เทคนิคและการแก้ปัญหาการใช้งานเครื่องพิมพ์3มิติ ระบบ DLPและ ระบบ SLA

เทคนิคและการแก้ปัญหาการใช้งานเครื่องพิมพ์3มิติ ระบบ DLPและ ระบบ SLA

ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานเครื่องพิมพ์สามมิติระบบ DLP และ SLA กันมากขึ้น เพราะเครื่องพิมพ์ระบบนี้สามารถพิมพ์ชิ้นงานได้ความละเอียดสูง ทำให้ได้ชิ้นงานออกมาเรียบเนียนจนแทบไม่ต้องมีการขัดแต่ง  วันนี้ทาง print3dd จึงมาแนะนำเทคนิคตลอดจนวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ที่ได้พบเจอจากการใช้งานเครื่องพิมพ์ระบบนี้โดยปัญหาทีพบเจอได้บ่อยๆมีประมาณนี้ครับ

-พิมพ์งานแล้วไม่ขึ้นรูปชิ้นงานหรือพิมพ์งานไม่ติด

-พิมพ์งานแล้วชิ้นงานไม่ติดที่แท่นแต่ไปติดที่ถาดน้ำยา

-พิมพ์งานแล้วชิ้นงานหลุดออกจากแท่น

-พิมพ์งานแล้วตัวชิ้นงานฉีกขาดหรือชำรุดบางส่วน

 

ควรตรวจสอบและแก้ไขปัญหาดังนี้

 

1.แผ่นฟิมล์ชำรุดหรือสกปรก

ตัวเครื่องพิมพ์ระบบนี้ส่วนใหญ่จะมีทีใส่ถาดน้ำยา และด้านล่างของถาดน้ำยาจะมีการใส่แผ่นฟิลม์ไว้เพื่อให้โปรเจกเตอร์ยิงแสงใส่ตัวน้ำยาได้โดยตรง และอีกส่วนหนึ่งคือกระจกที่ติดกับแผ่นฟิลม์ ในส่วนนี้เมื่อเราพิมพ์งานไปสักระยะตัวฟิลม์จะเริ่มมีการชำรุด เช่น ฟิลม์เป็นรอยนูนขึ้นมาเนื่องจากแรงดึงของตัวชิ้นงาน,ฟิลม์ขุ่นมัวเพราะทำสะอาดไม่ดีพอ,มีเศษชิ้นงานติดอยู่ที่ฟิลม์,ฟิลม์ขาดทำให้น้ำยาเรซิ่นไหลลงไปโดนตัวกระจก

(ฟิลม์สกปรกมีลักษณะขุ่นมัว)

78

(ตัวกระจกมีคราบและขุ่นมัว)
76

น้ำยาipa (isopropyl alcohol)

321

วิธีการแก้ปัญหา

ก่อนการพิมพ์งานควรตรวจเช็กตัวแผ่นฟิลม์และกระจกให้ดีว่าสกปรกและชำรุดหรือไม่ ส่วนการเช็ดทำความสะอาดตัวฟิลม์และกระจกควรใช้น้ำยา ipa (isopropyl alcohol) ชุปกระดาษทิชชู่หรือผ้า เช็ดทำความสะอาดแบบเบามือเพื่อไม่ให้ตัวแผ่นฟิลม์เป็นรอย เมื่อเห็นแผ่นฟิลม์เป็นรอยนูนมากขึ้นแนะนำให้เปลี่ยนแผ่นฟิลม์เพราะถ้าฝืนใช้ต่ออาจทำให้ฟิลม์ขาดและตัวน้ำยาอาจจะไหลลงมาด้านล่างได้

 

