FDM 3D Printer คืออะไร เลือกแบบไหน Updated 2024

FDM 3D Printer คืออะไร เลือกแบบไหน Updated 2024

สวัสดีทุกท่าน ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับเครื่องพิมพ์สามมิติระบบหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน เนื่องด้วยปัจจุบันนี้เครื่องพิมพ์ระบบนี้ได้มีราคาที่ต่ำลงจนคนทั่วไปจับต้องได้และความปลอดภัยที่มากขึ้น ถึงแม้ว่าราคาของเครื่องพิมพ์สามมิติระบบFDMจะถูกลงแต่เทคโนโลยีนั้นก็ไม่ได้ถูกลดลงไปเลยแม้แต่น้อย และกลุ่มผู้ใช้งานเองนั้นก็มีหลากหลายหลุ่มมากขึ้นตั้งแต่นักเรียนประถมตัวน้อยๆไปจนถึงระบบอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ และเครื่องพิมพ์ระบบนี้ก็จะเป็นตัวเลือกแรกๆของใครหลายๆคน ในบทความนี้เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักเครื่องพิมพ์ระบบนี้และการเลือกใช้งานกัน

ประวัติความเป็นมาอย่างไง?
FDM 3D printer(Fused Deposite Modeling 3D Printer)หรือ เครื่องพิมพ์สามมิติระบบฉีดเส้นพลาสติกที่เราคุ้นเคยกันมาอย่างยาวนานและเป็นระบบที่กลายเป็นรูปแบบเริ่มต้นของเครื่องพิมพ์สามมิติไปแล้ว แต่รู้หรือไม่? เครื่องพิมพ์สามมิติเครื่องแรกที่เกิดขึ้นบนโลกนั้นไม่ได้เครื่องระบบFDM เแต่เป็นระบบSLAต่างหากที่เกิดขึ้นก่อน SLA 3D Printer คืออะไร
โดยเครื่องพิมพ์ระบบFDM เกิดขึ้นโดยคุณ S. Scott Crump ในปี ค.ส. 1988 ซึ่งเขาได้ไอเดียนี้ในการสร้างเครื่องพิมพ์สามมิติมาจากปืนยิงกาวที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ แนวคิดสำหรับ FDM เกิดขึ้นที่ Crump เมื่อเขาสร้างกบของเล่นสำหรับลูกสาวโดยใช้ปืนกาวและส่วนผสมของโพลีเอทิลีนและขี้ผึ้งเทียน Scottตระหนักว่าเขาสามารถใช้แนวคิดเดียวกันนี้เพื่อสร้างวัตถุสามมิติได้ และด้วยเหตุนี้ FDM จึงถือกำเนิดขึ้น

S. Scott Crump ผุ้ริเริ่มมเครื่องพิมพ์ระบบ FDM

และในปีถัดมาScott ได้ก่อตั้งบริษัทเครื่องพิมพ์สามมิติขึ้นมาในปี 1989 พร้อมจำหน่ายเครื่องพิมพ์สามมิติแบบFDMเครื่องแรกขึ้นมา โดยเครื่องรุ่นแรกนั้นถูกใช้งานด้านการฉีดขึ้นรูปแม่พิมพ์พลาสติกขึ้นมาสำหรับงานอุตสาหกรรม ถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านมาแล้วมกาถึง35ปี บริษัทของScottก็ยังคงเป็นเบอร์ต้นของโลกของวงการเครื่องพิมพ์สามมิติระบบFDMและยังคงเป็นผู้นำด้านเครื่องพิมพ์สามมิติอยู่จนถึงปัจจุบัน นั่นคือ Stratasys

FDM 3D Printer คืออะไร ?

