วันนี้เราจะมาลองทำของใช้ง่ายๆด้วยโปรแกรม3Dง่ายๆและฟรีกันครับโดยจะเน้นการวาดแบบด่วนไม่ลงรายละเอียดมากนัก สิ่งที่แอดจะทำก็คือ ตัวจับPowerbankให้ยืดกับมือถือครับ ซึ่งแอดมีปัญหาพอสมควรในการใช้ฟังก์ชั่นWirelessของPowerbankรุ่นนี้พอสมควร หลักๆคือมันลื่นครับ ยังไม่ทันชาร์ตไหลอีกละ ก็เลยต้องหาอะไรมาจับซะหน่อย โปรแกรมที่เราใช้วันนี้จะเป็นsketchUp online เป็นโปรแกรมที่ให้เราใช้ฟรีแตละไม่จำเป็นต้องติดตั้ง เพียงแค่เปิดเว็บก็สามารถใช้งานได้เลย มันเหมาะกับเหล่าMakerมือใหม่แบบสุดๆๆๆ แต่หลายๆฟังก์ชั่นก็จำกัดไว้พอสมควร..เพราะเป็นของฟรีไงล่ะ😄😄😄 แต่ถึงอย่างนั้นเราต้องการแค่วาดไฟล์และพิมพ์ด้วย3D Printerของเราเอง ฟังก์ชั่นฟรีก็เพียงพอแล้วครับ ก่อนที่จะเริ่มใช้งานทั้งหมด ก็อย่าลืมไปเปลี่ยนหน่วยกันด้วยน้าาาา เพราะของเดิมจะเป็นหน่วยแบบimperialครับ(ฟุต/นิ้ว) การวาดไฟล์ด้วยSketchUpนั้นถือว่าง่ายมากๆ เพียงแค่ลากเส้น ใส่ความยาว ก็เรียบร้อย รูปร่างพื้นฐานแบบเรขาคณิตก็มีมาพอสมควร หากวาดจนครบรอบแล้วก็ใช้Extrudeดึงขึ้นและใส่นาดได้เลย
Author: YOK
อาการ Cupping บนเครื่องเรซิ่นคืออะไร แก้อย่างไร
อย่างที่ทราบกันดีว่าการพิมพ์งานด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติระบบเรซิ่นจะทำงานด้วยการจุ่มฐานลงไปในน้ำเรซิ่นและทำการฉายแสงเพื่อให้น้ำเรซิ่นแข็งติดกับฐานพิมพ์ จากนั้นก็ยกขึ้นจากน้ำยาและทำแบบเดิมซ้ำๆในชั้นถัดไป ซึ่งระหว่างที่แท่นพิมพ์นั้นยกขึ้นก็ทำให้เกิดแรงตึงอย่างหมาศาลบนแผ่นฟิล์มที่ถาดน้ำยาบางครั้งทำให้งานเสียหายระหว่างที่แท่นพิมพ์ยกขึ้น แรงดึงมหาศาลนี้ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า cupping Cupping blowout หรือ Suction Cups อาการCupping blowout หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า Cupping นั้นเกิดจากตัวงานที่วางอยู่ในลักษณะเหมือนถ้วยคว่ำซึ่งส่งผลทำให้อากาศภายในตัวงานไม่เกิดการไหลเวียนภายในตัวงานมีลักษณะคล้ายสุญญากาศ ส่งผลให้อากาศจากภายนอกพยายามเข้าไปด้านในชิ้นงานและกดตัวงานเอาไว้ทำให้การยกชิ้นงานขึ้นนั้นต้องใช้แรงจำนวนมาก ขณะเดียวกันด้านล่างของถาดน้ำยานั้นคือฟิล์มFEPที่มีความตึงสูงมาก และแน่นอนแรงตึงผิวระหว่างฟิล์มและชิ้นงานนั้นจะสูงมากเช่นกันก็จะส่งผลให้ต้องใช้แรงดึงชิ้นงานเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เครื่องพิมพ์ทุกเครื่องนั้นสามารถยกงานขึ้นมาได้แน่นอน แต่ปัญหาที่ตามมาคือชิ้นงานอาจจะแตกระหว่าที่ดึงงานขึ้นมา อาการcuppingนั้นจะเกิดบ่อยมากกับเครื่องพิมพ์ที่ทำงานแบบTop-down(ฐานพิมพ์อยู่ด้านบนและจุ่มลงไปในถาดน้ำยาดด้านล่าง) และเครื่องราคาเริ่มต้นจนถึงเครื่องระดับกลางนั้นจะใช้ระบบนี้กันเกือบทั้งหมด และยิ่งเครื่องยิ่งใหญ่มากก็จะทำให้ปัญหาCuppingเกิดมากขึ้นไปอีก จริงๆแล้วปัญหาCuppingนั้นเป็นปัญหาประจำตัวของเครื่องพิมพ์เรซิ่นแบบTop-downอยู่แล้วและทุกครั้งที่พิมพ์งานก็จะมีอาการนี้ทุกครั้งเพราะฐานพิมพ์จะจุ่มแนบกับฟิล์มในถาดน้ำยาอยู่แล้วและทำการดึงออกมา ซึ่งแน่นอนว่าเราหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับแต่เราทำให้ผลกระทบกับตัวงานนั้นน้อยลงได้
