เริ่มต้นการพิมพ์สามมิติ
พร้อมที่จะเริ่มเข้าสู่การปฏิวัติอุตสาหกรรมกันอีกครั้งแล้วใช่ไหมครับ มาดูกันว่าเราจะดึงไอเดียที่เรามีในสมอง ให้กลายมาเป็นวัตถุที่จับต้องได้อย่างไร ก่อนอื่นเราก็ต้องมีแบบที่พร้อมจะพิมพ์ จากนั้นเราก็ต้องมีเครื่องพิมพ์สามมิติ หรือจะไปใช้บริการจากผู้ให้บริการพิมพ์งานสามมิติก็ได้ เพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจ เราจะอธิบายเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้
เราจะได้ไฟล์งานสามมิติมาจากไหน?
เริ่มกันจากพื้นฐานกันเลย ในการพิมพ์สามมิติ ก่อนอื่นจะต้องมีโมเดลเป็นไฟล์สามมิติเสียก่อน ซึ่งหมายถึงไฟล์ที่ประกอบด้วยข้อมูลตัวเลขที่ระบุขนาดของวัตถุทั้งสามมิติ คือกว้าง ยาว ลึก(หรือสูง) โมเดลสามมิติถูกสร้างขึ้นมาจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ประเภท computer-aided design หรือ CAD มีโปรแกรมประเภทนี้อยู่มากมาย ที่ช่วยให้การออกแบบง่ายขึ้นในคอมพิวเตอร์ แทปเล็ต หรือแม้แต่สมาร์ทโฟน
จากจุดนี้ คุณมีสามทางเลือกที่จะได้ไฟล์สามมิติเพื่อการพิมพ์ คือเขียนแบบขึ้นมาด้วยตัวเอง จ้าง/ใช้บริการของคนอื่น และมองหาแบบที่มีคนเขียนอยู่แล้วนับหมื่นๆ แบบในอินเตอร์เน็ต
สร้างแบบโดยเขียนขึ้นมาเอง
เมื่อคุณมีไอเดีย และต้องการออกแบบมัน เราได้รวบรวมโปรแกรมออกแบบที่เป็นที่นิยมมาให้คุณได้เลือกใช้ดังนี้
TinkerCAD ใช้ง่าย เป็น App ที่ทำงาน online เหมาะสำหรับการเริ่มต้น
เหมาะกับ: ผู้เริ่มต้น
ระบบปฏิบัติการ: Online
ราคา: ฟรี
123D Design มีประสิทธิภาพสูง แต่ใช้งานง่าย พร้อมกับเครื่องมือในการแก้ไข และรองรับการสั่งพิมพ์ด้วย
เหมาะกับ: ผู้เริ่มต้น / ผู้ใช้ระดับกลาง
ระบบปฏิบัติการ: Windows, Mac, iOS
ราคา: ฟรี
SketchUp ใช้งานง่าย มีเครื่องมือในการเขียนแบบด้านสถาปัตยกรรม ออกแบบตกแต่งภายใน และวิศวกรรม
เหมาะกับ: ผู้เริ่มต้น / ผู้ใช้ระดับกลาง
ระบบปฏิบัติการ: Windows, Mac
ราคา: ฟรี / มีค่าใช้จ่าย
Autodesk Fusion 360 ใช้ออกแบบผลิตภัณฑ์ ทดสอบ และการประกอบชิ้นส่วน เป็นเครื่องมือคลาวด์เบสที่รวมระหว่างการออกแบบ 3มิติด้านอุตสาหกรรมและเครื่องจักรกลไว้ในแพลตฟอร์มเดียว
เหมาะกับ: ผู้ใช้ระดับกลาง / ผู้ใช้ระดับสูง
ระบบปฏิบัติการ: Online
ราคา: ฟรี 30 วัน / มีค่าใช้จ่ายรายเดือน-รายปี
Blender โปรแกรมฟรี และเป็น Open-source สำหรับงานภาพเคลื่อนไหว เทคนิคพิเศษ และงานศิลปะ
เหมาะกับ: ผู้ใช้ระดับสูง
ระบบปฏิบัติการ: Windows, Mac, Linux
ราคา: ฟรี
Rhinoceros 3D ใช้งานได้อเนกประสงค์ เช่น รูปทรงอิสระในงานวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และออกแบบเครื่องประดับ
เหมาะกับ: ผู้ใช้ระดับกลาง / ผู้ใช้ระดับสูง
ระบบปฏิบัติการ: Windows, Mac
ราคา: มีค่าใช้จ่าย
ZBrush โปรแกรมปั้นวัตถุแบบดิจิตอลระดับมืออาชีพ นำเอา 3D/2.5D มาผสมผสานกัน พร้อมด้วยเครื่องมือทำพื้นผิว และระบายสี
เหมาะกับ: ผู้ใช้ระดับกลาง / ผู้ใช้ระดับสูง
ระบบปฏิบัติการ: Windows, Mac
ราคา: มีค่าใช้จ่าย
3DS Max โปรแกรมสร้างวัตถุสามมิติระดับมืออาชีพ รวมทั้งงานภาพเคลื่อนไหว การให้แสงเงา
