Layer shift เรื่องเล็กที่ไม่เล็ก ต้องระวัง!!!!!!!!!!!!

Layer shift เรื่องเล็กที่ไม่เล็ก ต้องระวัง!!!!!!!!!!!!

สำหรับผู้ใช้งานเครื่องพิมพ์สมมิติระบบ FDM มือเก๋าหลายๆท่านน่าจะทราบกันดีว่าพอเครื่องเริ่มเก่าแล้วก็มักจะเริ่มมีปัญหาจุกจิกตามมาพอสมควร ทั้งพิมพ์ไม่สวย พิมพ์ไม่ตรง ความร้อนเพี้ยน และอื่นๆอีกมากมายที่กล่าวถึงไม่หมดครับ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึงปัญหา Layer shiftกันครับ

Layer Shift คืออะไร?

layer shift หรืออาการหลุดสเต็ป อาการนี้คือเครื่องจะมีลักษณะการพิมพ์งานไม่ตรงจุดเดิมซึ่งอาจจะเบี้ยวหรืออาจจะหลุดจากแนวเดิมที่เคยพิมพ์ไว้(งานเสียรูปจะเป็นอีกกรณีนึง) ซึ่งสามารถเกิดได้หลายแบบและหลายครั้งในการพิมพ์งานครั้งเดียว โดยสามารถดูงานเสีของอาการเหล่านี้ได้จากรุปด้านล่างครับ

ต้นเหตุของ layer shift


ต้นเหตุของอาการนี้มีหลากหลายมากครับแต่โดยส่วนใหญ่แล้วปัญหาจะมาจากตัวเครื่องพิมพ์เป็นหลักครับ เพราะสาเหตุใหญ่ของอาการLayer shift นี้คือเครื่องพิมพ์เกิดการสะดุดระหว่างการพิมพ์ เช่น เครื่องมือตกลงไปขัดตอนเครื่องกำลังพิมพ์ เกิดการกระแทกกับเครื่องอย่างรุนแรง หรือมีชิ้นส่วนสึกหรอครับ

รางLinear Guide/ Shaft rod /ล้อเลื่อน

แต่ละเครื่องนั้นจะใช้แกรการเครื่องที่ไม่เหมือนกันครับ บางเครื่องใช้ Linear Guide หรือ shaft Rod ซึ่งระบบเหล่านี้จะมีการใช้ลูกปืนในการหล่อลื่นเวลาเคลื่อนที่ครับ และลุกปืนที่แหละเป้นส่วนที่เราต้องดูแลเป็นประจำครับ วิธีการก็ง่ายมากครับ เพียงแค่หยอดน้ำมันบนแกนการเคลื่อนที่อย่างสม่ำเสมอและเช็ดฝุ่นออกจากแกนเป็นประจำ

อีกส่วนที่เจอเป็นประจำก็คือแกนเบี้ยวหรือแกนการเคลื่อนที่ทั้งแกนXและแกนYไม่ตั้งฉากกันพอดี จะส่งผลทุกครั้งที่เกิดการเคลื่อนที่จะมีการสะดุดอยู่ตลอดเวลาที่พิมพ์ แกนเบี้ยวนั้นส่วนมากจะเกิดจากการขนส่งเครื่องด้วยความไม่ระมัดระวัง เช่น ทำตก โยน กระแทก


การเลือกใช้สารหล่อลื่นสำหรับเครื่องพิมพ์นั้นไม่ตายตัวครับ สามารถใช้ได้หมดเกือบทุกชนิดแต่เพียงต้องดูว่าไม่ใช้แบบที่มรความหนืดสูงเกินไป(จารบีเหลืองอันนี้ไม่แนะนำครับ) หากใครไม่รู้ว่าจะเลือกตัวไหนเราก็มมาแนะนำครับ
– จารบีขาวหรือน้ำมันหล่อลื่น SuperLube
– น้ำมัน WD40 Specialist Dry lube with PTFE
– น้ำมันจักร Singer หรือยี่ห้ออื่นๆที่คล้ายกัน

สายพาน / Pulley

ต่อจากแกนการเคลื่อนที่นั้น มอเตอร์ก็จะทำให้แกนเคลื่อนที่ได้ด้วยการดึงสายพานไปมาและแน่นอนว่าสายพานมีการใช้งานอย่างต่อเนื่องครับย่อมมีการเสื่อมสภาพเหมือนกันครับ ดังนั้นเมื่อใช้งานไปนานๆก็มีการหย่อนยานไปบ้งครับ แต่ในกรณีของสายพานนั้นจะเป็นส่วนที่เสียยากพอสมควรครับถ้าไม่เกิดอุบัติเหตุแบบรุนแรงหรือใช้งานแบบนานมากๆสายพานนั้นก็ยากที่จะขาดครับ การดูแลในส่วนของสายพานนั้นเบื้องต้นหากเกิดการหย่อนยานก็เพียงแค่ปรับให้ตึงเหมือนเดิมก็เรียบร้อยครับ

มอเตอร์

มอเตอร์เป็นอุปกรณ์บนเครื่องพิมพ์สามมิติที่เรีกได้ว่าอายุการใช้งานยืนยาวมาก เรียกได้ว่ายืนยาวกว่าชิ้นส่วนอื่นๆของเครื่องด้วยซ้ำแต่ทั้งนี้ก้ขึ้นอยู่กับเกรดของมอเตอร์ด้วยเหมือนกันครับ วิธีตรวจสอบก็เพียงแค่ลองเคลื่อนแกนไปมาหากการหมุนของมอเตอร์ไม่ลื่นหรือฝืดเกินกว่าที่ควรจะเป็นก็อาจจะต้องลองมองหามอเตอร์มาทดแทนแล้วครับ

สรุป
อาการlayer Shift เป็นอาการที่ส่งผลกระทบต่อชิ้นงานที่กำลังพิมพ์โดยตรงซึ่งผลนั้นมาจากสภาพเครื่องพิมพ์ที่ไม่สมบูรณ์ ซึ่งปัญหานี้จะเห็นว่าสาเหตุแต่ละอย่างไม่ใช่เรื่องเล็กเลย ดังนั้นต้องทำการหล่อลื่นแกนเคลื่อนที่และตรวจสอบอุปกรณืส่วนต่างๆของเครื่องอยู่เสมอครับ