3d Printing กับเครื่องมือป้องกันภัยพิบัติ
University Corporation for Atmospheric Research (UCAR) อยู่เบื้องหลังโครงการที่เรียกว่า 3D-PAWS (3D Printed Automatic Weather Station) ซึ่งใช้3D Printing เพื่อออกแบบเครื่องมือและเครื่องมือเพื่อให้สามารถตรวจจับเหตุการณ์สภาพอากาศที่มีผลกระทบสูงได้ก่อนหน้านี้ ทีมงานกำลังนำเสนอความสำเร็จล่าสุดของพวกเขา เซ็นเซอร์อัลตราโซนิกรูปทรงกรวยที่ได้รับการคุ้มครองโดยเปลือกที่พิมพ์ 3 มิติ จะช่วยให้วัดได้ดียิ่งขึ้นไม่เพียงแค่กระแสน้ำและปริมาณหิมะเท่านั้น แต่ยังรวมถึงคลื่นพายุและความเชื่อมโยง เพื่อปกป้องประชากรในพื้นที่ที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดสภาพอากาศเลวร้ายได้ดียิ่งขึ้น 3D-PAWS เปิดตัวเมื่อ
สอนการใช้งาน Flashprint5 Expert mode
การใช้งาน Flashprint5 Expert mode การเข้าใช้งานExpertนั้นง่ายนิดเดียว เพียงแค่กดExpert modeเท่านั้นก็สามารถใช้งานได้ทันที ดาวน์โหลดFlashprint5 เครื่องพิมพ์Flashforge ระบบFDM ทุกรุ่นทั้งเก่าและใหม่สามารถใช้Flashprint5ได้นะ ก่อนปรับExpert mode ต้องรู้จักส่วนประกอบให้Expert หลังจากที่ทำการกดSlice previewแล้วจะมีการจำลองงานที่จะถูกพิมพ์ออกมาดังรูป โดยส่วนประกอบจะดูได้จากแถบสีด้านซ้าย – Infill – โครงสร้างด้านในมีหน้าที่รองรับผิวงานด้านบนไม่ให้ล้มและช่วยให้งานมีความแข็งแรง – Solid infill –
พิมพ์ล้อรถเข็นด้วย3D Printer จากวัสดุ ABS และ Elastic
รถเข็นขนของนั้นจะถูกใช้งานอย่างหนักและต่อเนื่องเพราะต้องขนของน้ำหนักมากๆและยังถูกใช้งานในหลากหลายพื้นที่ ทำให้ล้อของรถเข็นนั้นเกิดการสึกหรอลงตามการใช้งานเรื่อยเพราะล้อที่ใช้กับรถเข็นแบบพับนั้นเป็นล้อแบบโพลียูรีเทน ซึ่งเมื่อเกิดสึกหรือนั้นจะทำให้เจ้าตัวโพลีนั้นหลุดออกมาเรื่อยๆและเหลือเพียงล้อแข็งๆเท่านั้น วิธีการแก้ปัญหาของหลายๆคนคือ ใช้ล้อแบบแข็งๆไปเลยสิจะได้ไม่ต้องเปลี่ยน!!! ข้อดีของล้อแข็งคือทนทานทาน แต่แลกมาด้วยการใช้กับพื้นหลากหลายแบบไม่ได้ เพราะล้อแข็งจะเข็นยากและมาพร้อมกับเสียงที่ดัง พิมพ์เองใช้เอง การพิมพ์ล้อขึ้นมาใช้เองนั้นก็เป้นทางเลือกที่ดี เพราะด้วยการพิมพ์โดยใช้ FDM 3D Printer นั้นรองรับวัสดุการพิมพ์จำนวนมาก ทำให้สามารถเลือกคุณภาพวัสดุที่จะใช้ได้ด้วยตนเอง ใช้วัสดุอะไรดี?? การพิมพ์ในครั้งนี้เราได้ใช้วัสดุสองชนิดคือ ABS Pro และ Elastic(TPU95A) ในการเลือกวัสดุในการพิมพ์นั้นอาจจะเลือกวัสดุที่ดีขึ้นหากเครื่องของท่านสามารถพิมพ์ได้หลากหลาย เช่น ในส่วนของยางนั้นสามารถใช้วัสดุได้หลากหลายเนื่องจากวัสดุชนิดFlexibleนั้นมีให้เลือกหลายหลายความแข็ง(ที่นิยมมากๆจะเป็น85Aและ95A)
มือจับช่วยแรป ช่วยให้ปลอดภัยทำงานราบรื่นจาก3D Printing