เหมาะกับ: ผู้ใช้ระดับสูง
ระบบปฏิบัติการ: Windows
ราคา: มีค่าใช้จ่าย
Maya มีเครื่องมือที่สมบูรณ์แบบในการสร้างวัตถุสามมิติ วิดีโอเกมส์ ภาพเคลื่อนไหว และเทคนิคการทำภาพพิเศษ
เหมาะกับ: ผู้ใช้ระดับสูง
ระบบปฏิบัติการ: Windows, Mac
ราคา: มีค่าใช้จ่าย
Onshape โปรแกรมคลาวด์เบสที่ผสมผสานเครื่องมือสำหรับมือาชีพ ในการสร้างเครื่องมือ การประกอบชิ้นส่วน และการวาด
เหมาะกับ: ผู้ใช้ระดับสูง
ระบบปฏิบัติการ: Online
ราคา: ฟรี / มีค่าใช้จ่าย
Solidworks โปรแกรม CAD ระดับมืออาชีพ มีวิศวกรใช้งานมากกว่า 2 ล้านคนทั่วโลก
เหมาะกับ: ผู้ใช้ระดับสูง
ระบบปฏิบัติการ: Windows
ราคา: มีค่าใช้จ่าย
AutoCAD เป็นซอฟแวร์ระดับเรือธงของบ. Autodesk ในด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม การจัดการโครงการ การออกแบบกราฟิก และอื่นๆ
เหมาะกับ: ผู้ใช้ระดับสูง
ระบบปฏิบัติการ: Windows, Mac, iOS, Android
ราคา: มีค่าใช้จ่าย
Autodesk Inventor ใช้ออกแบบ และแสดงผลต้นแบบสามมิติ และภาพจำลองสินค้า
เหมาะกับ: ผู้ใช้ระดับสูง
ระบบปฏิบัติการ: Windows
ราคา: มีค่าใช้จ่าย
หาคนที่รับออกแบบให้
คุณมีเพื่อน หรือผู้ร่วมงานที่เขียนแบบ ออกแบบโดยใช้โปรแกรม CAD ได้บ้างหรือเปล่า? หรือมีคนที่มีบริการรับเขียนแบบสามมิติในพื้นที่ใกล้ๆ บ้างไหม ก้าวแรกของการสร้างงานสามมิติคือการให้ใครสักคนเข้ามาช่วยให้งานเริ่มดำเนินไปได้
ถ้ายังไม่มี หรือหาไม่ได้ ไม่ต้องกังวล เพราะมีชุมชนคนที่มีฝีมือในการออกแบบ และคำนวณ ให้บริการอยู่ เช่น Shapeways, All3DP.com, Sculpteo, i.Materialise, 3D Hubs, เป็นต้น สำหรับในเมืองไทยก็มีผู้ที่รับทำอยู่เช่นกัน Octoprint, Rabbit Prototype, AppliCAD,
หาแบบสำเร็จรูปในอินเตอร์เน็ต
หากคุณยังไม่มีไฟล์สามมิติที่พร้อมจะพิมพ์ หรือต้องการทดลองเครื่องพิมพ์เท่านั้น คุณสามารถค้นหาไฟล์ประเภทนี้ได้โดยไม่ยาก มีคนมาโหลดไว้ให้เรานำไปใช้ได้เลย นี่คือตัวอย่างงานที่คนนิยมโหลดไปพิมพ์กัน
Sleeve Case for Raspberry PI B+
จะซื้อเครื่องพิมพ์สามมิติ หรือจะจ้างเขาพิมพ์ดีล่ะ?
เมื่อคุณมีไฟล์สามมิติพร้อมสำหรับพิมพ์แล้ว ต่อไปก็ถึงเวลาที่จะพิมพ์กันละ ถึงตอนนี้คุณมีสองทางเลือกคือ ซื้อเครื่องพิมพ์เป็นของตัวเอง หรือจ้างคนอื่นให้พิมพ์ให้ เราได้ทำตารางเปรียบเทียบเพื่อช่วยในการตัดสินใจให้แล้ว
ซื้อเครื่องเป็นของตัวเอง | ใช้บริการจากภายนอก |
พิมพ์งานบ่อยๆ (2 ชิ้นหรือมากกว่าต่อสัปดาห์) | ยังใหม่กับเรื่องการพิมพ์สามมิติ ยังไม่แน่ใจว่าจะพิมพ์มากน้อยแค่ไหน |
มีโครงงานที่แน่นอนว่าจะใช้เครื่องพิมพ์ไปทำอะไร | คุณต้องการพิมพ์ด้วยเครื่องหลายๆ ระบบ หลายๆ วัสดุ |
มีเงินพร้อมจะลงทุน | อยากใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดก่อนใคร |
คุณรักที่จะเล่นปรับแต่งซ่อมสร้างสิ่งของ | คุณต้องทำงานให้เสร็จตามเวลา และได้งานที่สมบูรณ์แบบ |
คุณมีที่ทางพอที่จะวางเครื่องพิมพ์ | คุณอยากจะทดลองพิมพ์ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ |
ตอนหน้าจะเป็นบทสรุป และ tips & technics ติดตามกันให้ได้นะครับ