รวมคำศัพท์ที่ต้องรู้เกี่ยวกับ FDM 3D PRINTER

รวมคำศัพท์ที่ต้องรู้เกี่ยวกับ FDM 3D PRINTER

สวัสดีครับทางเรา 3DD Digital Fabrication วันนี้ขอนำเสนอ คำศัพท์ต่างๆ ที่ควรรู้ไว้เกี่ยวกับ 3D PRINTER เนื่องจากที่เราเป็นผู้ขาย และผู้ให้บริการครบวงจรมานาน จึงอยากมาเผยแพร่ความรู้ ที่ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่ หรือ มืออาชีพนั้น ที่รู้ๆกันอยู่แล้ว หรืออาจจะไม่รู้เลย เพื่อให้เวลาที่เราไปคุยกับผู้ที่ใช้เป็นหรือแม้กระทั่งศัพท์เทคนิคต่างๆ ที่รู้แล้วจะสามารถใช้งานได้แบบ Expert กันเลยทีเดียว วันนี้จึงขอมานำเสนอเรื่อง “รวมคำศัพท์ที่ต้องรู้เกี่ยวกับ 3D PRINTER”

ขอเกริ่นนำก่อนเลยครับว่า บทความนี้ทางเราจะเน้นไปทาง FDM 3D PRINTER หรือเราเรียกกันง่ายๆคือ เครื่องพิมพ์ 3 มิติ ระบบเส้นพลาสติกนั้นแหละครับ ระบบนี้จะแตกต่างกันกับ SLA 3D PRINTER ที่เป็นเครื่องพิมพ์ 3 มิติ ระบบเรซิ่น ซึ่งโปรแกรมที่จะใช้อธิบายในวันนี้นั้น คือโปรแกรม FLASHPRINT เป็นโปรแกรมที่ SUPPORT ของเครื่อง FLASHFORGE ทุกรุ่นครับ แต่ไม่ต้องเป็นห่วงครับโปรแกรม Slicer  เกือบทุกตัวจะมีศัพท์ที่ใกล้เคียงกันและในวันนี้ที่ยก FLASHPRINT มานั้นเพราะว่าเป็นโปรแกรมที่เข้าใจง่าย ในข้อมูลเชิงลึกต่างๆ ในการอธิบายครั้งนี้จะยกหัวข้อที่เป็น TOPICS เด่นๆ ที่รู้ไว้เก่งแน่นอนครับ ผู้ที่มีเครื่องหรือคิดว่ากำลังอยากจะมีเครื่องควรดูมาเริ่มกันเลยครับ

 

SLICER PROGRAM : คือโปรแกรมที่ใช้คู่กับเครื่อง FDM 3D Printer ทุกรุ่นต้องมีในที่นี้ SLICER PROGRAM ไม่จำเป็นต้องชื่อ FLASHPRINT แต่อาจจะเป็นชื่อโปรแกรมอื่นๆ ที่ผู้พัฒนาเครื่อง 3D PRINTER ของรุ่นนั้นๆ สร้างขึ้นมาใช้ในการแปลง 3D Files ให้กับเครื่อง 3D PRINTER สามารถอ่านค่าและขึ้นรูป 3 มิติ ได้

7 Updates of FlashPrint5 Slicer: Detailed Introduction Coming!

3D File : คำศัพท์ง่ายๆ ที่รู้กันคือ ไฟล์งาน 3D ที่ใช้กับโปรแกรม Slicer สำหรับ FDM จะรู้กันอยู่แล้วว่า 3D File นั้นคือไฟล์นามสกุล .STL หรือ .OBJ ไฟล์นี้จะใช้เพื่อทำการแปลงโดย Slicer Program ให้เครื่อง 3D Printer ของเรานั้นรู้จักและสามารถขึ้นรูปพิมพ์ 3 มิติได้

 

Layer Height : ค่าความละเอียดของชิ้นงานในแนวแกนดิ่ง หรือ แกน (Z) นั้นเอง ในส่วนนี้จะแสดงให้เห็นถึงความละเอียดของชิ้นงานในรูปแบบต่างๆ โดยหน่วยที่ใช้เรียกกันจะเป็นหน่วยที่ชื่อว่า Micron โดยส่วนใหญ่แล้ว FDM 3D Printer จะมีค่าความละเอียดสูงสุดอยู่ที่ 50 Micron และหยาบสุดอยู่ที่ 400 Micron และผู้ใช้งานสามารถที่จะตั้งค่าเพื่อให้ได้ความละเอียดที่ต้องการได้

