เพิ่ม Logo บนโมเดลของตัวเองได้ง่ายๆจาก Flashprint

เพิ่ม Logo บนโมเดลของตัวเองได้ง่ายๆจาก Flashprint

การปั้นหรือการสแกนโมเดลขึ้นมา บางครั้งต้องการที่จะใส่ลายเซ็นต์ของตัวเองเข้าไปหรือเพิ่ม Logo ของตัวเองเข้าไป
เชื่อว่าหลายๆคนอาจจะเลือกใช้วิธี การใช้บรัชในโปรแกรมทำลวดลายขึ้นมาหรือลากวาดด้วยมือ ซึ่งการทำเช่นนั้นถ้าไม่เอาก้อนโมเดลเข้ามาช่วย
ก็อาจจะต้องขุดโมเดล หรือทำนูนขึ้นมา ซึ่งจะทำให้บริเวณโดยรอบของโมเดลเกิดความเสียหายขึ้นได้ หรืออาจจะเสียเวลาในการทำมากขึ้น

วันนี้พวกเรา 3DD ได้นำไอเดีย ทริกเล็กๆมาบอกต่อ (ต้องทำในโมเดลของตัวเองเท่านั้น เนื่องจากการนำโมเดลของคนอื่นมาทำต่ออาจจะผิดกฏหมายได้)
เริ่มต้นโดยการนำโมเดลของเราเข้าสู่โปรแกรม Slicer Flashprint ซึ่งเป็น Slicer จากทาง Flashforge ที่ออกแบบมาใช้กับเครื่องพิมพ์ 3มิติ FDM
ซึ่งเราจะทำการติด Logo ในโปรแกรมนี้เพื่อนำไปพิมพ์ใน SLA หรือ FlashDLPrint

หน้าต่าง Convert Image to STL เปลี่ยนจากภาพเป็นโมเดล STL

หลังจากนำโมเดลเข้าสู่ Slcer แล้วให้เรานำไฟล์ .Png ภาพที่เราต้องการลากใส่โปรแกรม และจะขึ้นหน้าต่างตั้งค่า Convert Image to STL
เป็นการตั้งค่าความหนา และขนาดที่เราต้องการต่างๆของ ภาพ PNG ซึ่งสามารถเลือกรูปแบบต่างๆได้ หรือเรียกอีกอย่างว่าการทำ lithophane นั่นเอง

ตั้งค่าขนาด

และจากนั้นทำการตั้งค่าขนาดการ Rotate ให้ตรงกับโมเดลของเรา และจากนั้นลากให้ชิดติดกับโมเดล เพื่อให้เป็นเนื้อเดียวกัน

กด Save As เป็นไฟล์ .STL

หลังจากนั้นกด Save As เป็นไฟล์ STL และต่อไปจะทำการเปิดโปรแกรม FlashDLPrint ขึ้นมา เพื่อทำการตั้งค่า Slicer อีกครั้งก่อนทำการสั่งพิมพ์บน Foto 8.9
เป็นเครื่องระบบ SLA ที่คุณภาพสูง และใช้งานง่ายจากทางค่าย Flashforge โดยมีขนาดการพิมพ์อยู่ที่192*120*200mm การพิมพ์ระดับ 4K

FlashDLPrint Slicer For Flashforge

การตั้งค่าเริ่มโดยการนำโมเดลเข้าสู่โปรแกรม FlashDLPrint

Extract Shell เพื่อทำกรวงด้านใน

ไปที่ Menu Edit และไปที่ Extract Shell เพื่อทำให้โมเดลเป็นแบบ กรวงเพื่อประหยัดเรซิ่น ลดต้นทุนได้เยอะมากๆ หลังจากกดไปแล้วจะมีหน้าต่างให้เราตั้งค่าความหนาของผนังโมเดล
ครั้งนี้พวกเราได้ตั้งไว้ที่ 1.5mm และ Precision 0.20mm และกดที่ OKหลังจากนั้นลองกด Slice ดูที่ด้านข้างถ้าด้านในกรวงแล้วเป็นอันใช้ได้

Leading Hole เจาะรูบนโมเดล

หลังจากที่เราทำกรวงเสร็จแล้ว เราจะต้องการรูเพื่อให้เรซิ่นไหลออกมาด้านนอกได้อีกด้วย
ไม่เช่นนั้นจะเกิดอาการที่เรียกว่า Cup เป็นอาการที่เรซิ่นขังอยู่ด้านใน ทำให้ตัวงานหลุดจากฐานพิมพ์ได้ง่ายๆ ซึ่งจะมีหน้าต่างที่ชื่อว่า Hole Option ขึ้นมา
เป็นการตั้งค่าขนาดรูที่ต้องการเจาะ และความลึก ซึ่งในส่วนแรกจะตั้งค่าเพื่อเจาะรูด้านข้าง และตั้งค่าให้ใหญ่ขึ้นลึกขึ้นเพื่อเจาะรู สำหรับห้อยพวงกุญแจได้
เนื่องจากฟันนี้เราจะทำเพื่อไปแจกในงาน Event ที่ผ่านมาของเรานั่นเอง

Split Hole เจาะรูเพื่อให้น้ำเรซิ่นไหลได้

หลังทำการเจาะรูเสร็จแล้วให้เราเลือกที่ Split Hole ที่ด้านบนเพื่อทำการยืนยันการเจาะรู และลบในส่วนที่ไม่ต้องการออก เสร็จแล้วให้จัดการวางให้เรียบร้อยและเลือก Auto Support
สั่งพิมพ์ได้เลย โมเดลนี้ปกติใช้เวลาในการพิมพ์ ประมาณ2-3 ชั่วโมง แต่เนื่องจากเราทำการพิมพ์หลายชิ้นทำให้การพิมพ์เพิ่มขึ้นเกือบ 12 ชั่วโมง เรซิ่นที่เราเลือกใช้วันนี้เป็น Resin Standard ของ Flashforge ขึ้นรูปง่าย ใช้งานง่าย