พิมพ์กระเพาะหมูนุ่มนิ่มด้วย Flexible Filament

พิมพ์กระเพาะหมูนุ่มนิ่มด้วย Flexible Filament

ในสายงาน 3D Print1 นั้นมีหลากหลายวัสดุ Filament ให้เลือกใช้กันมาก ถ้าจะให้พูดถึงทั่วไปคงหนีไม่พ้น PLA ABS ซึ่งเป็น Filament พื้นฐาน แต่ก็ยังมีอีกหลายอย่างแยกย่อยไปอีก เช่น พิมพ์โลหะ ฯลฯ

และยังมีอีกชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างได้รับความนิยมและใช้งานในเฉพาะด้านอย่างเส้น Flexible

ที่มีคุณสมบัติเด่นเลยคือ ความยืดหยุ่น ที่มีมากตามชื่อ Flexible ซึ่งเส้นชนิดนี้มัดจะใช้ในงานจำพวกของเล่นที่ต้องการความนุ่มนิ่ม เพื่อป้องกันอันตลาดจากของแข็ง เคสโทรศัทพ์ เครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยห่อหุ้มป้องกันการกระแทกได้เป็นอย่างดี และอีกงานหนึ่งที่เป้นงานเฉพาะด้าน อย่าง โมเดลทางการแพทย์

โมเดลทางการแพทย์คืออะไร มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร แล้วจะเอาไปพิมพ์เป็นอะไร…???

คำตอบนั้นง่ายมาก นั่นก็คือ อวัยวะสิ่งมีชีวิต เนื่องจากอวัยวะมีลักษณะที่ Freeform และคุณลักษณnความนุ่มนิ่มเมื่อบีบจับ เนื่องจากเป็นอวัยวะเป็นสิ่งธรรมชาติมีการยืดหดขยายตามธรรมชาติ การใช้เส้น Flexible ในการพิมพ์โมเดลอวัยวะสิ่งมีชีวิต จึงเป็นงานที่ตอบโจทย์เอามากๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในด้านการศึกษา วิจัยและพัฒนางานต่างๆด้านการแพทย์ นำมาใช้ทดลองการบิดตัวหรือโครงสร้างต่างๆ ของอวัยวะ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกัน ทำให้การศึกษาสามารถเข้าถึงได้ง่ายด้วยต้นทุนที่ถูกกว่าโมเดลจริง และเรื่องวระยะเวลาที่ใช้เวลาในการขึ้นงานไม่นาน และเหมาะกับอวัยวะที่มีความซับซ้อนด้านโครงสร้างมากๆ เพราะจุดเด่นของเครื่องพิมพ์ 3มิติ นั้นสามารถสร้างโมเดลที่ซับซ้อนขึ้นได้ไม่ยาก

ซึ่งเราได้ลองพิมพ์อวัยวะ กระเพาะหมู โดยใช้เส้น Flexible พิมพ์ ขึ้นงานกลวงและขยายขนาดประมาณ20% เพื่อนำมาเป็นตัวอย่างและศึกษาได้ชัดเจน

จะเห็นได้ว่ารูปทรงค่อนข้างตรงกับของจริงเลย

กระเพาะหมูของจริง
โมเดลกระเพาะหมูจากเส้น Flexible

เนื่องจากข้างในเราตั้งค่าการพิมพ์กลวงหรือ Infill 0% และตั้งค่าความแข็งแรงด้วยผนังให้มีความหนาขึ้นมาหน่อยทำให้อยู่ทรงได้

(วิธีตั้งค่าการพิมพ์เส้น Flexible :https://www.print3dd.com/flexible-on-adventurer3/)

ทำให้การบีบ จับนั้นมีความยืดหยุ่นมาก บีบติดกันยังไหว

หรือจะหักงอบริเวณปลายก็ยังสามารถทำได้ไม่ยาก

เมื่อเรามีสิ่งนี้และเราก็สามารถนำไปทำวิจัยอะไรต่อได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ของจริงตลอดเวลา และยังสามารถหั่นแบ่งหรือย่อขยายได้อีกด้วย

แต่ก่อนที่จะพิมพ์งานออกมาได้นั้นจำเป็นต้องมีไฟล์งานที่สมบูรณ์แบบเสียก่อนโดยงานนี้เราเริ่มจากการ Scan โมเดลตันที่ขึ้นด้วยมือจากวัสดุดินน้ำมัน

และได้ออกมาเป็นไฟล์ 3มิติ นำมาปรับเปลี่ยนให้พร้อมพิมพ์อีกรอบหนึ่ง

 

จากน้ำทำการปั้นเพิม่เป็นการต่อท่อขึ้นมาเพิ่มและขยายขนาด 20%

นำเข้าโปรแกรมเพื่อทำให้โมเดลกลวง และทำการเตรียมพิมพ์

เข้าโปรแกรมเพื่อทำให้โมเดลกลวงข้างใน
เข้าโปรแกรม FlashPrint เพื่อตั้งค่าการพิมพ์
ได้โมเดลตามต้องการ

ข้อแนะนำในการใช้งานเส้น Flexible

– เครื่องที่ใช้ควรเป็นแบบ Direct Drive หรือ ชุดเฟืองขับเส้นติดกับหัวฉีด เช่น Flashforge DreamerFlashforge Creator Pro2 , Flashforge Guider2s


– อุณหภูมิในการพิมพ์ 190-220 องศา
– ไม่จำเป็นต้องเปิดฐานทำความร้อน
– ความเร็วในการพิมพ์ ควรน้อยกว่า 40 mm/sec

จะเห็นได้ว่าการพิมพ์ 3มิติ นั้นมีความเป็นได้กว้างมาก หากเลือกวัสที่เข้ากับการทำงานของเรา เราก็จะสามารถทำชิ้นงานต้นแบบหรือตัวทดลองนำไปใช้เพื่อทดสอบและพัฒนาต่อในอนาคตได้อีกด้วย