Alignment ยากไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป

Alignment ยากไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป

การสแกนชิ้นงานที่มีความหนาของชิ้นงานค่อนข้างน้อยหรือบางหรือไม่ก็เป็นกรณีชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่เป็นเมตรๆ ทุกคนคิดว่าต้องทำอย่างไร การสแกนชิ้นงานในลักษณะนี้สามารถทำได้โดยการติด Marker โดยที่ทุกคนรู้เบื้องต้นอยู่แล้วว่า Marker มีประโยชน์มากมายในเรื่องของการสแกน สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนจาก Marker คือผลลัพธ์ของการสแกนในส่วนของขนาดที่คลาดเลื่อนไปจากแบบประมาณ0.2-2 mm. ที่จริงแล้ว Marker ยังมีประโยชน์อีกมากมาย วันนี้เราจะมารู้จักกับ Global maker ซึ่งเป็น หนึ่งในตัวเลือกที่ทำให้เราทำงานได้ง่ายขึ้น และประหยัดเวลาในการสแกนผิดพลาดสำหรับผู้เริ่มต้นการใช้งานเครื่องสแกน 3 มิติ

 

การสแกนเก็บ Global Marker ก่อนการสแกนจริง
การสแกนชิ้นงานทั้งหมด 1 รอบ

ทุกคนอาจจะมีข้อสงสัยว่าทำไมต้องทำการสแกนซ้ำ 2 รอบ การสแกนทั้งชิ้นงานโดยที่ความหนาของชิ้นงานไม่ว่าจะมากหรือจะน้อยล้วนมีโอกาสผิดพลาดในการ Alignment(การเชื่อมผิวของชิ้นงานเข้าด้วยกัน) ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับมือใหม่หรือคนที่ใช้งานเครื่องอยู่ปกติ หลักการเบื้องต้นคือการเก็บเป็น Draft ของชิ้นงานในลักษณะที่เป็น Global Marker ก่อนแล้วจากนั้นทำการสแกนชิ้นงานจริงอีก 1 รอบ Marker จึงเข้ามามีส่วนช่วยในการเก็บชิ้นงานเพื่อทำให้เกิดข้อผิดพลาดทั้งในเรื่องของขนาดและการเชื่อมผิวเข้าด้วยกันน้อยลง ทาง Print3DD ได้ทดลองสแกนชิ้นงานจากเครื่อง Einscan Pro2x เป็นสแกนเนอร์ทีทุกคนรู้จักกันดีในด้านของคุณภาพการสแกน มาดูกันครับ

การดึงไฟล์ .p3 เพื่อทำการสแกนต่อ                                

ขั้นตอนในการสแกนเก็บแบบ Marker

1.เปิด Software เข้าโหมด Handheld HD Scan และเลือกความละเอียดที่ต้องการ แล้วจากนั้นทำการสแกน

2.เมื่อ Scan เรียบร้อยแล้ว save file เป็น .p3 file

3.เปิดโหมด Handheld Rapid Scan แล้วจากนั้นเลือกรายละเอียดต่างๆในหน้าต่างนั้น

4.เลือกเปิด Open Global Marker File แล้วเลือกไฟล์ที่มีนามสกุล .p3 จากนั้นทำการสแกนต่ออีก 1 รอบ

การดึงไฟล์ .p3 เพื่อทำการสแกนใหม่อีกรอบ

ประโยชน์จากสแกนไฟล์ .p3

1.การเชื่อมผิวของชิ้นงานสามารถเชื่อมผิวได้ง่ายกว่าการสแกนเก็บแบบรอบเดียวโดยไม่มีการสแกนในรูปแบบ Marker

2.บางชิ้นงานที่ใหญ่มากๆหรือเล็กมากๆก็มีผลกับการสแกนเช่นเดียวกัน แต่ Global Marker จะทำให้การสแกนชิ้นงานเร็วขึ้น

3.ความคลาดเคลื่อนของชิ้นงานที่สแกนกับชิ้นงานจริงตามสเปคของเครื่องจะอยู่ที่ 0.2-2 mm.

 

ขนาดชิ้นงานจากการสแกน = 55.20 mm.
วัดขนาดจากชิ้นงานจริง = 55.30 mm.
ขนาดชิ้นงานจากการสแกน = 45.66 mm.

 

วัดขนาดจากชิ้นงานจริง = 45.5 mm.
ขนาดชิ้นงานจากการสแกน = 86.06 mm.
วัดขนาดจากชิ้นงานจริง = 86.09 mm.