วันนี้เรามีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกเล็กๆน้อยๆที่จะมาช่วยสายแรปห่อของใหญ่ๆกันครับ ปกติแล้วเจ้าชิ้นนี้จะมาด้วยกันกับม้วนเวลาเราซื้อม้วนแรปมา แต่แน่นอนว่าหายบ่อยมาก ความสำคัญของวงกลมๆนี้คือ เมื่อเราทำการแรปงานใหญ่ๆจะเจ็บมือมากๆเวลาที่ม้วนมันกลิ้งไปกลิ้งมา สามารถไปDownloadกันได้ที่ >>https://www.thingiverse.com/thing:5257431/files วิธีใช้นั้นก็ไม่ยากเลย เพียงแค่ปริ้นมาแล้วก็นำมาเสียบกับม้วนแรปได้เลย ขั้นแรกเราจะทำการออกแบบชิ้นงานออกมาก่อน โดยทางแอดมินจะใช้ Solid edge ในการออกแบบชิ้นงาน เมื่อได้ไฟล์STLมาแล้วเราจะทำการImportเข้าสู้โปรแกรมFlashprint โดยวันนี้เราจะใช้เครื่องFlashforge Adventurer3ในการพิมพ์ชิ้นงาน และเราจะพิมพ์ด้วยPLA Matte จะให้ผิวงานที่เนียนสวยเอามากๆเลย หลังจากได้ชิ้นงานมาแล้วก็นำมาใช้ได้ทันที งานชิ้นนี้เหมาะกับการพิมพ์ไว้หลายๆอันเพราะหายบ่อยแน่นอน5555555 เป็นคอนเทนต์เล็กน้อยๆที่จะมาแนะนำสำหรับคนที่เครื่องเริ่มไม่ค่อยได้ใช้งานแล้วอยากปริ้นอะไรซักอย่างนึงขึ้นมาเพื่อไม่ให้เครื่องว่าง อิอิ
นำไฟล์ 3D Scanner มาลองพิมพ์งานจริง โดยไม่ผ่านโปรแกรมใดๆ
เมื่อโลกVisualกำลังมาแรงตามกระแสMetaverse จึงเริ่มมีการทำสำเนาวัตถุในโลกจริงเข้าสู่โลกเสมือนกันมากขึ้นด้วยเครื่องมือสมัยใหม่มากมาย หนึ่งในนั้นคือการใช้งาน3D Scanner จุดเด่นของเครื่อง3D scannerก็คือ ใช้ง่าย มีความแม่นยำสูง ขนาดงานที่ได้ก็จะเป็น1:1 ทำให้สามารถนำไปใช้ในโลกเสมือนได้อย่าง่ายดาย อีกทั้งยังสามาถมาใช้งานกับ3D printerได้อีกด้วย วันนี้เราได้ลองทำการสแกนขนมครัวซองค์ด้วยการใช้เครื่อง Shining3D TranscanC เมื่อสแกนเสร็จแล้วก็นำไฟล์ที่ได้นั้นมาพิมพ์3มิติด้วย Flashforge Creator pro2 ขั้นแรกเราก็นำขนมไปวางไว้บนถาดหมุนเครื่องสแกนได้เลย จากนั้นก็ทำการปล่อยสแกนพร้อมกับโต๊ะหมุนโดยใช้โหมดWith turntableให้ก็ปล่อยให้เครื่องทำงานไปเรื่อยๆได้เลย ง่ายมาก!!!!!!!!!!! ถ้าเกิดว่าต้องการสแกนทั้งสองด้านก็พลิกอีกด้านสแกนได้เลย หลังจากสแกนเรียบร้อยแล้วก็จะได้งานตามภาพด้านล่างนี้เลย
ทำเครื่องดนตรีเล่นเองง่ายๆที่บ้านด้วย3D Printing
หลายๆท่านที่มีเครื่องพิมพ์สามมิติอยู่ที่บ้านแต่ช่วงนี้ไม่ค่อยได้ใช้ วันนี้เราจึงขอเสนอเครื่องดนตรีที่สามารถพิมพ์ได้ง่ายๆและใช้ได้จริงโดยเครื่องดนตรีที่เราเลือกวันนี้จะเป็นขลุ่ย อุปกรณ์ที่เลือกใช้วันนี้คือ เครื่องพิมพ์สามมิติ Flashforge Creator pro2 และใช้เส้นPLA Marble พิมพ์ออกมาแล้วจะดูเหมือนงานหินอ่อนเลยทีเดียว ซึ่งขลุ่ยอันนี้จะมีทั้งหมด4ชิ้นอยู่ในทรงสูงจะทำให้ใช้พื้นที่การพิมพ์ไม่มากทพให้ไม่ว่าเครื่องจะเล็กหรือใหญ่ก็พิมพ์ได้ในครั้งเดียว ไฟล์ขลุ่ยที่เราใช้สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ >> Click ขั้นแรกก็โยนไฟล์ที่เราอยากพิมพ์เข้ามา จากนั้นก็ทำให้ใส่ซัพพอร์ต จากนั้นก็สั่งพิมพ์ได้เลยโดยวัสดุที่ใช้เป็นPLAและไม่ต้องตั้งค่าอะไรเพิ่มเติม เมื่อเสร็จแล้วก็แกะมาประกอบได้เลย การประกอบจะเรียงตามรูปด้านล่างและสวมเข้าไปได้เลย หากใส่ยากให้เอากระดาษทรายถูๆที่บริเวณข้อต่อเล็กน้อยเพื่อให้สวมง่ายขึ้น เรียงชิ้นงานตามรูปนี้จากนั้นก็ทำการประได้เลย โดยให้รู้เรียงกันทุกอัน เริ่มอันไหนก่อนก็ได้ เมื่อเสร็จแล้วก็ทดลองเป่าได้เลย