2.แท่นพิมพ์สกปรก

เมื่อใช้งานไปได้สักระยะตัวแท่นพิมพ์จะเริ่มมีคราบฟิลม์บางๆที่เกิดจากตัวน้ำยาเรซิ่นไปเกาะที่ตัวแท่นทำให้เวลาพิมพ์งาน แล้วทำให้ตัวชิ้นงานหลุดได้ง่ายเพราะตัวงานไม่ได้เกาะกับตัวแท่นพิมพ์โดยตรงแต่ไปเกาะกับคราบเหล่านี้ หรือมีพวกเศษเรซิ่นที่แข็งตัวแล้วทำความสะอาดไม่หมดก็จะทำให้เกิดปัญหาแบบที่กล่าวไปได้เช่นกัน

(ในรูปจะเห็นว่าแท่นพิมพ์ดูสะอาดเรียบร้อยดี แต่เมื่อถูด้วยน้ำยา ipa จะเห็นว่ายังมีคราบเรซิ่นเกาะที่ตัวแท่นอยู่)

276

วิธีการแก้ปัญหา

ใช้ ipa  (isopropyl alcohol) ทำความสะอาดโดยการใช้กระดาษหรือผ้าชุบตัวipaแล้วถูตัวแท่นพิมพ์จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีคราบเรซิ่นเกาะอยู่บนตัวแท่นพิมพ์

 

3.ไม่คนหรือเขย่าน้ำยาก่อนใช้งาน

ตัวเรซิ่นถ้าทิ้งไว้โดยก่อนการใช้งานไม่มีการคนหรือเขย่าน้ำยา ตัวเรซิ่นจะเริ่มมีการแยกชั้นของตัวน้ำยาทำให้พิมพ์งานออกมาได้ไม่ดีหรือพิมพ์งานไม่ติดเลย

(น้ำยาตอนยังไม่ได้คนจะเห็นว่าตัวน้ำยาด้านบนจะใสกว่าด้านล่าง)

252

(อันนี้หลังจากคนน้ำยาแล้ว)
254

วิธีการแก้ปัญหา

ถ้าน้ำยาอยู่ในขวดก่อนพิมพ์ควรเขย่าน้ำยาก่อนการใช้งาน แต่ถ้าอยู่ในถาดน้ำยาแนะนำให้ใช้พู่กันคนน้ำยาในถาดก่อนใช้งาน แนะนำว่าถ้าไม่ใช้น้ำยาเกิน1วัน วันต่อมาควรจะคนหรือเขย่าน้ำยาก่อนใช้งาน

 

4.ตัวโมเดลไม่สมบูรณ์

ปัญหานี้พบได้มากที่สุด เพราะเนื่องจากผู้ใช้งานอาจยังไม่มีความชำนาญในการใช้งานตัวเครื่องพิมพ์ เรื่องที่ต้องดูอันดับแรกคือตัวชิ้นงานนั้นสมบูรณ์หรือไม่ เพราะส่วนใหญ่ระบบนี้จะเป็นขึ้นงานแบบ bottom-up (สามารถดูเรื่องระบบ bottom-up ได้จากบทความนี้เลยครับ http://www.print3dd.com/top-down-vs-bottom-up-3d-printing/) และต่อมาคือการวางชิ้นงานซึ่งทั้ง2ส่วนนี้มีผลทำให้งานออกมาไม่สมบูรณ์หรือตัวชิ้นงานหลุดระหว่างพิมพ์ได้

(ในรูปนี้คือตัวชิ้นงานหลุดจากซัพพอต)

IMG_20160514_201240

วิธีการแก้ปัญหา

เรื่องที่สำคัญคือ ก่อนพิมพ์งานควรดูความสมบูรณ์ของโมเดลและควรสไลด์ดูงาน แต่ละชั้นว่ามีส่วนไหนของงานลอยอยู่โดยไม่มีซัพพอตค้ำยันหรือไม่ เพราะตรงส่วนนี้จะทำให้เวลาพิมพ์แล้วชิ้นงานหลุดหรือขึ้นได้ไม่สมบูรณ์ (ในเรื่องของโมเดลนั้นมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะไว้โอกาสหน้าผมจะมาทำเป็นบทความให้อ่านกันครับ)

 