การทำงานของเครื่องพิมพ์สามมิติระบบ

ระบบเส้นพลาสติก หรือ FDM มาจากคำ Fused Deposit Modeling หรือในหลายๆที่เรียกระบบนี้ว่า FFF (Fused Filament Fabrication) การหลอมเส้นพลาสติกแล้วฉีดขึ้นรูป หลักการทำงานคือเครื่องจะทำความร้อน ละลายพลาสติกที่ตั้งต้นมาทำเป็นเส้นขดกันในม้วนพลาสติกที่เรียกว่าฟิลาเมนต์ Filament โดยพลาสติกที่ถูกหลอมละลายจะเปลี่ยนจากสถานะของแข็งมาเป็นรูปแบบของเหลว ไหลออกมาที่หัวฉีด เครื่องจะเคลื่อนหัวฉีดเพื่อวาดรูปร่าง Cross Section ของโมเดล 3มิติขึ้นมาชั้นต่อชั้น เมื่อวาดเสร็จหนึ่งแล้วเครื่องจะยกหัวฉีดขึ้นพิมพ์ในชั้นต่อไป ทำไปเรื่อยจนออกมาเป็นชิ้นงาน โดยมากแล้วโมเดล 3มิติชิ้นหนึ่งจะมีมากถึง 100Layer – 10,000Layer กันเลยทีเดียว

FDM เหมือนปืนกาวนั้นเอง ละลายพลาสติกแล้วฉีดออกมาวาดขึ้นรูปชั้นต่อชั้น ระบบนี้เป็นที่นิยมเพราะดูแลรักษาง่าย Filament สามารถหาซื้อได้ทั่วไปมีหลากหลาย

หมายเหตุ เส้นพลาติกที่มาใช้ที่นิยมจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.75mm โดยมีชนิดให้เลือกมากกว่า 20ชนิด แต่ชนิดที่นิยมใช้มากที่สุดคือ PLA, ABS ขนาดหัวฉีดที่นิยมมากที่สุดคือ 0.4mm 

หลักการทำงานของ FDM Printer แบบสองหัวฉีด
หลักการทำงานของ FDM Printer เริ่มจากเครื่องทำความร้อนที่หัวฉีดทำเส้นพลาติกที่อยู่ในรูปแบบม้วนละลาย เครื่องวาดรูปร่างชิ้นงานงานขึ้นทีละชั้น จนออกมาเป็นรูปร่าง 3มิติ
จากรูปเป็น Timelapse การขึ้นรูปของชิ้นงาน 3D Printing ระบบ FDM เร่งเวลาขึ้น 1000เท่า

FDM มีกี่ประเภท?

โดยทั่วไปการทำงานของเครื่องพิมพ์สามมิตินั้นจะใช้การฉีดเส้นพลาสติกและหลอมละลายด้วยความร้อนและค่อยๆขึ้นรูปทีละชั้นเหมือนๆกัน และความสามารถในการขึ้นรูปของแต่ละเครื่องนั้นจะขึ้นอยู่ที่สเปคและวัสดุของหัวพิมพ์เป็นหลัก ดังนั้นการแบ่งประเภทเครื่องพิมพ์สามมิติระบบFDMเราจะแบ่งตามลักษณะโครงสร้างและการเคลื่อนที่ของเครื่องนั้นๆ ดังนี้

1.ระบบ Catersian

ระบบนี้เป็นระบบยอดนิยมที่สุดระบบนึงเนื่องจากจะเป็นระบบที่เข้าใจง่ายที่สุด โดยอธิบายง่ายๆก็คือ ระบบนี้การเคลื่อนที่ของหัวฉีดจะเคลื่อนที่ตามแนวแกน X Y Z ตามปกติ โดยที่แต่ละแกนนั้นจะมีมอเตอร์แยกกันทำงานในแต่ละแกนและหัวฉีดจะสามารถที่ผ่านแต่ละแกนตามโครงสร้างของเครื่อง เช่น หากมีการเคลื่อที่ในแนวแกน X หัวฉีดก็จะทำการเคลื่อนที่ตามรางลูกปืนของแกนXเท่านั้น โดยการเคลื่อนของระบบนี้จะมีจุดสังเกตก็คือ การเคลื่อนที่จะมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมทั้งหมดนั่นเอง

แต่สำหรับเครื่องระบบCartesianนั้นมีเครื่องที่วางมอเตอร์และลักษณะที่แตกต่างกันอย่างหลากหลาย แต่จะใช้พื้นฐานเดิมของเครื่องระบบรางลูกปืนตามแบบcatesian โดยจะยกตัวอย่างแบบต่างๆเครื่องระบบCartesian ดังนี้

Retilinear หรือแบบโครงสี่เหลี่ยมทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะเครื่องเป็นลักษณะโครง มีทั้งแบบตู้ปิดและเครื่องเปิดโล่ง เป็นระบบที่ค่อนข้างมั่นคงแต่จะมีชิ้นส่วนที่ค่อยข้างเยอะ เช่น Flashforge Guider2s, Ultimaker S3, Makerbot replicator+