ทำความรู้จักPolycarbonate(PC) วัสดุเกรดอุตสาหกรรมที่กำลังมาแรง
โพลีคาร์บอเนตรู้จักกันดีในชื่อย่อ PC เป็นวัสดุที่มีชื่อเสียงในวงการการพิมพ์ 3 มิติในด้านความทนทานต่อแรงกระแทกและมีความโปร่งใส เป็นเทอร์โมพลาสติกน้ำหนักเบาแต่แข็งแรง เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานระดับมืออาชีพที่หลากหลาย แต่การพิมพ์นั้นไม่ง่ายเหมือนกันPLA หรือ PETG เนื่องจากต้องใช้อุณหภูมิการหลอมเหลวที่ค่อนข้างสูง อย่างไรก็ตามการพิมพ์ด้วยโพลีคาร์บอเนตช่วยให้สามารถผลิตชิ้นส่วนที่ซับซ้อนและทนความร้อนได้ด้วยการใช้เครื่องพิมพ์สามมิติระบบ FDM ในแวดวงอุตสาหกรรมนั้นมีการใช้PCในการผลิตสิ่งต่างๆมากมายไม่ว่าจะเป็นการทำแว่นตา หมวกกันน็อก หรือแม้กระทั่งกระจกกันกระสุนพราะด้วย PCมีมูลค่าสูงจากอุตสาหกรรมการผลิตสารเติมแต่งในด้านความแข็งแกร่งและความโปร่งใส มีความหนาแน่นต่ำกว่ากระจกมาก ทำให้น่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับการออกแบบชิ้นส่วนออปติก ฉากป้องกัน หรือวัตถุตกแต่ง เส้นใยโพลีคาร์บอเนตสามารถทนต่ออุณหภูมิได้ตั้งแต่ -150°C ถึง 140°C
การใช้การพิมพ์ 3 มิติเพื่อผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่ทนความร้อนสำหรับมอเตอร์ไซค์
Andrea Pirazzini ผู้ก่อตั้ง Help3D ใช้เครื่องพิมพ์ Formlabs 3D เพื่อสร้างท่อร่วมไอดีสำหรับพิทไบค์ที่เขาขี่ในการแข่งขันชิงแชมป์ 12 Pollici Italian Cup เมื่อทีมของเขาปรับแต่งรถมอเตอร์ไซค์ พวกเขาพยายามให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อให้ได้เอาท์พุตกำลังเชิงเส้น Pirazzini ใช้การวิเคราะห์ของไหล-ไดนามิกกับการออกแบบการบิดท่อร่วมที่เป็นไปได้เพื่อจำกัดแรงม้าโดยไม่ต้องใช้หน้าแปลนลด ซึ่งอาจทำให้แรงดันตกคร่อมเฉพาะที่ Pirazzini หันมาใช้การพิมพ์ 3 มิติ เนื่องจากทำให้เขาสามารถพิมพ์ชิ้นส่วนเดียวกันได้หลายเวอร์ชันด้วยต้นทุนที่ต่ำ ทดสอบการออกแบบในวันถัดไป และได้เปรียบในสนามแข่ง Elia
แปลงรถบ้านให้เป็นรถพยาบาลด้วยEinscanHX
System Strobel เป็นผู้ผลิตรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่เชี่ยวชาญด้านรถพยาบาล การขนส่งผู้ป่วย และยานพาหนะฉุกเฉิน ผลิตภัณฑ์หลักของพวกเขาคือโครงสร้างตัวถังแบบดั้งเดิม รถตู้ดัดแปลงและรถเก๋ง แต่ยังรวมถึงยานพาหนะเอนกประสงค์อื่นๆ ด้วย ยานพาหนะทุกคัน ยกเว้นเครื่องยนต์และระบบส่งกำลัง รวมถึงเฟอร์นิเจอร์ได้รับการออกแบบและผลิตขึ้นเองด้วยมือ System Strobel กำลังส่งออกผลิตภัณฑ์ทั่วโลกไปยังหน่วยแพทย์ หน่วยงานบรรเทาทุกข์ หน่วยดับเพลิงและตำรวจ ส่วนหนึ่งของ DNA ของบริษัทคือการพึ่งพางานฝีมือแบบดั้งเดิมในเกือบทุกขั้นตอนการผลิต แต่การยึดมั่นในต้นกำเนิด นวัตกรรม และระบบดิจิทัลเป็นปัจจัยสำคัญของวิวัฒนาการ ดังนั้น เมื่อเร็วๆ
พิมพ์ครีบฉลามติดรถง่ายๆด้วย3D Scanner
