Foto 13.3 กับModel Mandalorian ทั้งหมด 13ชิ้น พร้อมเทคนิคในการขึ้นโมเดลแบบเร่งด่วน

Foto 13.3 กับModel Mandalorian ทั้งหมด 13ชิ้น พร้อมเทคนิคในการขึ้นโมเดลแบบเร่งด่วน

นักโหลดโมเดลเป็นที่รู้กันว่า การเจอโมเดล ที่มีหลายๆชิ้น นั้นจะยากและลำบากมากๆเมื่อมีการต่อ
วันนี้มีเทคเนคเกี่ยวกับการต่อโมเดล และการขึ้นโมเดลแบบเจ๋งๆมาแชร์กัน โดยเริ่มตั้งแต่ทริคเล็กๆน้อยๆ

เนื้อหาทั้งหมดของบทความนี้จะแบ่งเป็น

    1. การเตรียมไฟล์
    2. การพิมพ์ชิ้นงาน
    3. ล้างชิ้นงาน
    4. อบชิ้นงาน
    5. ประกอบโมเดล
    6. พ่นสี
    7. สรุปและแนะนำ
    ไฟล์ส่วนนึง ที่จะนำมาพิมพ์พร้อมกันในครั้งเดียว

    การเตรียมไฟล์
    เริ่มต้นด้วยการใช้โปรแกรม Chutibox หากใครยังไม่ทราบว่า Chutibox คืออะไร ใช้งานยังไง สามารถเข้าดูได้ที่ลิ้งค์นี้
    การวางไฟล์ เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างมากเนื่องจากเป็นการบ่งบอกได้เลยว่า งานที่ออกมานั้นจะสวยหรือไม่ ขึ้นอยู่กับขั้นตอนนี้เช่นกัน
    เมคนิคการวางไฟล์หรือเตรียมไฟล์จะมีสอนในส่วนของลิ้งด้านบนที่บทความ Chutibox

    เทคนิคที่ 1 Rotate – Orientation หมุนชิ้นงาน 

    • ให้ส่วนรายละเอียดสำคัญอยู่บนสุด (อยู่ล่างก็ได้แต่ต้องเลี่ยง Support)
    Rotate เพื่อให้ส่วนที่สำคัญ ไม่โดนซัพพอร์ท

    เทคนิคที่ 2 Hollow ทำให้ชิ้นงานกลวง

    • ทำให้กลวง ประหยัดเรซิ่น 80-90%
    • ทำให้กลวง ลดปัญหาชิ้นงานหลุด และยืดอายุการใช้งานฟิลม์ที่ก้นถาด

    เทคนิคที่ 3 Dig hole เจาะรู

    • ป้องกันภาวะ CUP (ถ้วยปิด) ศัพท์ทางเทคนิคของ 3D Printing เมื่อมีแล้วโมเดลเราเหมือนถ้วยคว่ำอยู่ทำให้เกิดแรงดันสูงทั้งตอนจุ่มลงเรซิ่น และดึงชิ้นงานขึ้นมา (นึกภาพเรา คว่ำแก้วน้ำและพยายามกดลง  จะต้องใช้แรงฝืนอย่างมาก) การเจาะรูจะลดเป็นภาวะ CUP มีทางให้อากาศออก
    • เจาะรูช่วยให้สามารถล้างชิ้นงานได้สะอาด เรซิ่นมีทางออก
    ใส่ซัพพอร์ท (หลังจากใส่กดออโต้แล้วต้องเพิ่มซัพพอร์ทเข้าไปประมาณ10-15%)

    หลังจากได้ไฟล์มาแล้ว สามารถนำไปพิมพ์ที่เครื่องได้เลย
    เครื่อง FOTO 13.3 เป็นเครื่อง 3D Printer ระบบ MSLA LCD Mono 4K ที่สามารถสั่งพิมพ์ผ่าน USB,Lan,Wifi ได้
    วัสดุที่ใช้ในการพิมพ์คือ Washable Resin Grey เรซิ่นที่สามารถล้างได้ด้วยน้ำเปล่า และซัพพอร์ทก็ยังแกะง่าย
    (ทริคเล็กๆก่อนทำการพิมพ์ ให้นำเรซิ่นมาปาดที่ ฐาน Build Platform ก่อนการพิมพ์ จะช่วยให้งานติดง่ายขึ้น)

    ใช้ระยะเวลาการพิมพ์ทั้งหมด 15 ชั่วโมง ด้วยการแบ่งเป็น 3 Part
    ส่วนประกอบของตัวโมเดล
    ฐานที่วางโมเดล

    *ทริคพิเศษ*
    การล้างโมเดล
    หลังจากพิมพ์เสร็จแล้ว ให้ล้างด้วยน้ำเปล่า เนื่องจากเป็น Washble Resin จึงไม่จำเป็นต้องใช้ IPA ในการล้างชิ้นงาน
    ไม่เหม็น แถมใช้ง่าย คุณภาพงานระดับ High Detail และซัพพอร์ทก็แกะง่าย (แนะนำให้แกะตอนที่ล้างน้ำ)