Bed Slinger หรือแบบถาดเลื่อน โดยเครื่องจะให้ฐานพิมพ์ของเครื่องนั้อยู่่ในแนวแกนYและฐานพิมพ์จะทำการวิ่งไปมาในแนวแกนตลอดที่มีการพิมพ์งาน ระบบนี้ชิ้นส่วนจะน้อยกว่าแบบอื่นและดูแลง่าย ราคาถูก แต่คุณภาพงานจะคุมยากกว่าแบบอื่น เพราะฐานจะเคลื่อนที่ตลอดเวลาเลยส่งผลให้งานเกิดการสั่นไหวเวลาพิมพ์นั่นเอง เช่น Prusa i3, Flashforge Adventurer4,Creality Ender Series

ข้อดี : พิมพ์งานได้อย่างแม่นยำ
ราคาถูก เพราะโครงสร้างไม่ซับซ้อนจนเกินไป
โครงสร้างเข้าใจง่าย ทำให้ซ่อมบำรุงหรือปรับแต่งได้ง่าาย
ข้อเสีย : โครงสร้างใหญ่กว่าพื้นที่พิมพ์และมีน้ำหนักมาก
เคลื่อนที่ได้ค่อนข้างช้า

2.ระบบ CoreXY
ระบบนี้ โดยการเคลื่อนที่ของระบบนี้จะแบบแนวทแยง โดยมอเตอร์ตัวนึงจะควบคุมการเคลื่อนแนว -X -Y และอีกตัวจะเคลื่อนที่แนว +X +Y ระบบนี้จะมีดีเลย์การเคลื่อนเปลี่ยนแนวแกนที่ต่ำมากๆทำให้สามารถเร่งความเร็วของเครื่องได้มากกว่า3เท่าโดยที่คุณภาพงานยังคงเท่าเดิม เช่น Flashforge Adventurer 5M Series,Bambulab P1 Series

 

 

ข้อดี : พิมพ์งานได้เร็วมากๆและได้ชิ้นงานที่มีความแม่นยำ
พื้นที่พิมพ์ใหญ่
ข้อเสีย : ชิ้นส่วนต่างๆจะซับซ้อนกว่าแบบCatersian ทำให้การซ่อมบำรุงทำได้ยากกว่า
เครื่องจะกินไฟมากกว่า

3.ระบบ Delta

ระบบนี้การเคลื่อนที่ของแนวแกนจะไม่ใช่ X Y Z แต่จะเคลื่อนที่ในแนวตั้งในแนว I J K แทน ซึ่งโครงของตัวเครื่องจะมี3เสามอเตอร์จะถูกติดตั้งอยู่ตามแต่ละเสาและดึงสายพานขึ้นลงประสานกันเพื่อให้หัวฉีดเคลื่อนที่ให้ถูกต้องตามทิศทางที่กำหนดไว้ ความนิยมของเครื่องระบบนี้เริ่มได้รับความนิยมที่ลดลงมากเนื่องจากข้อจำกัดของเครื่องระบบนี้ที่ไม่สอดคล้องกับเครื่องพิมพ์สามมิติในยุคปัจจุบัน อีกทั้งยังมีพื้นที่การพิมพ์ที่ค่อนข้างจำกัดมากเมื่อเทียบกับระบบอื่น

ข้อดี : พิมพ์งานสในส่วนของเส้นโค้งได้เรียบเนียนกว่าระบบอื่นๆ
พิมพ์งานได้สูงมากๆ
ข้อเสีย : ซ่อมยาก
พื้นที่พิมพ์จะเล็ก

4. ระบบ SCARA

ระบบ SCARA หรือระบบRobotic ระบบนี้จะไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักเนื่องจากระบบนี้จะใช้การทำงานของแขนหุ่นยนต์มาเป็นพื้นฐานในการสร้างเป็นเครื่องพิมพ์สามมิติ ส่วนมากเครื่องพิมพ์ประเภทนี้จะถูกใช้ในโรงงงานเท่านั้นทำให้ระบบของเครื่องนี้จะดูแปลกตามากๆ

