เพิ่มความแข็งแรงให้งานพิมพ์ด้วย Brick Layer

เพิ่มความแข็งแรงให้งานพิมพ์ด้วย Brick Layer

มันเป็นสัจธรรมในชีวิตว่างานพิมพ์สามมิติจากเครื่องพิมพ์แบบ FFF (Fused Filament Fabrication) มักจะเกิดจุดอ่อนในตำแหน่งที่เลเยอร์เชื่อมติดกัน บางส่วนเกิดจากการที่มีช่องว่างระหว่างเส้นที่ฉีดออกมา และมีการเชื่อมกันที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งการเพิ่มความหนาผนังก็ไม่ใช่คำตอบเสมอไป แต่คุณสามารถปรับปรุงในส่วนนี้ได้ด้วยฟีเจอร์ที่เรียกว่า Brick layer โดยมันจะจัดการเรียงเส้นพลาสติกสับหว่างกัน ลดช่องว่าง และเพิ่มผิวสัมผัสที่เชื่อมติดกัน

เทคนิคการพิมพ์แบบ Brick layer ในงานพิมพ์ 3D ที่จะช่วยให้ชิ้นงานมีความแข็งแรงมากขึ้น โดยการพิมพ์ปรับเลเยอร์แรก ให้มีความหนาไม่เท่ากัน ดังนั้นชั้นต่อ ๆ ไปที่สูงขึ้นมาจะมีลักษณะสับหว่างกัน ซึ่งเท่ากับว่ามันจะล็อคเข้ากับเส้นที่ขนาบอยู่ข้าง ๆ ดูแล้วมันก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากที่จะทำมันขึ้นมา เพราะมันไม่ได้ต้องการอุปกรณ์อะไรที่พิเศษเพิ่มขึ้นมาในเครื่องพิมพ์เลย แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่ว่ามันมีข้อจำกัดด้านสิทธิบัตร แล้วก็ไม่มีใครกล้าคิดที่จะทำฟีเจอร์นี้ขึ้นมา

ข่าวดีก็คือตอนนี้ Slicer บางตัวได้นำเสนอฟีเจอร์นี้ออกมาแล้ว และ slicer อื่น ๆ ก็จะมีตามมาในเร็ว ๆ นี้ด้วย หากใครใจร้อน ไม่อยากรอให้ถึงวันนั้นคุณสามารถใช้สริคปต์นี้ไปพลาง ๆ ก่อนได้ ซึ่งตอนนี้มันรองรับ PrusaSlicer, OrcaSlicer และ Bambu Studio

แล้วมันทำงานอย่างไร? ก็ด้วยสคริปต์ที่ Roman Tenger เขียนขึ้นมา การติดตั้งก็เหมือนกัน แค่ดาวน์โหลดไฟล์ Python แล้วไปที่ slicer ของคุณภายใต้หัวข้อ “Post-Processing Scripts” แล้วใส่ path ตำแหน่งที่อยู่ของไฟล์ จากนั้นกำหนดความหนาเลเยอร์ซึ่งเป็นออปชั่นหนึ่งในสคริปต์

การที่เราได้ประโยชน์จากการพิมพ์แบบ Brick Layer ทำให้โมเดลมีความแข็งแรงขึ้นมาก อย่างน้อยก็ 10-14% แต่ก็มีราคาที่ต้องจ่ายบ้าง เช่นการพิมพ์แบบหลายสี หรือหลายวัสดุยังไม่รองรับฟีเจอร์นี้ และการพิมพ์แบบ Arachne ยังใช้ได้กับ Prusa slicer เท่านั้น นอกจากนี้ผิวด้านบนอาจจะไม่เรียบเท่าไหร่

หวังว่าในอนาคตอันใกล้นี้ Slacer ทุกตัวจะนำฟีเจอร์นี้มาใส่ใน Slicer เพื่อให้การพิมพ์ชิ้นงานมีความแข็งแรงมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน

ลองดูรายละเอียดในวิดีโอด้านล่างนี้