Chitubox Basic 2.0 Updated!!!!!! มีอะไรใหม่

Chitubox Basic 2.0 Updated!!!!!! มีอะไรใหม่

Chitubox ได้ทำการปล่อย Chitubox2.0 Stable ออกมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากที่เปิดให้ผู้คนทั่วไปลงทะเบียนใช้งานแบบ Beta กันมาซักพักนึงแล้ว และแน่นอนว่า chitubox ตัวใหม่นี้มีการเปลี่ยนแปลงที่มากมายพอสมควรและน่าใช้งานมากขึ้นเป็นอย่างมาก ไปดูกันดีกว่าว่ามีอะไรอัพเดทเข้ามาใหม่บ้าง สำหรับบทความนี้เราได้ยกเฉพาะฟังก์ชั่นที่เป็นประโยชน์กับผู้ใช้ทั่วไป เพราะการอัพเดทรอบนี้นั้นยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่ค่อนข้างเยอะมากมาย

1.การเลือกเครื่องพิมพ์ และอนิเมชั่นการแสดงผล

หากเป็นเวอร์ชั่นก่อนหน้านั้นการที่จะเลือกเครื่องพิมพ์ซักเครื่องนึง เราจำเป็นต้องเข้าไปที่ Setting เพื่อทำการเลือกเครื่องพิมพ์ที่เราใช้ ทำให้มีการสับสนมากหากมีการใช้งานเครื่องที่มีค่อนข้างหลายรุ่น ซึ่งหากการตั้งค่าเครื่องไม่ตรงกันก็จะไม่สามารถพิมพ์ได้ทำให้ต้องเสียเวลาไปแก้ไฟล์ใหม่
แต่สำหรับเวอร์ชั่นใหม่นี้เราสามารถเลือกเครื่องพิมพ์ของเราที่ต้องการจะใช้ได้จากหน้าแรกของโปรแกรมได้ทันที และยังมี UI แสดงแท่นพิมพ์ของเครื่องนั้นๆ ให้เห็นชัดเจนทำให้เราสามารถเลือกเครื่องเพื่อใช้งานได้อย่างง่ายดาย

2.Pre-Slice parameter

เวอร์ชั่นนี้จะมีการคำนวนเวลาให้คร่าวๆ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆ ในโปรแกรม ทำให้เราสามารถประมาณการคร่าวๆ ในการพิมพ์งานแต่ละไฟล์ได้ตลอดไม่จำเป็นต้องกด Slice ทุกครั้งเพื่อให้คำนวนเวลาให้ทุกครั้ง

3.Support setting ที่เข้าใจง่ายมากขึ้น

Advance support setting

ถึงแม้ว่า Chitubox 2.0 Basic จะไม่ได้มีการเปลี่ยนการตั้งค่าของ Support แต่อย่างใด แต่สำหรับหน้าแสดงผลการตั้งค่านั้นเรียกได้ว่ายกเครื่องใหม่ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นอนิเมชั่นคำแนะนำที่ดูง่ายขึ้น ปุ่มกดสร้างซัพพอร์ตที่เห็นชัดเจน และในอัพเดทครั้งนี้ได้ทำการแยกการตั้งค่าแบบ Basic กับ advance ไว้อย่างชัดเจน ทำให้ผู้ใช้มือใหม่ไม่ต้องสับสนว่าเราควรตั้งค่าอะไรบ้าง
ในส่วนของ Advance setting นั้นก็ได้ทำการแสดงจุดสำหรับการปรับ Support ตำแหน่งต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน โดยเราสามารถเลือกที่รูป Support และเปลี่ยนเลขในตำแหน่งที่เราต้องการได้ทันที

4.Carvity Detector

ในที่สุดก็มาซักทีกับฟังก์ชั่น Carvity Detector หรือที่รู้จักกันสั้นๆ ว่า เมนูตรวจจับอาการ cupping สำหรับสายทำกลวงเมนูนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเพราะอาการ Cupping นั้นได้สร้างความเสียหายมากมายให้กับงานพิมพ์ที่ต้องพิมพ์กลวงหรือพิมพ์งานลักษณะที่ต้องห้ามอย่างงานแก้วน้ำ โดยฟังก์ชั่นนี้จะแสดงอนิเมชั่นเป็นสีเหลืองโปร่งใสด้านในตัวงานหรือตามจุดต่างๆที่เกิดอาการ Cupping (แต่ก่อนจะมีแค่ใน preform ของ Formlabs) ทำให้เราลดการสูญเสียเรซิ่นโดยไม่จำเป็นได้อย่างมหาศาลเลยทีเดียว
Cupping คืออะไร อ่านต่อ……..

5.Colission Detector

ฟังก์ชั่นนี้จะทำการตรวจจับชิ้นงานหลากหลายชิ้น หากมีชิ้นงานสองชิ้น หรือมากกว่ามาชนกันหรือเกยกัน (overlaps) เมื่อมีการชน โปรแกรมจะทำการแจ้งเตือนทันที โดยเวอร์ชั่นก่อนหน้านี้เมื่อเราต้องทำการพิมพ์งานหลายๆชื่นพร้อมกันจะพบเจอปัญหาที่ชิ้นงานว้อนกัน และสุดท้ายก็พิมพ์ติดกันทำให้ต้องพิมพ์ใหม่ ซึ่งหากฟังก์ชั่นนี้มีการแจ้งเตือนเราจะไม่สามารถ Slice เพื่อทำการพิมพ์ได้

6.การปรับParameterที่ซับซ้อนแต่เข้าใจง่าย

จุดเด่นของ UI ใหม่นี้นอกจากจะเป็นลูกเล่นของโปรแกรมที่เปลี่ยนไปเยอะ และครั้งนี้ได้ทำการปรับตำแหน่งของเมนูการตั้งค่าและการจัดระเบียบหน้าการตั้งค่าได้ดีทีเดียว โดยหลักแล้วจะแยก Parameter ที่เกี่ยวข้องกันให้อยู่ใกล้กัน และยังมีการทำอนิเมชั่นคำแนะนำสำหรับแต่ละคำสั่งมาด้วย นอกจากจะสวยงามแล้วยังสามารถทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้นซึ่งจะสะดวกมากๆกับมือใหม่ที่กำลังเริ่มต้นใช้งานเครื่องพิมพ์ระบบ SLA

7.รองรับ Microsoft DirectX และ Apple metal

โปรแกรมทั่วๆไปที่รวมถึง Chitubox นั้นจะใช้การ Render ผ่าน CUDA หรือ OpenGL เป็นหลักเนื่องจากจะไม่หนักเครื่องมากนักแต่จะไม่สามารถ render ไฟล์ซับซ้อนมากๆ ไม่ค่อยดี (ลองสังเกตุดูว่าเมื่อลงไฟล์ที่มีรายละเอียดเยอะๆ ในChitubox ก่อนหน้าจะเกิดอาการเด้งค่อนข้างบ่อย)
สำหรับการอัพเดทนี้จะเพิ่มการรองรับ Microsoft DirectX และ Apple metal (สำหรับMacOS) ทำให้สามารถ render งานที่ซับซ้อนได้ และกับงานเล็กๆ ทั่วไปก็จะแสดงผลได้ลื่นขึ้นนั่นเอง

สำหรับใครที่ยังไม่ได้อัพเดทสามรถไปลองอัพเดทกันได้ที่ Chitubox 2.0