วันนี้เรานำเคสการสแกนอย่างง่ายที่สแกนเสร็จแล้วพิมพ์ด้วย3D Printerได้ทันทีมาให้ชมกัน ตัวอย่างสำหรับวันนี้คือ เสาครีบฉลามของรถToyotaและอุปกรณ์ที่เราจะใช้กันก็คือ Einscan ProHD + industrial pack 3D Scanner คุณภาพสูงมาพร้อมกับอุปกรณ์เสริมเพื่อให้สแกนงานขนาดลเ็กได้ง่ายขึ้น ก่อนอื่นเราก็นำครีบฉลามต้นแบบนำมาสแกน โดยก่อนสแกนนั้นจะต้องทำการพ่นสเปรย์แป้งก่อนเนื่องจากชิ้นส่วนบนรถมีความเงาทำให้การสแกนยากจึงต้องพ่นเพื่อลดความเงาลง(สเปรย์แป้งไม่อันตรายต่อสีรถนะจ๊ะ) การสแกนครั้งนี้จำเป็นต้องใช้ชุดIndustrial packเพื่อใช้ประโยชน์จากTurntableเพื่อประหยัดMarker เครื่องก็จะหมุนงานไปเรื่อยๆจนครบรอบตัวงานจากนั้นก็จะได้ตัวงานที่เกือบสมบูรณ์แล้ว เมื่อทำการปิดผิวจนครบแล้วก็ทำการExport Fileออกมาเพื่อทำการพิมพ์ โดยวัสดุที่เราจะใช้เป็นวัสดุABS ด้วยเครื่องFlashforge Creator Pro2 เมื่อพิมพ์เสร็จแล้วก็แกะออกมาเพื่อลองก่อนใช้งาน ถ้าหากพร้อมก็ติดกับรถได้เลย
ลิ้นชักเก็บของจากม้วนพลาสติกที่เหลือใช้
หลังจากใช้เส้นพลาสติกจนหมดม้วนแล้วก็จะเหลือเพียงแกนม้วนเปล่าๆ ซึ่งแน่นอนว่ามันรีไซเคิลได้เหมือนๆกับพลาสติกชนิดอื่นๆ แต่มีผู้ใช้หลายท่านที่กำลังมองหาไอเดียในการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้จากแกนม้วนเปล่าเหล่านี้โดยที่ไม่ใช่การทิ้ง วันนี้เราจึงมาแนะนำและแจกไฟล์สำหรับลูกค้าPrint3DDที่กำลังมองหาไอเดียใหม่ๆ เราจึงเสนอการทำลิ้นชักเก็บของโดยใช้ม้วนพลาสติกเปล่าเป็นหลัก โดยสิ่งของและอุปกรณ์มีดังนี้ 1.แกนม้วนพลาสติกที่หมดแล้ว 2.กระดาษทรายหรือตะไบก็ได้ 3.กาวร้อน 4.ลิ้นชัก(3D Print) 5.กลอน(3D Print) 6.แกนลิ้นชัก(3D Print) สามารถดูขั้นตอนการประกอบอย่างละเอียดได้จากวิดีโอด้านล่างนี้ได้เลย 1.พิมพ์ชิ้นส่วนทั้งหมดดังนี้ ลิ้นชัก12ชิ้น กลอน24ชิ้น แกน4ชิ้น(ซ้าย2 ขวา2) 2.เมื่อได้ชิ้นส่วนมาแล้วก็ทำการประกอบเข้าด้วยกัน โดยนำแกนลิ้นชักลองใส่เข้าไปก่อนสองชิ้นดังรูป จากนั้นลองใส่ลิ้นชัก1ชิ้นเพื่อเทียบดูว่าพอดีกับแกนหรือไม่(ลิ้นชักจะไหลลื่นไปกับแกนพลาสติก)จากนั้นติดกาวแกนลิ้นชักดังรูป ก่อนนำมาติดกาวแนะนำให้นำแกนลิ้นชกมาขัดก่อนเพื่อให้กาวติดแน่นขึ้น
นักวิจัยใช้ขยะพลาสติกสรา้งเครื่องมือให้เกษตกรในทวีปแอฟริกาด้วย 3D Printing
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยLouhboroughของสหราชอาณาจักรได้จัดการเปลี่ยนขยะพลาสติกที่เก็บรวบรวมในทวีปแอฟริกาให้เป็นเครื่องมือทางการเกษตรราคาประหยัดสำหรับเกษตรกรในท้องถิ่นที่นั่น การทำงานเป็นส่วนหนึ่งของ ‘Circular Plastics Project’ ทีมงานได้รีไซเคิลขวดที่ทิ้งแล้วให้เป็นเส้นฟิลาเมนต์ ก่อนที่จะพิมพ์ 3 มิติลงในอุปกรณ์ทำฟาร์มแบบวงกลม 6 ชิ้นด้วยเครื่องระบบFDM 3D Printer นักออกแบบของพวกเขากล่าวว่าเครื่องมือเหล่านี้ ซึ่งมีตั้งแต่การเก็บผลไม้ไปจนถึงระบบการเลี้ยงปลา สามารถช่วยประเทศกำลังพัฒนาไม่เพียงแต่ส่งเสริมเศรษฐกิจเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการสะสมของขยะพลาสติกในท้องถิ่นอีกด้วย การทำงานเป็นส่วนหนึ่งของ ‘Circular Plastics Project’ ทีมงานได้รีไซเคิลขวดที่ทิ้งแล้วให้เป็นเส้นฟิลาเมนต์ ก่อนการพิมพ์ 3 มิติลงในอุปกรณ์ทำฟาร์มแบบวงกลม
