Glass Transition Temperature หรือ อุณหภูมิที่วัตถุประพฤติตัวเป็นของกึ่งแข็งกึ่งเหลว เป็นอุณหภูมิเฉพาะของวัสดุแต่ละชนิด ก่อนจะเปลี่ยนรูปเป็นของเหลว(ละลายเป็นของเหลว) ที่ใช้คำว่า Glass transition เพราะจริงๆแล้วแก้วไม่ใช่ของแข็ง แก้วมีลักษณะของกึ่งแข็งกึ่งเหลว สังเกตุได้จากกระจกตามโบราณสถานด้านล่างของกระจกนั้นจะหนากว่าด้านบน เนื่องจากเนื้อแก้วไหลลงตามแรงโน้มถ่วงของโลก หรือ เราอาจจะเป็นช่างทำแก้ว ใช้ความร้อนจนถึงจุด Glass transition จึงค่อยจัดรูป หรือ เปลี่ยนรูปร่างแก้วได้
หากอยู่ในสถานะนี้ วัตถุอาจจะสามารถบิดงอ โดยไม่แตกหักได้ ในเรื่องของเครื่อง print 3 มิติ นี้ใช้ความรู้เรื่อง glass transition ด้วยเกี่ยวเนื่องกับการทำชิ้นงาน ABS หรือ PLA คือ Heated Bed ควรใกล้เคียงกับ Glass Transition และ การเก็บชิ้นงาน 3 มิติที่ทำเสร็จแล้วควรเก็บ หรือ ใช้งานที่อุณหภูมิต่ำกว่า Glass Transition ไม่งั้นอาจจะเปลี่ยนรูปได้ง่าย
ตัวอย่าง Glass Transition Temperature ของวัสดุต่างๆ
Material | Tg (°C) |
---|---|
Low-density polyethylene (LDPE) | −125[17] |
Tire rubber | −70[18] |
Polyvinylidene fluoride (PVDF) | −35[19] |
Polypropylene (atactic) | −20[20] |
Polyvinyl fluoride (PVF) | -20[19] |
Polypropylene (isotactic) | 0[20] |
Poly-3-hydroxybutyrate (PHB) | 15[20] |
Poly(vinyl acetate) (PVAc) | 30[20] |
Polychlorotrifluoroethylene (PCTFE) | 45[19] |
Polyethylene terephthalate (PET) | 70[20] |
Poly(vinyl chloride) (PVC) | 80[20] |
Poly(vinyl alcohol) (PVA) | 85[20] |
Polystyrene | 95[20] |
Poly(methyl methacrylate) (atactic) | 105[20] |
Acrylonitrile butadiene styrene (ABS) | 105[21] |
Polytetrafluoroethylene (PTFE) | 115[22] |
Poly(carbonate) | 145[20] |
Polynorbornene | 215[20] |
CREDIT : Dreamcatcher@Print3Dd ข้อมูลจาก Wikipedia.org