ข้อดี : มีความแม่นยำสูงมาก เหมาะกับการพิมพ์งานอุตสาหกรรม
พิมพ์งานได้เร็ว
ข้อเสีย : ระบบซับซ้อนกว่าเครื่องพิมพ์ทุกประเภท

จุดเด่น จุกด้อยของ 3D Printer FDM

จุดเด่น

1.ราคาถูก

ในปัจจุบันเครื่องพิมพ์ระบบ FDM นั้นได้มีการใช้งานกันอย่างแพร่ทำให้ในตลาดเกิดการแข่งขันกันสูงมากซึ่งส่งผลโดยตรงทำให้ราคาถูกลง สาเหตุนั้นมาจากเริ่มมีการใช้งานเครื่องพิมพ์ระบบFDMกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นและเครื่องระบบFDMนั้นได้แผงอยู่เกือบทุกสายงานตั้งแต่ผู้ใช้งานทั่วไป การศึกษา จนถึงอุตสาหกรรม ทำให้เหล่าผู้ผลิตเครื่องพิมพ์สามมิตินั้นต้องแข่งขันกันกันอย่างดุเดือดทั้งด้านการตัดราคาและเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานให้มากขึ้นไปอีกเพื่อให้ตอบโจทย์ทุกสายงาน

2.วัสดุที่หลากหลาย

นอกจากวัสดุถูกแล้วยังมีตัวเลือกให้เลือกอีกมากมายหลากหลายชนิดทำให้รองรับการใช้งานได้อย่สงหลากหลายมากขึ้น นอกจากชนิดวัสดุยังเยอะแล้วยังมีสีให้เลือกได้อย่างจุใจ ซึ่งในปัจจุบันได้เกิดวัสดุการพิมพ์สำหรับระบบFDM ขึ้นมามากมายทั้งการพัฒนาวัสดุพื้นฐานที่นิยมใช้งานกันอย่างเช่น PLA ที่ได้มีการเติมส่วนผสมเพื่อเพิ่มความแข็งแรงเช่น PLA-CF, PLA metal-filled เป็นต้น หรือเป็นการเพิ่มลูกเล่นเล่นของPLA ขึ้นมาเช่น เส้นแบบColor-change ที่ทำการเปลี่ยนสีได้เมื่อมีการเปลี่ยนอุณหภูมิระหว่างการพิมพ์ หรือเส้นสีรุ้งเป็นต้น และวัสดุอุตสาหกรรมก็เริ่มมีการทำเป็นCompositeมากขึ้นเพื่อให้พิมพ์ง่ายแต่ยังคงคุณสมบัติที่แข็งแรงหรือแข็งแรงกว่าเดิม เช่น PC-ABS,PA6-CF เป็นต้น

ศึกษาวัสดุการพิมพ์สำหรับ FDM 3D Printer เพิ่มเติม

3.มีกลุ่มผู้ใช้งานมากที่สุด

ผู้ใช้จำนวนมากที่ใช้งานเครื่องพิมพ์ระบบFDMนั้นเป็นผลพวงมาจากการลดราคาของเครื่องพิมพ์จึงส่งผลโดยตรงทำให้ผู้ใช้งานมากขึ้นเป็นอย่างมาก และเมื่อมีการใช้งานเป็นจำนวนมากก็ย่อมเจอปัญหากันมากมายทำให้มีข้อมูลด้านปัญหาและวิธีแก้เต็มโลกอินเตอร์เน็ตทำให้การใช้เครื่องพิมพ์ระบบFDMนั้นไม่ยากอีกต่อไป แน่นอนว่าผู้ผลิตเองก็เก็บขอ้มูลมาจากผู้ใช้งานที่มีจำนวนมากขึ้นและทำการปรับปรุงเครื่องพิมพ์ให้มีความเสถียรภาพกันอย่างต่อเนื่องทำให้ผู้ใช้งานไม่ต้องกัลวงหากเกิดปัญหาขึ้นภายหลังการใช้งานเครื่องพิมพ์อีกต่อไป