Flashprint 5.1 Update อัพเดทครั้งใหญ่จากFlashforge
Flashforge ได้ทำการอัพเดท Flashprint สำหรับเครื่องFDMของFlashforge อัพเดทครั้งนี้เป็นการเพิ่มความสามารถของโปรแกรมอย่างมาก ทั้งฟังก์ชั่นต่างๆและหน้าตาโปรแกรม เรียกว่าแทบไม่เหลือเค้าโครงเดิมเลยทีเดียว Dark interface หน้าเมนูสีดำล้ำยุค ในหน้าแรกการใช้งานจะยังเหมือนเวอร์ชั่นเก่าอยู่เพียงแค่ย้ายเมนูเริ่มต้นมาไว้ด้านขวาทั้งหมดในแถวเดียวกัน แต่ที่เพิ่มเข้ามาคือเมนูWiping tower การทำDuplicate(การCopy) การเชื่อมต่อเครื่องผ่านอินเทอร์เน็ตมาไว้ให้ใช้สะดวกมากขึ้น แต่การตั้งค่าหรือการSliceยังคงอยู่ด้านบนตรงกลางที่เดิม แล้วนำเมนูการเลือกเครื่องพิมพ์(Machine type)ไว้ที่ด้านซ้ายล่างของเมนู ส่วนเมนูการเลือกข้างหัวฉีด(Extruder)ไม่ได้หายไปไหนแต่เพียงให้คลิกขวาที่ชิ้นงานที่ต้องการเลือกหัวฉีดได้เลย(ใช้ได้กับDreamer,Creator pro, CreatorX, Creator pro2,Creator3) ส่วนการเลือกโหมดDuiplicateและMirrorก็จะอยูที่มุมซ้ายล่างโดยเลือกที่Mode(Creator pro2และCreator3)
รู้จักภาพBitmap กับ Vector เบื้องต้นก่อนใช้งาน Laser cutting/Engraving
การใช้งานเครื่องเลเซอร์นั้นเราจะสร้างผลงานได้ในแบบสองมิติโดยไฟล์ที่เราจะใช้ก้จะเป็นไฟล์รูปภาพต่างๆที่วาดเองบ้าง โหลดมาบ้าง ชนิดของภาพและนามสกุลของภาพก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อการทำชิ้นงานขึ้นมานอกจากประสิทธิภาพของเครื่องและวัสดุ การเลือกประเภทเครื่องเลเซอร์กับวัสดุที่ใช้ศึกษาได้จากที่นี่ เครื่องตัดเลเซอร์ มีกี่แบบ อะไรบ้าง? CO2, Fiber, Diode เลเซอร์แต่ละประเภทก็จะใช้ไฟล์รูปภาพอยู่สองประเภทที่ใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานนั่นก็คือไฟล์ประเภทBitmap และไฟล์ประเภท Vector Bitmap คืออะไร Bitmap คือไฟล์ภาพที่เกิดจากการเรียงตัวของช่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กจำนวนมากโดยใช้หลักการประมวลผลแบบการอ่านค่าสีในแต่ละช่องเก็บค่าข้อมูลเป็น0และ1ซึ่งแต่ละตำแหน่งค่าสีจะคงที่และมีตำแหน่งเจาะจงชัดเจน ซึ่งไฟล์ประเภทนี้จะใช้งานกันทั่วไปเพราะไฟล์ประเภทนี้ไม่จำเป็นต้องใช้โปรแกรมเฉพาะก็สามารถดูได้ทันที ความคมชัดของไฟล์ประเภทนี้จะขึ้นอยู่กับความละเอียดของจำนวนpixelต่อภาพ(Resolution)ยิ่งมากยิ่งละเอียด ตัวอย่างนามสกุลไฟล์Bitmapที่พบเห็นได้ทั่วไป : JPEG,BMP,PNG,TIFF ข้อเสียของไฟล์ประเภทนี้คือ ยิ่งขยายมากเท่าไรภาพก็จะยิ่งแตกมากขึ้เพราะขนาดของPixelนั้นคงที่เมื่อยิ่งขยายเราก็จะเห็นจุดPixelชัดมากขึ้นเพราะจำนวนของจุดนั้นจะเป็นลักษณะตายตัวไม่สามารถเพิ่มหรือลดได้ Vector
โพเดียมทำด้วย3D Printer จากวัสดุรีไซเคิล จากงานโตเกียวโอลิมปิก2020