    ขณะที่ล้างชิ้นงาน ให้ทำการแกะซัพพอร์ทไปด้วย
    ชิ้นใหญ่ ดีเทลเยอะ ไม่ต้องกลัวเลย ซัพพอร์ทแกะง่ายสุดๆ

    การอบชิ้นงาน
    หลังจากทำการล้างชิ้นงานและแกะซัพพอร์ทจนเสร็จแล้ว ให้ทำการนำชิ้นงานเป่าลมให้แห้งก่อน
    เพื่อทำการนำเข้าเครื่องอบ UV FC3 เพราะหลังจากการพิมพ์เสร็จแล้วต้องยอมรับเลยว่า เรซิ่น ยังไม่แข็งเต็มที่ พื้นผิวที่สัมผัสยังเป็นคล้างดินน้ำมันอยู่
    และในขณะที่ทำการพิมพ์นั้น ต้องบอกเลยว่า เป็นช่วงฟ้าฝนเป็นใจอย่างมาก แดด ไม่มีแม้แต่นิดเดียว ฝนล้วนๆ
    ทำให้การตากเรซิ่นกับแดด ต้องบอกเลยว่า เป็นไปไม่ได้เลย

    ใส่เข้าไปหลายๆชื้น และอบทีเดียวได้เลย

    เทคนิคการเชื่อมโมเดลเข้าหากัน
    ขั้นตอนต่อไปจะเป็นการยากที่สุดแล้ว เนื่องจากเป็นขั้นตอนการต่อโมเดล บอกได้เลยว่า ใช้สมาธิ และความนิ่งแบบสุดๆ
    สิ่งที่ต้องเตรียม
    1 ไฟฉายยูวี
    2 หลอดไซริ้งค์ ฉีดยา
    3 Washable Resin ที่เหลือ

    ใช้ ไซริ้งค์ เพื่อฉีดเรซิ่น

    *ทริคพิเศษ*
    หากชั้นระหว่างการเชื่อมโมเดลห่างกันมาก ให้เราเชื่อมแบบปกติเข้าไปก่อน จากนั้นให้ฉีดเข้าไปทีละนิดๆ พร้อมทั้งการฉายไฟฉาย UV เข้าไปด้วย
    เรซิ่น จะทำหน้าที่เหมือนปูน ที่จะค่อยๆกลบ ทีละชั้นๆ ทำให้ช่องว่างนั้นเติมเต็มได้ง่ายขึ้น
    (ต้องมือเบาๆมากๆในการฉีดเรซิ่น เนื่องจากมีการฉายแสงระหว่างฉีด จะทำให้เรซิ่นแข็งตัวอยู่ที่ปลายหลอด และฉีดยากขึ้น)

    ใช้ไฟฉาย UV ช่วยเชื่อมเรซิ่น

    การพ่นสี
    หลังจากการต่อโมเดลเสร็จแล้ว ให้นำโมเดล ไปล้างน้ำเปล่าอีกครั้ง เพื่อทำความสะอาดเรซิ่นที่เราเพิ่งเติมลงไป
    และทำการเป่าชิ้นงานให้แห้ง และอบหรือตากแดดอีกครั้ง ก่อนนำไป พ่นสี เพื่อให้ดูเป็นชิ้นเดียวกันมากขึ้น


    สรุปและแนะนำ
    เครื่อง FOTO 13.3 เป็นเครื่องพิมพ์ MSLA ที่ใช้ง่าย พิมพ์ได้ใหญ่ งานออกมาสวย และสมบูรณ์มากๆ พิมพ์หลายๆชิ้นในครั้งเดียว ผลคือรอดทุกชิ้น
    และการต่อโมเดล ต้องบอกเลยว่า จำเป็นอย่างมากในการใช้ Washable Resin เพราะ Washble Resin ถึงเราจะต่อผิดพลาดไปแล้ว เราสามารถรีบนำโมเดลนั้นไปล้างน้ำ
    หรือแก้ไขได้เลย เช่นการใช้เกรียงแซะหรืออาจจะเป็นอะไรมาขูดออกได้ ซึ่งการใช้เรซิ่นทั่วไปมาใช้ต่อโมเดล การทำความสะอาด การล้างจะยากกว่า สังเกตุแบบง่ายๆ ว่าทุกขั้นตอนการล้าง
    จะใช้เพียงน้ำเปล่า และตัวเรซิ่นเองก็สามารถใช้มือเปล่าจับได้เลยไม่เป็นอันตาราย และที่สำคัญ ไม่เหม็นแอลกอฮอล์ด้วย ต้องยอมรับเลย Model 13ชิ้นนี้ กินแรงไปอย่างมากเช่นกัน
    เพราะต้องใช้ความอดทน และใช้สมาธิที่สูงมาก ถ้าหากไม่อิน หรือไม่รักจริงๆอาจจะ ทำได้ไม่ดีสักเท่าไหร่ หากเจอคนที่ทำอาชีพทำเกี่ยวกับการปั้นโมเดล หรือรับพิมพ์โมเดล
    ต้องบอกเลย อย่าต่อราคา ค่าจ้างของพวกเขาเลยครับ