จุดด้อย

1.ความละเอียดในการพิมพ์ต่ำ

ถึงแม้วการพิมพ์งานด้วยระบบFDMนั้นจะถูกพัฒนาขึ้นมากในปัจจุบันจนทำให้ชิ้นงานเกิดค่าความคลาดเคลื่อนที่น้อยลงและพิมพ์งานได้สวยขึ้น แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสวยงามของงานยังสู้ระบบอื่นๆไม่ได้ โดยความละเอียดการพิมพ์งานของระบบFDMส่วนใหญ่จะอยู่ระหว่าง 0.05-0.3 มม. ทำให้จะเห็นรอยต่อของชั้นได้อย่างชัดเจน จึงทำให้ไม่เหมาะกับงานความละเอียดสูง และหากเป็นงานที่มีรายละเอียดที่เยอะมากๆลวดลายก็อาจจะหายไปเนื่องด้วยการทำความร้อนของหัวฉีดที่ทำให้รายละเอียดเล็กๆน้อยๆบนตัวงานละลายหายไปนั่นเอง

2.การเก็บงานหลังจากพิมพ์เสร็จต้องทำเยอะกว่า

การพิมพ์งานด้วยระบบFDMนั้นจำเป็นต้องพิมพ์ซัพพอร์ตขึ้นมาค้ำชิ้นงานในที่ยืดย้วยออกมาจากตัวงาน เมื่อแกะซัพพอร์ตออกแล้วผิวงานจะขรุขระไม่เรียบทำให้ต้องเก็บงานเยอะหากต้องการให้ชิ้นงานเนียนสวย โดยการเก็บงานของงานพิมพ์สามิตินั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี โดยทั้งนี้ทั้งนั้นจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ผู้ใช้งานด้วย โดยการเก็บที่นิยมใช้กันจะเป็นการขัดกระดาษทราย หรืออาจจะทำการพ่นเคลือบเพื่อปกปิดชั้นของชิ้นงานก็ได้ แต่ไม่ว่าจะวิะีไหนก็ตามการเก็บงานจะทำให้ชิ้นงานเสียขนาดที่แท้จริงไปทำให้ต้องมีการตั้งค่าเผือ่ในส่วนนี้เพิ่มเติม

3.ไม่เหมาะกับการผลิตงานจำนวนมาก

ในปัจจุบันเริ่มมีหลายท่านหรือหลายบริษัทที่ได้ปรับเปลี่ยนเครื่องจักรในองค์กรแล้วเปลี่ยนมาใช้เครื่องพิมพ์สามมิติแทนซึ่งไม่ใช่เรื่องผิดครับ แต่การที่เราจะใช้เครื่องพิมพ์สามมิติมาผลิตงานแบบจำนวนมากนั้นยังคงไม่เหมาะสมครับด้วยเหตุผลหลายประการ อย่างแรกคือราคาต้นทุนพลาสติกที่เป็นวัสดุของเครื่องพิมพ์สามมิติครับ แม้ว่าจะราคาไม่แพงมากแต่หากเพียบกับการฉีดพลาสติกที่ราคาพลาสติกตกราคากิโลละไม่ถึงร้อยบาทแล้วแต่ชนิด(แต่ก็ถูกว่าวัสดุสำหรับเครื่องพิมพ์สามมิติที่ราคาประมาณ300-600บาทขึ้นไป) จะส่งผลให้ราคาต้นทุนนนั้นเพิ่มมากขึ้นแบบไม่จำเป็น ซึ่งยังมีเรื่องของค่าเสื่อมเครื่องและค่าอะไหล่สิ้นเปลืองของเครื่องพิมพ์สามมิติอีกด้วย ซึ่งอาจจะได้ไม่คุ้มเสียในระยะยาว

แนะนำการเลือกเครื่อง FDM ไว้ใช้งาน

การเลือกเครื่องพิมพ์ระบบFDMมาใช้งานนั้นมีหลายปัจจัยที่ต้องดูประกอบกันครับเพื่อให้การตัดสินใจง่ายขึ้นและตรงกับงานเรามากที่สุด

