Spoiler ส่วนเสริมหล่อให้รถดูซิ่งขึ้น ขนาด 1:1 ก้อนนำไปหุ้ม Carbon

Spoiler ส่วนเสริมหล่อให้รถดูซิ่งขึ้น ขนาด 1:1 ก้อนนำไปหุ้ม Carbon

เมื่อว่าด้วยงาน Prototype ตัวอย่าง หรือกระทั่งงานที่ใช้ 3D Model ในการช่วยขึ้นรูป อย่างการทำโมลด์หรือการทำต้นแบบสำหรับอัด Fiberglass หรือหุ้ม Carbon เพื่อนำไปใช้งานจริง และเครื่องที่มีขนาดเล็กเกินไป อาจทำให้การสร้างโมเดลใช้เวลามากขึ้น และมีโอกาสเสียหายได้เยอะกว่า หากใช้เครื่องพิมพ์ 3มิติที่มีขนาดใหญ่ เป็นระดับอุตสาหกรรม และอีกอย่างที่มีไม่เหมือนกันคือความแข็งแรงของเรซิ่นโมเดล ซึ่งเครื่องเล็กทั่วไปที่ใช้งาน ส่วนใหญ่จะเปราะบางกว่ามาก ซึ้งอาจจะไม่เหมาะกับงานอัด หรือหุ้มนั่นเอง

RAY SLA 3D Printer Industrai Grade
เครื่องพิมพ์ระดับอุตสาหกรรม SLA (Stereolithography) เครื่องระบบนี้จะมีวัสดุตั้งต้นเป็นน้ำเรซิ่นไวแสง ขึ้นรูปด้วยแสงเลเซอร์ งานที่ออกมามีคุณภาพผิวสวยเก็บรายละเอียดได้ดีที่สุด เนื้อจากสารตั้งต้นเป็นของเหลวและจุดเลเซอร์นั้นเล็กมาก ทำให้สามารถสร้างชิ้นงานที่ซับซ้อนและรายละเอียดสูงๆได้

 

พิมพ์ 3 มิติระบบเรซิ่น ขนาดใหญ่ Ray SLA ถึง 600mm ถึง 2700mm

จุดเด่นคือชิ้นงานสวยที่สุดใน 3D Printer ทุกระบบ อีกทั้งสามารถพิมพ์ได้ใหญ่ ตั้งแต่ 600mm-2700mm ขึ้นกับรุ่นที่เลือก สามารถนำเครื่องไปพิมพ์ชิ้นงานตัวอย่าง หรือ Prototype  นอกจากนี้ สินค้าภายใต้ Ray ควบคุมการผลิตโดย 3DD แบรนด์คนไทยที่ได้รับความไว้วางใจจากองค์กร บริษัทต่างๆ ทั่วประเทศ สินค้าพร้อมสอนการใช้งานจนเป็น

หลังจากพิมพ์เสร็จ ตัวเครื่องจะยกโมเดลขึ้นมา เนื่องจาก RAY SLA เป็นระบบ Top Down SLA ยิงแสงเลเซอร์จากด้านบน ให้วัสดุแข็งตัว และจุ่มชิ้นงานลงด้านล่าง เมื่อเสร็จจะดันขึ้น และจากนั้นสามารถแกะชิ้นงานออกมาได้เลย

การแกะชิ้นงานออกจากฐานพิมพ์

การแกะซัพพอร์ทออกจากฐานพิมพ์ทำได้โดยง่ายดาย จากซัพพอร์ทที่ถูกออกแบบมาอยู่แล้วของเครื่องที่มีความบาง และง่าย เนื่องจาก RAY SLA 600 เป็นระบบ SLA Top Down ที่ซัพพอร์ทมีหน้าที่ดันหรือดึงโมเดลขึ้นลง ไม่ต้องรับน้ำหนักเหมือนระบบ Bottom Up SLA ที่ทำหน้าที่ดึงฐานขึ้นลง เพื่อฉายแสง

เป่าชิ้นงานด้วยปั้มลมก่อนนำเข้าอบ UV

ในขั้นตอนการล้าง เราจะนำโมเดลเข้าสู่เครื่อง Ultra Sonic เพื่อทำการสั่นและล้าง หลังจากนั้นเราจะนำแปรงมาเพื่อขัดล้างอีกครั้ง  ต่อไปให้ทำการเป่าชิ้นงานด้วยปั้มลม วิธีการนี้สามารถดัดแปลงใช้กับเครื่องเล็กได้เช่นกัน เพราะงานโปรดักส์ชั่นไม่สามารถตากลม หรือตากแดดให้งานแห้งเองได้ในบางครั้ง จำเป็นต้องทำการเร่งเวลาโดยใช้เครื่องทุ่นแรง

ขั้นตอนการใช้งานเครื่อง UV Industral grade ขนาดใหญ่

ขั้นตอนการประกอบโมเดล แนะนำให้ใช้กระดาษทรายทำการขัดและถูบริเวณที่ต้องการ และย้ำในส่วนของข้อต่อ เพื่อให้เวลาติดกาวจะได้มีพื้นที่ยึดได้ดีกว่า และทำให้เราขจัดส่วนที่มีคราบของเรซิ่นที่ล้างไม่หมดอีกด้วย เพราะเรซิ่นเจอกาว ต่อให้กาวติดแน่นหรือดีแค่ไหน ก็จะทำให้กาวเสื่อมสะภาพได้ สำหรับช่างที่จะนำไปหุ้ม Carbon หรืออัดไฟเบอร์กลาสส่วนใหญ่จะอันและหุ้มกันในขั้นตอนนี้เลย แต่เราจะทำเป็น Prototype เลยไม่ได้หุ้ม

ทดสอบการวางจริงบนรถที่จะนำไปทำจริง
ทดสอบวางบนรถจริง ซึ่งปกติแล้วรุ่นนี้จะไม่มีมาให้