นับตั้งแต่การเปิดตัวของ Flashforge Adventurer 5M Series นั้นหลายๆคนก็ใช้ความสนใจกันมากเพราะด้วยเครื่องรุ่นใหม่นั้นที่สามารถทำความเร็วในการพิมพ์สูงมากถึง600mm/s และนอกจากนี้ทางFlashoforge ได้ทำการประกาศว่าเครื่องของพวกเขาสามารถรองรับการใช้งาน3DSlicer แบบ Opensource กันได้แล้ว อีกทั้งยังแนบโปรไฟล์และโปรแกรมสำหรับโปรแกรมopensource มาบนหน้าเว็บกันเลยทีเดียว โดยโปรแกรมที่แนบมาด้วยนั่นก็คือ OrcaSlicer
OrcaSlicer คืออะไร?
OrcaSlicer เป็นซอฟท์ที่ใช้สั่งงานเครื่องพิมพ์สามมิติได้หลากหลายยี่ห้อโปรแกรมนึง หรือที่เรียกว่าเป็นโปรแกรมOpensourceนั่นเอง อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้สามารถสร้างดปรไฟล์ของเครื่องขึ้นมาเองได้เลย
การทำงานของโปรแกรมนี้จะเป็นลูกผสมระหว่างโปรแกรม PrusaSlicer ของ Prusa Research และ BambuStudioของทางBambulabนั่นเอง ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้สามารถตั้งค่าได้ค่อนข้างอิสระและฟังก์ชั่นการใช้งานจะมีมากพอเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยโปรแกรมนั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยสมาชิกชาวGithubกลุ่มนึง ซึ่งเว็บGithubจะเป็นCommunity ที่มีผู้คนจะมาแชร์โปรแกรมและโค้ดของตัวเองกัน หรือถ้าเข้าในง่ายๆก็เหมือนเป็นPuntipของเหล่าโปรแกมเมอร์และนักพฒนาซอร์ฟแวร์ทั่วโลกนั่นเอง
แนะนำInterface
ลักษณะการทำงานของโปรแกรมนี้จะคล้ายคลึงกับโปรแกรมอื่นๆจะมีเพียงแค่การสลับที่เท่านั้น โดยส่วนการตั้งค่าParameterของโปรแกรมจะอยู่ที่ด้านซ้ายมือของหน้าจอ โดยจะขึ้นเมนูที่จำเป็นมาให้เลือกตั้งค่าแบบพอประมาณไม่ถึงกับสำเร็จรูปนัก จึงทำให้ผู้ที่ต้องการใช้งานโปรแกรมนี้จำเป้นต้องมีพื้นฐานมาประมาณนึงในเรื่องของการปรับตั้งค่าparameter
ด้านบนของหน้าจอนั้นจะเป็นเครื่องมือสำหรับจัดการชิ้นงานในส่วนของตำแหน่งการวาง การจัด Layout การตัดแบ่งชิ้นงาน และการกำหนดจุดการวางซัพอร์ตแบบmanual
ซึ่งหากติดตั้งครั้งแรกนั้นโปรแกรมจะยังไม่มีเครื่องพิมพ์ให้เลือกใช้จำเป้นต้องเข้าเมนู Add/remove printers เพื่อเลือกหรือสร้างโปรไฟล์ของเครื่องที่ต้องการใช้เข้ามา
จุดเด่นของOrcaSlicer
Tree Support
จุดแรกคือสิ่งที่หลายคนลองเล่นเป็นส่วนแรกคือ การสร้างซัพพอร์ตแบบTree หรือแบบต้นไม้ ซึ่งจะแตกต่างกับ Treelike Support ของ flashprint5 อยู่ตรงที่จะเป็นลักษณะต้นไม้โปร่งๆและค่อยๆเล็กลงเมื่อพิมพ์งานสูงขึ้น ซึ่งของดีคือมีความมั่นคงเพราะขนาดพิมพืใหญ่แต่เป็นแบบกลวงทำให้สามารถแกะได้ง่ายมาก แต่ข้อเสียของวัพพอร์ตประเภทนี้คือ เวลาในการพิมพ์ที่เพิ่มเข้ามาพอประมาณ สำหรับบางชิ้นอาจเพิ่มขึ้นถึง1-2ชั่วโมงเลยทีเดียว