1.งบประมาณ

เครื่องพิมพ์สามมิติระบบFDMในปัจจุบันนั้นมีราคาถูกลงเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับ10ปีที่แล้วซึ่งมีให้เลือกตั้งแต่หลักพันปลายๆไปจนถึงหลักหลายแสนบาทก็มี ทำให้การตั้งงบประมาณต้องมาก่อนเป็นอันดับแรกเพื่อที่จะได้เครื่องไม่แพงจนเกินไปหรือถูกเกินไปจนใช้งานได้ไม่เหมาะกับเรา แต่หากงบประมาณมีน้อยก็จะเลือกเครื่องที่ฟังก์ชั่นการใช้งานไม่เยอะมากหรืออาจจะใช้แบบDIYเลยก็ยังได้ครับ ถึงแม้ว่าการตั้งงบประมาณจะสำคัญผู้ใช้งานต้องประเมินผู้ใช้ด้วยเหมือนกัน เช่น หากเป็นมือใหม่ที่ไม่เคยใช้เคยและไม่มีความรู้ด้านช่างก็จำเป็นต้องเลือกเครื่องที่มีฟังก์ชั่นที่ใช้งานได้ง่ายและซ่อมบำรุงได้ง่ายๆครับ

2.ผู้ใช้งาน

จุดนี้สำคัญรองลงมา เพราะต่อให้เครื่องแพงแค่ไหนก็ไม่ใช่ว่าจะเหมาะกับผู้ใช้งานทุกคนได้ตัวอย่างเช่น หากผู้ใช้งานเป็นเด็กนักเรียนนั้นเครื่องที่เราต้องซื้อนั้นต้องเป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้งานไม่ยากจนเกินไป และเครื่องต้องเป็นลักษณะที่เป็นตู้เพื่อความปลอดภัย หรือเช่น ผู้ใช้งานเป็นวิศวกรออกแบบชิ้นงานเครื่องที่เลือกใช้ก็ต้องเป็นเครื่องที่ทำความร้อนได้สูงเพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานวัสดุเกรดอุตสาหกรรมได้ หรือหากผู้ใช้งานเป็นคนทั่วไปใช้พิมพ์งานทั่วๆไปก็สามารถเลือกได้หลากหลายตามงบประมาณ เป็นต้น

3.ประเภทหรือลักษณะงานที่ต้องการใช้

เครื่องพิมพ์สามิติทุกเครื่องนั้นสาารถพิมพ์ชิ้นงานได้หลากหลายและเกือบทุกรูปทรง ฉะนั้นให้ดูการนำชิ้นงานไปใช้เป็นหลักครับ เช่น หากทำชุดแจ่งรถมอเตอร์ไซค์ วัสดุที่ใช้งานส่วนก็จะเป็นABSหรืออาจจะเป็นPC ดังนั้นก็จำเป็นต้องเลือกเครื่องที่สามารถมพิมพ์วัสดุชนิดดังกล่าวได้ แต่หากใช้งานทั่วไป พิมพ์งานเล่นๆก็จะจะดูเพียงแค่งบประมาณก็เพียงพอแล้ว
แต่งานบางประเภทไม่สามาถพิมพ์ได้ด้วยระบบนี้ก็อาจจะต้องใช้เป็นระบบSLA หรือระบบอื่นๆแทน เช่น งานFigureขนาดเล็ก ความละเอียดสูงๆ หรืองานระบบJewely และงานที่มีความบางสูงมากๆ
SLA 3D Printer คืออะไร?

4.ขนาดการพิมพ์

การเลือกขนาดงานพิมพ์นั้นจะต้องสังเกตุจากงานที่เราต้องการพิมพ์เป็นหลักและแน่นอนว่าควรเลือกเครื่องให้ขนาดใหญ่เผื่องานในอนาคต แต่ก็ไม่ควรเลือกเครื่องใหญ่มากนักเพราะยิ่งเครื่องใหญ่ราคาเครื่องก็จะยิ่งสูงตาม อีกทั้งยังส่งผลต่อการใช้งานที่มีความยากมากขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นให้ดูว่างานชิ้นใหญ่สุดที่เราคิดว่าจะพิมพ์มันนั้นมีขนาดให็สุดเท่าไหร่และอาจจะเซื้อเครื่องเผื่อไวอีกซักหน่อย เช่น หากชิ้นงานที่ใช้มีขนาดใหญ่สุดประมาณ16-18เซนติเมตร เราอาจจะดูเปื่นเครื่องขนาดประมาณ20-22เซนติเมตรไว้ใช้งาน

