Santa Claus Calender โดย 3D Printer

Santa Claus Calender โดย 3D Printer

เมื่อใกล้ถึงช่วงเทศกาลวันคริสต์มาส ซึ่งตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี เรามักจะเห็นรูปซานตาคลอสประดับตกแต่งตามสถานที่ต่างๆ ทั่วทุกหนแห่ง เพื่อสร้างบรรยากาศให้เข้ากับการเฉลิมฉลองความสุข ทำให้ “ซานตาคลอส” กลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ของคริสต์มาสที่หลายคนนึกถึง แต่เคยสงสัยกันไหมว่า ประวัติซานตาคลอสมีความเป็นมาอย่างไร วันนี้ 3DD จะมาแชร์ประวัติของคุณลุงหนวดขาวคนนี้กันค่ะ

Santa Claus

“ซานตาคลอส ภาษาอังกฤษคือ Santa Claus”

แน่นอน ไม่มีใครไม่รู้จัก คุณลุง หรือ ซานตาคลอส ผู้นำของขวัญและความสุขมาให้กับเด็ก ๆ ในเทศกาล “คริสต์มาส” ภาพคุณลุงเคราขาวพุงพลุ้ยในชุดสีแดงทั้งตัว แบกถุงขนาดยักษ์ที่เต็มไปด้วยของขวัญ พร้อมส่งเสียงหัวเราะ โฮโฮโฮ ปรากฏกายออกมาให้เห็นประจำพร้อมกับเจ้ากวางเรนเดียร์คู่ใจ

ตัวจริงของซานตาคลอส คือ นักบุญนิโคลัส เป็นบาทหลวงชาวตุรกีในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 4 ผู้ขึ้นชื่อเรื่องความใจดี โดยเฉพาะกับเด็กๆ ต่อมา ท่านเป็นรู้จักอย่างกว้างขวางทั่วทั้งฮอลแลนด์ในชื่อ ซินเตอร์คลาส ในช่วงราว ค.ศ. 1870 ชาวอเมริกันได้เรียกชื่อผิดเพี้ยนไปเป็น ซานตาคลอส ตั้งแรกจนถึง ค.ศ. 1890 ภาพของซานตาคลอสเป็นชายร่างผอมสูงสวมชุดสีเขียว หรือน้ำตาลสลับแดง ต่อมา เจนนี ไนสตรอม ศิลปินชาวสวีเดน ได้เป็นผู้คิดค้นรูปลักษณ์ของซานตาครอสในแบบที่เห็นกันอยู่ในปัจจุบัน โดยเธอวาดภาพลงในบัตรอวยพระคริสต์มาส จากนั้นภาพนี้ก็ได้รับความนิยมไปทั่วโลก เมื่อชาวสวีเดนอีกคนที่ชื่อ แฮดดอน ซันด์บลอม นำภาพวาดของไนสตรอมสวมชุดขาว

อนุสาวรีย์เซนต์นิโคลัส (Saint Nicholas) ที่เมืองบารี ประเทศอิตาลี

อย่างไรก็ตาม แม้ประวัติซานตาคลอสจะเป็นตำนานเรื่องเล่าในวันคริสต์มาสของชาวคริสต์ แต่ในปัจจุบันซานตาคลอสก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของการเฉลิมฉลอง ไม่เพียงแต่ในโลกตะวันตก แต่โลกตะวันออกก็รับวัฒนธรรมดังกล่าว แล้วนำมาปรับใช้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเช่นเดียวกัน

3DD จะมาแชร์ไอเดียปริ้นปฏิทินSanta Claus ด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ โดยจะใช้เครื่องพิมพ์ระบบเรซิ่นเพื่อความสวยงามกัน

โดยเครื่องพิมพ์ที่ใช้วันนี้คือ Phrozen Sonic Mighty 8K

ซึ่งเครื่อง Mighty 8K มี จอ Monochrome 8K ความละเอียดสูงสุด 28 µm มีหน้าจอ LCD ขนาด 9.3” และมีขนาดการพิมพ์ได้ถึง 218 x 123 x 235 mm เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการพิมพ์ขนาดเล็กถึงปานกลาง และสามารถสั่งงานที่ง่ายขึ้นด้วย USB Ethernetและ Wi-Fiค่ะ

โดยโมเดล3มิติ ได้นำมาจากเว็บไซต์ www.thingiverse.com

ใช้โปรแกรม Chitubox ในการตั้งค่าความละเอียด เวลาฉายแสงต่อชั้น

โมเดลลุงซานต้านี้ เราจะใช้เว้ลสปริ้นทั้งหมด 8ชั่วโมงกว่าๆนะคะ และใช้เรซิ่นประมาน 117.82 มิลลิลิตรนั้นเองค่ะ

เรามารองานที่ได้จากเครื่องกันเลยค่ะ

งานที่ได้จากเครื่องพิมพ์
  • หลังจากเรานำชิ้งงานออกจากเครื่องปริ้นแล้ว จะนำชิ้นงานออกไปล้างด้วยเครื่องล้างชิ้นงานกันค่ะ
นำเข้าเครื่องล้างและตั้งเวลาล้างชิ้นงานกันเลย

เมื่อล้างชิ้นงานจนสะอาดแล้ว จะนำชิ้นงานเข้าเครื่องอบชิ้นงานต่อค่ะ

ตั้งเวลาอบชิ้นงานกันได้เลย

เราจะได้ปฏิทินลุงซานต้ากันแล้ว