โตเกียวโอลิมปิกที่ได้เริ่มไปไม่นานที่ประเทศญี่ปุ่น ได้สร้างกระแสต่างๆให้ชวนอึ้งกันทั่วโลกกับการใช้ของที่นำมาจัดงานในครั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นคบเพลิงที่ทำจากเศษโลหะของบ้านที่โดนผลกระทบภัยพิบัติ อาหารที่ทำจากวัตถุดิบที่ปลูกใกล้กับพื้นที่โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟูกุชิมะไดอิจิเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ว่าพื้นที่นี้ปลอดภัยสูงมากและอีกมากมายที่ทำให้ชวนอึ้ง แต่ที่เราจะพูดถึงก็คือโพเดียมที่ใช้ในการรับรางวัลของผู้ชนะ โพเดียมของงานนี้พิเศษอย่างไร? โพเดียมนี้ออกแบบโดย ศิลปินชาวญี่ปุ่น โดยวัสดุที่เขาเลือกมาใช้นั้นคือพลาสติกที่นำมาจากพลาสติกใช้แล้วทิ้งจากครัวเรือนประมาณ24.5ตัน โดยได้นำมาจากขวดน้ำยาซักผ้าจำนวน400,000ขวดที่ได้มาจากกล่องบริจาคตามโรงเรียนและห้างสรรพสินค้าทั่วประเทศกว่า2,000จุด ขวดที่ได้นั้นจะถูกรีไซเคิลทำให้กลายเป้นเส้นFilamentและพิมพ์ด้วยเครื่อง3D Printerโดยพิมพ์ทั้งหมด98โพเดียมที่ใช้ในการแข่งขันทั้งหมด โดยที่โพเดียมแต่ละแท่นจะสร้างจากลูกบากส์ที่ได้จากการพิมพ์หลายๆลุกมาต่อกันเพื่อให้สามารถใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ อีกทั้งผู้ออกแบบยังคำนึงถึงพาราลิทปิกที่จะจัดขึ้นต่อจากโอลิมปิกในครั้งนี้โดยที่โพเดียมนั้นจะสามารถเปลี่ยนแปลงรูปทรงเป้นลักษณะแบนราบเพื่อให้เหมาะกับนักกีฬาพาราลิมปิกด้วย ความคิดริเริ่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในวงกว้างเพื่อให้ผู้คนในชีวิตประจำวันมีส่วนร่วมในแผนความยั่งยืนของงาน ซึ่งเห็นได้จากประชาชนที่บริจาคอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เก่า ๆ เพื่อที่พวกเขาจะได้เปลี่ยนเป็นเหรียญโอลิมปิกโตเกียว 2020 ความคิดริเริ่มในการสร้างโพเดียวนี้ก็เหมือนกันก็คือต้องการให้ประชาชนชาวญี่ปุ่นทุกคนมีส่วนร่วมกับการจัดงานในครั้งนี้ นอกเหนือจากการนำวัสดุเหลือใช้มาสร้างสิ่งต่างๆในงานโอลิมปิกครั้งนี้แล้วยังมีเป้าหมายที่ใช้นำขยะ65เปอร์เซนต์ที่ได้จากการดำเนินการแข่งขันและ99เปอร์เซนต์ของการจัดงานทั้งหมดมารีไวเคิลเพื่อใช้งานให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย การจัดงานโอลิมปิกในครั้งนี้เป็นการเปิดให้ทั้งโลกได้เห้นวิสัยทัศน์ของประเทศญี่ปุ่นที่มีความสามารถในการสร้างสรรค์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างมีประสิทธิภาพและยังมาพร้อมกับการใส่ใจสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกันด้วยการสร้างอุปกรร์จัดงานจากวัสดุรีไซเคิลเกือบ100เปอร์เซนต์ยังทำให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการจัดงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกครั้งนี้อีกด้วย FDM เกรดอุสาหกรรมที่พร้อมกับการรองรับวัสดุที่หลากหลายชนิด
เปลี่ยนกล้องอนาล็อกเป็นดิจิตอลด้วยความช่วยเหลือจาก 3D Printer
กล้องอนาล็อกหรือที่เราคุ้นชินกับกล้องฟิล์ม เป็นกล้องรุ่นเก่าสุดเก๋าที่มีมูลค่าสูงมากในยุคก่อนอีกทั้งภาพที่ได้นั้นยังมีความสวยงามและเอกลักษณ์ชัดเจนแต่เมื่อถัดมาอีก50ปีกล้องเหล่านี้ก็หมดความนิยมลงเพราะมาแทนที่ด้วยกล้องดิจิตอลที่ไม่ต้องพึ่งพาฟิล์มอีกต่อไปจึงทำให้กล้องเก่าเหล่านี้กลายเป็นแค่ของสะสมและสูญพันธ์ุไปจากวงการถ่ายภาพเป็นที่เรียบร้อย ถึงแม้ว่าจะผ่านมา50ปีแล้วตัวกล้องยังคงใช้งานได้ดีเพียงแค่ไม่มีฟิล์มเท่านั้น