สรุป

FDM 3D Printer นั้นเป็นเครื่องพิมพ์สามมิติที่เหมาะกับการใช้งานที่หลากหลายเป็นอย่างมากและด้วยเครื่องพิมพ์สมัยนี้นั้นราคาถูกลงกว่าในอดีตมามากซึ่งเป็นผลจากการแข่งขันเทคโนโลยรีและสงครามราคาแต่ผลประโยชน์นั้นจะตกอยู่กับผู้บริโภคที่สามารถมีเครื่องพิมพ์สามมิติไว้ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย และในสมัยนี้สถาบันการศึกษาหลายที่ได้ทำการบบรจุเครื่องพิมพ์สามิติลงในหลักสูตรและเพิ่มวิชาใหม่ที่ให้นักเรียนได้รู้จักการออกแบบและใช้งานเครื่องพิพมืสามมมิติกันมากขึ้น บวกกับวัสดุการพิมพ์ที่ใช้กับเครื่องพิมพืระบบนี้นั้นก็มีให้เลือกหลากหลายชนิดและหลากหลายสีที่ทำให้รองรับการใช้งานทั้งงานทั่วไป งานประดิษฐ์เล็กน้อยไปจนถึงอุตสาหกรรมหนักทั้งหลาย ซึ่งเครื่องพิมพ์สามมิติเองนั้นก็เป็นตัวเร่งนวัตกรรมที่กำลังเกิดได้เป็นอย่างดีเพราะการผลิตงานต้นแบบที่ถูกลงและรวดเร็วขึ้นมาก

แนะนำเว็บโหลดโมเดลฟรี

สำหรับผู้เริ่มต้นใช้งานยังไม่มีไฟล์สามมิติเป้นของตัวเองวันนี้เรามีเว็บโหลดไฟล์ฟรีมาแนะนำทุกคนกันครับ

Thingiverse

เว็บโหลดไฟล์ฟรียอดนิมตั้งแต่ยุคแรกๆของการใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติที่สร้างโดยMakerbot ผู้ผลิตเครื่องพิมพืสามมิติชื่อดังของประเทศสหรัฐอเมริกา(ปัจจุบันควบรวมกับ Ultimaker) จุดเด่นของเว็บนี้คือ เป็นเว็บแรกๆที่ผู้ใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติใช้งานกันทำให้จำนวนไฟล์ที่ถูกอัพโหลดและมีการปรับปรุงนั้นมีอยู่จำนวนมาก จึงเหมาะกับการหาไฟล์เริ่มต้นมาใช้งานครับ

ทดลองใช้งาน Thingiverse

Printables

Printables สร้างขึ้นโดย Prusa Research จากสาธารณเช็ก โดยพื้นฐานถูกสร้างมาเพื่อซัพพอร์ตผู้ใช้งานเครื่องพิมพ์ของPrusaเป็นหลัก แต่ด้วยUIที่สวยงามทำให้ผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก อีกทั้งจุดเด่นยังเป็น3D Viewerที่ใช้งานง่ายและดูได้ทุกไฟล์ที่ดาวน์โหลด และยังมีการจัดคอนเทนต์ไฟล์ใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา

ทดลองใช้งาน Printables

Makerworld

เว็บน้องใหม่มาแรงจาก Bambulab ประเทศจีน จุดประสงค์คล้ายกับPrintablesที่ทำเพื่อซัพพอร์ดลูกค้าที่ใช้งานเครื่องBambulabเป็นหลัก แต่จุดเด่นของเว็บนี้คือ เราจะเจอไฟล์แปลกๆที่มีความซับซ้อนอยู่มากทำให้หาไฟล์มาพิมพ์ได้ไม่เบื่อกันเลยทีเดียว แต่จุดอ่อนคือ ผู้Uploadสามารถเลือกได้ว่าจะอัพไฟล์STLขึ้นไปหรือไม่ ทำมห้หลายไฟล์ไม่สามารถพิมพ์เครื่องได้โดยตรง ทำให้ต้องวุ่นวายกับการแปลงไฟล์ไปมาพอสมควร

ทดลองใช้งาน Makerworld

เครื่องพิมพ์สามมิติเน้นใช้งานทั่วไป

เครื่องพิมพ์สามมิติเน้นใช้งานในอุตสหกรรม

วัสดุการพิมพ์สามมิติเน้นใช้งานทั่วไป

วัสดุการพิมพ์รองรับระดับอุตสาหกรรม