับพวงมาลัยรถ
4. ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติ พิมพ์ส่วนประกอบและติดตั้งเข้ากับพวงมาลัยนั้น
ด้ามจับจากเครื่องพิมพ์สามมิติเข้ากับพวงมาลัยรถได้อย่างพอดี ช่วยให้นักแข่งใช้งานได้อย่างสะดวก คล่องตัว ในระหว่างการแข่งขันอันหฤโหด โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการควบคุมรถและความเหนื่อยล้าจากการขับ
โจทย์ที่ 2 – งานพิมพ์ตัวถังรถส่วนหน้า
เพิ่มเติมจากการปรับปรุงพวงมาลัย สมาชิกในทีมได้พัฒนา ปรับปรุงตัวถังรถส่วนหน้าให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยใช้เทคโนโลยี 3D
- งานพิมพ์ 3D
พวกเขาใช้เครื่องพิมพ์สามมิติระดับอุตสาหกรรมในการพิมพ์ชิ้นส่วน
- การเคลือบแข็ง และการตกแต่งผิว
หลังจากได้แม่พิมพ์เบื้องต้นแล้วก็ทำการขัดแต่ง และเคลือบแข็งจากนั้นแม่พิมพ์จะแข็งแรงพอที่จะทำการขึ้นรูป พร้อมกับตกแต่งขั้นสุดท้าย
- ปิดทับด้วยแผ่น Carbon Fiber
พื้นผิวของชิ้นงานจะถูกทาด้วย Wax และปิดทับด้วยแผ่น Carbon Fiber หลายๆ ชั้น ในแต่ละชั้นจะทา resin
- การทำสุญญากาศ และการบ่ม
จากนั้นชิ้นงานจะถูกบรรจุลงในถุงพลาสติก และจะดูดอากาศออก ชิ้นงานจะถูกบ่มในถุงเป็นเวลา 24 ชั่วโมงเพื่อให้แน่ใจว่าชิ้นงานเซ็ทตัวเรียบร้อยแล้ว
- การถอดแบบ
เมื่อครบ 24 ชั่วโมง ชิ้นงานจะถูกแกะออกจากถุงสุญญากาศ ชิ้นส่วนตัวถังรถก็พร้อมใช้งานทันที
บทสรุป
การใช้เทคโนโลยีสามมิติ ทั้งการสแกน และการพิมพ์สามมิติ ช่วยให้ทีมนักแข่งจาก ZJUT ประสบความสำเร็จในการออกแบบ และผลิตชิ้นส่วนรถแข่งที่ต้องการได้โดยไม่ต้องทำแม่พิมพ์ ซึ่งมีราคาแพงและใช้เวลาทำนาน เทคโนโลยีนี้ยังช่วยให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์ โดยปราศจากข้อจำกัดของขบวนการผลิตแบบเดิมๆ