ยูทูปเบอร์ที่ใช้ชื่อ befinitiv ได้ทำการคืนชีพกล้องเก่านี้อีกครั้งด้วยการดัดแปลงเพียงเล็กน้อยด้วยเครื่องมือสองอย่างประกอบไปด้วย Rasberry Pi และ 3D Printer โดยกล้องที่ใช้คือ Cosina Hi-Lite DLR ขั้นตอนของเขานั้นก็ง่ายดายไม่ซับซ้อนมากแต่กลับรีดประสิทธิภาพของกล้องมาได้อีกครั้ง ขั้นแรกจะใช้Rasberry PIต่อเข้ากับกล้องพร้อมลงโปรแกรมเพื่อให้ส่งภาพไปที่คอมพิวเตอร์แบบReal time ต่อมาก็ทำการออกแบบกล่องจับRasberry PIให้มีลักษณะเหมือนกับม้วนฟิล์มทำให้สามารถใส่เข้าไปในกล้องได้เลยโดยไม่ได้ดัดแปลงตัวกล้องแม้แต่นิดเดียวและทำการพิมพ์กล่องนี้ออกมาด้วย3D Printer การแปลงกล้องตัวนี้เป้นดิจิตอลก้ง่ายอย่างมากเพียงแค่นำหลอดฟิล์มเก่าของกล้องเดิมออกจากนั้นใส่แทนด้วยRasberry Pi ZEROในมาเข้ากับแท่นจับที่เขาทำขึ้นเองจาก3D
Reverse Engineering กับการพิมพ์ตัวล็อกหน้ากากหมวกกันน็อค
Reverse Engineering เริ่มใช้กันอย่างแพร่หลายในวงวิศวกรรม ซึ่งเป็นกระบวนการที่สามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานได้จากงานเก่าๆได้อย่างง่ายดาย หรือแม้กระทั่งการนำชิ้นงานที่ไม่สามารถหาได้อีกแล้วมาไว้ในคอมพิวเตอร์แล้วนำไปใช้ต่อได้ แต่กระบวนการนี้ไม่ได้จะใช้กับกระบวนการวิศวกรรมขั้นสูงสูงเท่านั้น ชิ้นส่วนในของใช้ทั่วไปก็ทำได้เช่นกันขอเพียงแค่มี3D Scannerก็จะง่ายขึ้นทันที วันนี้เราขอยกเคสตัวอย่างของคุณ คัตสึยะ ทานะบิกิ ที่ทำการสแกนชิ้นส่วนด้วยเครื่องEinscan Pro2X ต่อด้วยใช้การReverse Engineering และพิมพ์ด้วย 3D Printer เพื่อทำตัวล็อกหน้ากากหมวกกันน็อตใช้เองเนื่องจากชิ้นนี้เป็นชิ้นส่วนที่มีการสึกหรอเป็นเรื่องปกติแต่กลับไม่มีขายซะงั้นทำให้ผู้ใช้มีทางเลือกแค่ว่าจะซื้อหน้ากากใหม่เลยหรือหมวกใหม่ดีซึ่งแน่นอนว่าของยังไม่พังซะหน่อย ในเมื่อเรามีเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่สามารถสแกนชิ้นงานที่อยู่ในโลกจริงให้เข้าไปกลายเป็นไฟล์ในคอมพิวเตอร์แล้วก็ทำการแก้ไขหรือสร้างใหม่ เนื่องจากชิ้นงานที่ทำการสแกนนั้นมีขนาดที่เล็กมากเพื่อให้การสแกนสำเร็จและแม่นยำสูงสุดจึงทำการใช้โหมดFixed scan พร้อมชุด industrial pack
สายรัดนาฬิกาใหม่ใช้ได้จริงด้วย 3D Printer
FMD 3D Printer เป็นเครื่องพิมพ์สามมิติประเภทที่ราคาถูกที่สุดในทุกชนิดและความสามารถของมันแทบจะครอบจักรวาลแล้วเพราะด้วยตัววัสดุที่หาง่ายและมีความหลากหลายมากที่สุดอีกทั้งยังสามารถใช้จริงได้อีกด้วย(ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ผู้ใช้เลือกด้วยนะ) ครั้งนี้เราได้ลองทำสายนาฬิกาข้อมือใช้กับของแบรนด์Casio เพื่อที่จะทดแทนของเก่าที่ชำรุดจนดูไม่ได้แล้ว ในเมื่อเรามีเครื่องพิมพ์อยู่แล้วก็ใช้เครื่องเรานี่แหละทำของมาใช้เอาซะเลย อุปกรณ์ที่เราจะใช้วันนี้ประกอบด้วย FDM 3D printer ระบบ Direct drive (เราเลือกFlashforge Finder น้องเล็กสุดเพราะงานไม่ใหญ่มาก) กับเส้นพลาสติกประเภทFlexible โดยใช้ esun eFlex Q:สายที่ทำจากครื่องพิมพ์จะใช้ได้จริงหรอ จะทนทานพอมั้ย? A:เส้นFlexibleที่นำมาใช้นั้นมีความแข็งอยู่ที่ 87A