5.ตั้งค่าแสงผิดพลาด

การตั้งค่าแสงตรงนี้ต้องดูว่าเครื่องพิมพ์รุ่นนั้นๆสามารถปรับค่าตรงนี้ได้ไหม ตรงนี้ขอยกตัวเครื่องflash forge hunterมาแนะนำเพราะตัวเครื่องสามารถปรับค่าแสงได้ ถ้าเราไม่ปรับค่าแสงให้เหมาะสมกับน้ำยาเรซิ่นชนิดนั้นจะทำให้พิมพ์งานไม่ได้เลย เพราะเรซิ่นแต่ละตัวมีความไวต่อค่าแสงไม่เท่ากันครับ

ตัวโปรแกรมflash print

ในรูปนี้จะมีอยู่สามค่าให้เลือกปรับดังนี้

1.Base Time ต้วโปรแกรมให้ตั้งค่าฉายแสงระหว่างชั้นคือในแต่ละชั้นของงานให้ฉายแสงกี่วินาที

2.Attach time ชั้นแรกงานให้ยิงแสงกี่วินาที (ที่เห็นฉายแสงนาน 10s. เพื่อให้ตัวชิ้นงานติดกับแท่นพิมพ์ได้ดียิ่งขึ้น)

3.Light Intensity ต้องการปรับความเข้มข้นของแสงที่ฉายออกมาให้มากหรือน้อย

Capture

วิธีแก้ปัญหา

ส่วนใหญ่แล้วแต่ละเครื่องจะมีน้ำยาที่ใช้กับตัวเครื่องนั้นๆอยู่แล้ว แต่ถ้าเราจะต้องการลองเรซิ่นชนิดอื่นๆที่เราไม่เคยใช้งานมาก่อน ควรทดลองตั้งค่าแสงหลายแบบๆเพื่อให้ได้งานออกมาดีทีสุด ซึ่งค่าที่เหมาะสมคือตัวชิ้นงานออกมาสวยงามสมบูรณ์ 

 

6.การคาริเบทแท่นพิมพ์

ตัวเครื่องพิมพ์ระบบนี้จะมีการจุ่มตัวแท่นลงไปชิดกับถาดน้ำยา การคาริเบทคือการทำให้ตัวแท่นพิมพ์กับถาดน้ำยาอยู่ในระยะที่เหมาะสม ตรงส่วนนี้ต้องดูว่าเครื่องนั้นๆสามารถคาริเบทได้หรือไม่ ตรงนี้จึงขอยกตัวflash forge hunter มาเพื่อแนะนำการใช้งานระบบนี้ครับ

(โดยในรูปจะเป็นการตั้งค่า Z Offset หรือการคาริเบทแท่นพิมพ์)

79

(สามาถปรับให้ตัวแท่นพิมพ์สูงขึ้นหรือต่ำลงได้)80

การแก้ปัญหา

ถ้าเกิดอาการตัวชิ้นงานติดที่ถาดน้ำไม่ติดที่แท่นพิมพ์ ให้สันนิฐานว่าตัวแท่นพิมพ์ห่างจากถาดน้ำยามากเกินไป ทำให้เวลาตัวแท่นพิมพ์เลื่อนลงมาไม่ชิดกับตัวถาดจนทำให้ชิ้นงานไปติดที่ถาดน้ำยาแทนที่จะติดตัวแท่นพิมพ์ ถ้าเครื่องไหนมีคำสั่งนี้แนะนำให้คาริเบทก่อนพิมพ์เพื่อให้ได้งานออกมาดีที่สุด

 

สุดท้ายนี้จากปัญหาและอาการต่างๆที่กล่าวมาข้างต้น อาจจะเกิดจากสาเหตุเดียวหรือเกิดจากหลายๆสาเหตุรวมกันก็ได้ แนะนำให้ตรวจเช็คทุกอย่างก่อนพิมพ์เพื่อที่จะได้ตัวงานออกมาสมบูรณ์ที่สุด แล้วพบกันใหม่ สวัสดีครับ