process : Object
ฟังก์ชั่นนี้นี้คือการคั้งค่าแบบรายชิ้นงาน ซึ่งหากเลือก Process เป็น Global จะเป็นการตั้งค่าทั้งถาดการพิมพ์ การตั้งค่ารายชิ้นงานจะมีความซับซ้อนกว่าเพราะเราจำเป้นต้องเลือกที่ชิ้นงานนนั้นๆแต่ทำการใส่ค่าที่เราต้องการเปลี่ยนทีละชิ้น เช่น การตั้งชิ้นงาน3ชิ้นให้
มีInfill ไม่เท่ากัน ซึ่งเหมาะกับคนที่พิมพ์งานหลากหลายแบบและการตั้งค่าหลายอย่างทำให้ไม่จำเป็นต้องพิมพ์ใหม่ทุกครั้งเื่อทำการตั้งค่าใหม่ แต่หากค่าอื่นๆที่เราไม่ได้ทำการเปลี่ยนโปรแกรมก็จะอ้างอิงจากค่าglobalนั่นเอง
Smart object cut
ฟังก์ชั่นที่โปรดปรานสำหรับงานพิมพ์งานFigure Arttoy ต่างๆ เพราะโปรแกรมนี้นอกจากจะตัดได้เหมือนโปรแกรมอื่นๆแล้วยังสามารถเพิ่มข้อต่อหรือ Connectorใส่โมเดลเข้าไปได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องเข้าไปตัดผ่านโปรแกรมอื่นๆเหมือนเมื่อก่อน
จุดสังเกตุของโรปแกรม
การตั้งค่าส่วนของ Filament ไม่ค่อยสะดวกมากนัก
การตั้งค่าของวัสดุนั้นจำเป็นต้องเข้าไปแก้ไขในโปรไฟล์หลักของวัสดุเท่านั้นและซึ่งนั่นรวมถึงการตั้งค่าอุณหภูมิของวสัดุ ความเร็วของพัดลมเป่างาน ต้องเข้าไปแก้ไขที่ตัวโปรไฟล์ที่วัสดุเท่านั้น
การตั้งความเร็วการพิมพ์
การตั้งความเร็วการพิมพ์ของเครื่องนั้นสำหรับมือใหม่อาจจะยากไปนิด เพราะในโหมดการใข้งานแบบง่ายนั้นจะไม่สามารถตั้งPrint Speed ได้ ซึ่งเราจะต้องเปิดโหมด Adveance อีกทั้งโปรแกรมจะแยกความเร็วในแต่ละส่วนมาให้ตั้งค่าเองทั้งหมด สำหรับคนที่ยังไม่ทราบค่าต่างๆเหล่านี้มีงงแน่นอน
การสั่งงานทางไกลยังไม่ครอบคลุม
พื้นฐานของOrcaSlicerนั้นจริงๆแล้วสามารถสั่งงานผ่านทางWIFI ได้และยังสามารถดูกล้องได้ แต่สามารถเชื่อมต่อได้แค่กับ Raspberry Pi เท่านั้น ทำให้ฟังก์ชั่นกล้องของ Adventurer5M Pro ไมม่สามารถใช้งานกับดปรแกรมนี้ได้นั่นเอง
สรุปแล้วดีไหม?
OrcaSlicer นั้นมีความสามาารถที่ค่อนข้างเยอะที่จะเพิ่มอิสระให้กับผู้ใช้งานสายAdvance ได้ปรับแต่งกันอย่างเมามันกันเลยทีเดียวเพราะฟังก์ชั่นที่มากมายและสามารถสั่งงานแบบซับซ้อนได้เป็นอย่างดี ดีหรือไม่นั้นไม่อาจสรุปได้สำหรับท่านที่อ่านนั้นต้องไปลองกันเองครับ ถือเป็นซอฟท์แวร์ Slicerอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคนที่อยากลองอะไรใหม่ๆหรือเบื่อกับFlashprint5กันแล้ว
มาโหลกไฟลองเล่นกันได้เลย คลิก….