11 Tips To Increase 3D Printing Speed & Save More Time - Two Trees

3d printing news - B3D-ONLINE 3D PRINTING MALAYSIA

Support : ส่วนของการค้ำชิ้นงานโดยรวมของระบบเครื่อง FDM 3D PRINTER นั้นจะทำการฉีดขึ้นรูป 3D Model ตั้งแต่ด้านล่างขึ้นไปด้านบน Support คือส่วนที่เอาไว้ค้ำชิ้นงานกรณีที่ ชิ้นงานนั้นเกิดการลอยตัวเหนือจากฐาน ตั้งแต่ 45 องศาเป็นต้นไป ในการค้ำชิ้นงานนี้โปรแกรมจะแจ้งเตือนให้เราใส่ Support เพราะว่าหากไม่ใส่จะทำให้ชิ้นงานนั้นเสียรูปทรง จนถึงขั้นงานเสียเลยก็เป็นได้

New Low-Cost Dynamically-Controlled Surface for 3D Printers Reduces Waste and Saves Time

3D Printing Supports: Types, Structure, How to Add & Remove

3D Printing Supports – The Ultimate Guide | All3DP

Linear Support : เป็นประเภทของ Support ที่มีรูปร่างเป็นเสาแบบตรง สามารถกำหนดขนาดของเสาได้ ซึ่ง Support ในรูปแบบนี้จะนิยมใช้กับงานที่มีรูปแบบ Mechanical Shape หรืองานทั่วไปเพราะว่าสามารถช่วยค้ำตัวชิ้นงานได้คงทน และมั่นคงปลอดภัยได้เลยว่า Support แบบนี้ช่วยค้ำงานของคุณไม่ให้ล้มได้ แต่ก็ยังมีข้อเสียตรงนี้ประเภทนี้จะใช้วัสดุในการขึ้นค่อนข้างเยอะเนื่องจากว่ามีความแข็งแรงสูง

Simplify 3D, 3D Printer news, 3d Printing news, Flashforge - FLASHFORGE

Treelike Support :เป็นประเภทของ Support ที่มีรูปร่างเป็นแบบ ต้นไม้เกาะตามตัวของชิ้นงาน สามารถกำหนดขนาดของต้นได้ ซึ่ง Support ในรูปแบบนี้จะนิยมใช้กับงานที่มีรูปแบบ Free Form Shape หรือรูปแบบงานโมเดลทั่วไป ที่ไม่ใช่สิ่งของ ยกตัวอย่างเช่น งานอาร์ตรูปคน สัตว์ ต่างๆนาๆ ประเภทนี้ความเสถียรจะน้อยกว่าแบบ Linear Support เพราะว่าจะโครงสร้างจะไม่มิดชิดเท่า แต่ข้อดีของประเภทนี้คือ ใช้วัสดุในการขึ้นค่อนข้างน้อย และแกะง่ายกว่า Linear Support

Top Solid Layer : ส่วนของการปิดผิวงานด้านบน สามารถกำหนดได้ว่าต้องการให้ผิวงานทุกส่วนที่เป็นด้านบน ย้ำนะครับว่าด้านบน ต้องการให้ปิดกี่รอบ สามารถใส่ค่าไปได้เลยส่วนใหญ่แล้ว มาตรฐานก็จะประมาณ 2 – 3 รอบถ้ามากกว่านั้นก็ทำได้ บางคนอาจจะต้องการให้ผิวด้านบนหนาๆ เพื่อให้ชิ้นงานมีความแข็งแรง

Bottom Solid Layer : ส่วนของการปิดผิวงานด้านล่าง สามารถกำหนดได้ว่าต้องการให้ผิวงานทุกส่วนที่เป็นด้านล่าง ย้ำนะครับว่าด้านล่าง ต้องการให้ปิดกี่รอบ สามารถใส่ค่าไปได้เลยส่วนใหญ่แล้ว มาตรฐานก็จะประมาณ 2 – 3 รอบถ้ามากกว่านั้นก็ทำได้ บางคนอาจจะต้องการให้ผิวด้านล่างหนาๆ เพื่อให้ชิ้นงานมีความแข็งแรง

