เทคนิคพิเศษช่วยให้ “Resin Transperent” ออกมาเงา สวยใส ไม่ขุ่นมัวแม้ผ่านไปนาน

เทคนิคพิเศษช่วยให้ “Resin Transperent” ออกมาเงา สวยใส ไม่ขุ่นมัวแม้ผ่านไปนาน

หากพูดถึงการทำโมเดลเรซิ่น หลายๆคนต้องประสบปัญหา กับการพิมพ์เรซิ่นใส ที่ทำไมในโฆษณาถึงใส เงา สวย
แต่พอนำมาพิมพ์จริงๆกับสีขุ่นมัว ไม่ใสอย่างที่เห็น เนื่องจาก เรซิ่นใส ต้องอาศัยหลายๆปัจจัย เช่นอากาศ ความมันบนมือ
หรือแม้แต่การตั้งค่าแสงในการพิมพ์ เพราะหากการตั้งค่าที่ผิดพลาดมากเกินไป จะต้องพบเจอกับปัญหาเรซิ่นที่พิมพ์ออกมามันเหลือง
วันนี้เราจะมาแชร์ประสบการณ์ง่ายๆในการพิมพ์ Resin Transperent ที่จะออกมาสีสวย ใส เงา

Resin Transperent (สีใส)
ที่ใช้เป็น Standard Resin ที่เรานำสีมาผสมเพิ่มเติม เพื่อเลี่ยงอาการเหลืองของเรซิ่น หากใครสนใจทำตามสามารถนำสีอคริลิคมาผสมได้เลย
หรือหากมีเรซิ่นสีเบสอย่างสีขาว หรือสีเทาก็สามารถใช้ได้เช่นกัน แต่สีเทาต้องมีความรู้ด้านการผสมสี เนื่องจากไม่สามารถแก้ไขได้เพราะสีเทาเป็นสีทึบ จะไม่เหมือนสีขาว
ที่สามารถผสมแล้วแก้โดยใส่สีขาวเพิ่มเข้าไป

การเลือกชนิดเรซิ่นใน Chitubox
เนื่องจากเครื่องพิมพ์ เป็นของ Phrozen ส่วนมากโปรไฟล์น้ำเรซิ่นจะเป็นของ ค่ายทั้งหมดทำให้การตั้งค่าของเราจำเป็นต้องใช้ค่าน้ำยาที่
เป็นของ Phrozen sonic mighty 8K ขึ้นนำ โดยใช้เป็นน้ำยา Standard 4K และปรับเพิ่มเติมหัวข้อ Print ในส่วน Layer Hight เป็น 0.05 -0.1
และในส่วนของ Exposure Time เป็น 4.5 ส่วนที่เหลือใช้ตามโปรไฟล์เดิมของเขาได้เลย หากกลัวงานที่ออกมาจะเหลือง แนะนำให้ Exposure Time เป็น 3.5

ขั้นตอนการแกะชิ้นงาน
การนำตัวงานไปล้างกับ IPA นั้นสำคัญ แนะนำให้ใช้ สเปรย์ฉีดพ่นและจากนั้นทำการตัดซัพพอร์ท ในตอนนั้นหากเป็นงานที่บาง แต่ในกรณ๊งานที่มีความแข็งแรงอยู่แล้ว
ให้ล้างให้เสร็จ และตัดโดยไม่ต้องรอให้แห้งสนิท เนื่องจาก Support จะแกะง่ายสุดตอนที่โดน IPA หรือแอลกอฮอล์ หลังจากแกะซัพพอร์ทเสร็จแล้ว ล้างงานอีกรอบในรอบนี้ต้องล้างให้น้ำยาซิ่นออกให้หมด
โดยความรู้สึกเมื่อจับไปจะไม่ลื่น ไม่เหนียว และจากนั้นตากให้แห้ง หลังจากแห้งแล้วนำเข้าตู้อบเพื่อให้เรซิ่นแข็งขึ้น และตามด้วยการขัดเก็บงาน

การขัดเก็บชิ้นงาน
แนะนำเบื้องต้นสิ่งที่ต้องเตรียมคือ กระดาษทราบ 3เบอร์ได้แก่ เบอร์ 150 (หยาบมาก) เบอร์ 400 (หยาบกลาง) เบอร์ 1000(ไม่หยาบเลย)
เริ่มนำกระดาษเบอร์ 150 ขัดถูกให้ถึงทุกส่วนของโมเดล ถ้าส่วนไหนซัพพอร์กินเยอะแนะนำให้ขัดเน้นๆ หรือมีรอยซัพพอร์ทออกมา หลังจากนั้นให้นำเบอร์ 400 ขัดอีกรอบเพื่อเก็บงานอีกครั้ง
หลังจากขัด เบอร์ 400 เสร็จแล้วให้ทำการนำเบอร์ 1000 มาลูบเก็บให้ทุกส่วนของโมเดล หากเป็นซอกเล็กอาจจะต้องหาตัวช่วยให้การขัด (หากไม่ขัดการเกาะของสี อาจจะทำให้เกาะไม่ดี) ขัดเสร็จแล้วแนะนำให้นำล้าง แอลกอฮอ์เพื่อเอาเศษเรซิ่นที่ขัดออกและตากให้แห้ง

ขั้นตอนพ่นแลคเกอร์
แลคเกอร์ที่ใช้เป็น PYLAC 1000 สี 230 แลคเกอร์ ทำโดยการฉีดเบาๆ ไม่ต้องหนามากและรอให้แห้ง หลังจากแห้งแล้วค่อยพลิกทำด้านอีกๆ จนครบ และทำแบบเดิม 2 รอบ
หลังจากการฉีดพ่นรอบแรกจะเห็นอย่างชัดเจนเลยว่ามีความเงามากขึ้นและใสอย่างชัดเจน สิ่งที่ต้องระวังและสำคัญอย่างมากคือการพ่นที่หนามากเกินไป และแห้งไม่สนิท ซึ่งจะทำให้เห็นเป็นรอยนิ้วมือหรือรอยบุ๋มลงไป

**Trick เพิ่มเติม***
หากงานที่ทำเป็นงานประเภทขวด หรือที่มีด้านในกรวง แนะนำให้ใช้นำมันออย ในการใส่เข้าไปด้านใน เพื่อล้าง และเคลือบ แต่อาจจะใสไม่พอที่แสงสว่างจะผ่านได้
แต่ไม่แนะนำให้นำไพแลคพ่นเข้าไป เนื่องจากจะเกิดอาการเยิ้มของสีที่พ่นและงานเสียได้

สรุป
การใช้ Transperent ในการทำโมเดล มีความสวยงามที่ไม่เหมือนใคร และสีใสก็อาจจะดูยุ่งยากหน่อย แต่หากเป็นคนที่โมเดลอย่างจริงๆ
จะเห็นได้ว่าขั้นตอนที่ว่ามาทั้งหมดนั้นเป็นขั้นตอนปกติของการทำโมเดลทั้งหมด เนื่องจากการพิมพ์โมเดลอย่างที่รับรู้กันว่า จะไม่ได้ Perfect 100%
หากอยาก Perfect ต้องใช้แรงของเราเข้ามาร่วมด้วย และการเลือกใช้วัสดุที่ทำเพิ่มเติม สามารถแก้ไขได้ ไม่มีผิดถูก เนื่องจากเป็นสิ่งที่เรียกว่า ศิลปะ