เราสามารถฆ่าเชื้อบนงานพิมพ์ 3D ได้จริงหรือ?

เราสามารถฆ่าเชื้อบนงานพิมพ์ 3D ได้จริงหรือ?

ในช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 (COVID-19)นี้ ผู้คนจำนวนมากหันมาใช้เครื่องพิมพ์สามมิติเพื่อพิมพ์อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลมาใช้งานกัน จึงเกิดข้อถกเถียงตามมาว่าอุปกรณ์ที่ผลิตจากเครื่องพิมพ์สามมิติสามารถทำการฆ่าเชื้อและนำกลับมาใช้ใหม่ หลังจากผ่านการใช้งานในสถานที่สงสัยว่าจะมีเชื้อไวรัส COVID-19 ได้หรือไม่

ปัญหาคืออะไร?

เครื่องพิมพ์ชนิดที่ใช้เส้นพลาสติกในการขึ้นรูปจะมี “รูพรุน” เล็ก ๆ อยู่ซึ่งมันจะเป็นที่หลบซ่อนของเชื้อโรคทั้งไวรัส และแบคทีเรีย และยังช่วนให้พวกมันรอดจากกระบวนการซ่าเชื้อได้ด้วย ซึ่งรูพรุนเหล่านี้อาจเล็กจิ๋วระดับไมครอนเลยทีเดียว ดังนั้นไม่ว่างานพิมพ์ของคุณจะดูสวยงามแค่ไหน หรือคุณจะขัดการดาษทรายอย่างไรก็แล้วแต่มันก็ยังมีปัญหานี้อยู่เสมอ

ในโรงพยาบาลจะใช้วิธีฆ่าเชื้อโดยใช้อุณหภูมิสูง เพราะแม้แต่อุปการณ์ทางการแพทย์ปรกติก็ยังมีรูพรุนขนาดเล็กอยู่เช่นเดียวกัน อุณหภูมิที่สูงในหม้อนึ่งความดันสามารถฆ่าเชื้อได้หมดแม้แต่ในรูพรุนเล็กเท่าใดก็ตาม แต่ชิ้นงานจากเครื่องพิมพ์สามมิติทำจากพลาสติกซึ่งเสียรูปได้ในอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ ไม่เหมาะที่จะฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งความดัน มันจะละลาน เสียรูปและนำกลับมาใช้อีกไม่ได้

แล้วการใช้วิธีอื่น ๆ ฆ่าเชื้อได้ไหม?

ได้! ยังมีวิธีการอื่นเช่นการฆ่าเชื้อด้วยสารเคมี ด้วยไอน้ำ และด้วยแสงยูวี-ซี แต่ละวิธีก็ยังมีคำถามว่าจะมีวิธีทดสอบประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อบนชิ้นงานจากเครื่องพิมพ์สามมิติอย่างไรเช่น การใช้แสงยูวี-ซีได้ผลดีกับส่วนที่เป็นรูพรุนบนผิวงานหรือไม่ สารเคมีที่ใช้ฆ่าเชื้อทำให้วัสดุพิมพ์เสื่อมคุณภาพจนเป็นอันตรายกับบุคคลหรือไม่

ได้มีการทดสอบปัญหาเหล่านี้ในห้องทดลองของหน่วยงานอิสระสามแห่ง เพื่อยืนยันผลว่าวิธีการไหนได้ผล และไม่ได้ผลในการฆ่าเชื้อ การทดลองนี้ทำกับเส้นพลาสติกชนิด PETG ทั้งหมด ตารางแรกนี้จะแสดงให้เห็นถึงวิธีการที่ไม่แนะนำในการฆ่าเชื้อ ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะความร้อนกับงานพิมพ์สามมิติไปด้วยกันไม่ได้

ตารางต่อไปนี้วิธีการที่แนะนำ ซึ่งได้รับการยืนยันจากห้องแลปอิสระที่ทดลองกับเชื้อไวรัส COVID-19 โดยตรง

ข้อมูลข้างต้นอาจถูกปรับปรุงได้ตลอดเวลา โปรดตรวจสอบข้อมูลล่าสุดได้ที่นี่