Shells : ผนังของชิ้นงาน ส่วนนี้คือขอบผนังที่กินเข้าด้านในสามารถกำหนดได้ตามจำนวนที่ต้องการ โดยในนี้คือกำหนดแบบ 2 ชั้น หมายความว่าขนาดของหัวฉีด ที่ทำการฉีดเส้นออกมานั้นคือ 0.4 mm กำหนดแบบ 2 ชั้นจะได้ความหมายก็คือว่า 0.4 mm *2 ผนังของชิ้นงานนี้จะมีความหนาอยู่ที่ 0.8 mm นั้นเอง

Fill Density : ส่วนของความหนาแน่นภายในของชิ้นงาน สามารถกำหนดได้เป็น (% เปอร์เซ็น) ในส่วนนี้จะมีคนมักจะถามกันบ่อยหู ว่างานตันหรืองานกลวง ตอบได้เลยว่างานไม่ตันแต่งานนั้นจะมีเนื้อในที่เราสามารถกำหนดได้ว่ามีความหนาแน่นเท่าไหร่ ตั้งแต่ 0 – 100 % โดยที่ 0% นั้นจะเป็นงานกลวง และ 100% จะเป็นงานตัน ระหว่างนั้นจะเป็นเนื้อในที่ถูก Slicer Program คำนวณแล้วตามอัตราส่วนพื้นที่เหลือภายในของชิ้นงานนั้นๆ

Visual representation of different infill percentage (0, 5, 10, 20, 40,... | Download Scientific Diagram

 

Fill Pattern : ต่อมาก็เป็นส่วนของประเภทเนื้อในชิ้นงาน จากการอธิบายข้างต้นนั้น คือส่วนที่เรียกว่าความหนาแน่นภายในชิ้นงาน แต่ในส่วนนี้แล้วความหนาแน่นเป็นรูปแบบไหนล่ะ ส่วนนี้คือคำตอบครับ โดย Fill Pattern นั้นจะสามารถเลือกได้ภายในโปรแกรม Slicer File ของแต่ละโปรแกรมอาจจะมีไม่เท่ากัน แต่ในส่วนของ FlashPrint จะมีให้เลือก 4 รูปแบบคือ Line , Hexagon , Triangle , 3D Infill โดยรูปแบบนี้ขึ้นอยู่กับความชอบส่วนตัวของผู้ใช้งาน สามารถเลือกใช้ได้ตามใจชอบ

Infill Pattern Basics | Simplify3D - YouTube

What is Infill in the 3D Printing Settings ? - FLASHFORGE

Raft : คือส่วนของแผ่นรองพื้นชิ้นงานจะเรียกว่า Raft คือแผ่นที่เอาไว้ยึดเกาะชิ้นงานกับฐานพิมพ์ โดยการเลือกใช้นั้นจะเกิดจากว่าผู้ที่ต้องการขึ้นรูปนั้นพิจรณาแล้วว่า ส่วนของชิ้นงานที่ยึดเกาะกับฐานพิมพ์นั้นค่อนข้างน้อยและมีโอกาสสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดการล้มของชิ้นงาน จึงเลือกฟังก์ชั่นนี้ให้ชิ้นงานนั้นปลอดภัยระหว่างปริ้น จะสามารถช่วยได้

Brim : ส่วนนี้จะมีความหมายคล้ายๆกันกับ Raft จะว่าไปก็คือแผ่นที่เอาไว้ยึดเกาะชิ้นงานกับฐานพิมพ์เช่นกัน แต่ว่า Brim นั้นจะมีความบางกว่า Raft เยอะมากๆ หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องมี 2 คำสั่ง ซึ่งคำสั่ง Brim นั้นจะเป็นเพียงแค่แผ่นบางๆ กรณีที่ผู้ใช้พิจรณาแล้วว่า มีความเสี่ยงแต่ไม่มากแต่อาจจะเผื่อไว้หน่อย โดยที่ Brim นั้นจะเป็นเพียงแค่แผ่นบางๆ ที่แกะออกได้ง่ายกว่า Raft มาก

Build plate adhesion – Skrit, Brim, Raft - YouTube

Raft Vs Brim, What's The Difference?

 

 

ก็จบกันไปแล้วนะครับกับคำศัพท์ของ FDM 3D PRINTER ที่ควรรู้ก่อนใช้งานหรือผู้ที่มีเครื่องใช้แล้ว คำศัพท์พวกนี้จะมีโปรโยชน์ในการเลือกใช้ตามความต้องการของผู้ใช้โดยตรง และยังสามารถรับชมข้อมูลการใช้งานโปรแกรม FlashPrint ได้ตามลิงค์ที่แนบไว้ได้เลยนะครับ