เคล็ดไม่ลับซ่อมหัวพิมพ์ Adventure 5M/5M Pro แบบง่าย ๆ

เคล็ดไม่ลับซ่อมหัวพิมพ์ Adventure 5M/5M Pro แบบง่าย ๆ

วิธีซ่อมแซมหัวพิมพ์ (Nozzle) เครื่องพิมพ์ Adventure 5M และ Adventure 5M Pro อย่างง่าย

อาการหัวพิมพ์ตันเป็นอาการทั่วไปที่เกิดขึ้นได้กับเครื่องพิมพ์ตระกูล FDM ทุกรุ่น อย่างไรก็ตามมีวิธีแก้ไขอาการเบื้องต้นที่สามารถทำให้หัวพิมพ์กลับมาใช้งานได้ตามปกติ วันนี้ทางทีม Print3DD จะมาแนะนำถึง สาเหตุที่ทำให้หัวพิมพ์ตัน วิธีการซ่อมแซมหัวพิมพ์ และวิธีการดูแลรักษา

 

สาเหตุที่ทำให้หัวพิมพ์ตัน

  1. เศษวัสดุพิมพ์ (Filament)
    – เศษพลาสติกหรือวัสดุที่หลงเหลือจากการพิมพ์ครั้งก่อนอาจติดอยู่ในหัวพิมพ์ ทำให้เกิดการอุดตัน
    ** คำแนะนำ ** หากพบปัญหานี้บ่อยครั้ง อาจถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนเส้นพลาสติกเป็นรุ่นที่มีคุณภาพสูงขึ้น!
  2. อุณหภูมิการพิมพ์ไม่เหมาะสม
    – หากอุณหภูมิการพิมพ์สูงหรือต่ำเกินไป จะทำให้วัสดุพิมพ์ไม่ละลายอย่างถูกต้องและเกิดการอุดตันได้
    ** คำแนะนำ **  ควรตรวจเช็คอุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับเส้นที่ใช้
  3. การปรับระดับฐานพิมพ์ไม่ถูกต้อง
    – หากฐานพิมพ์ไม่อยู่ในระดับที่เหมาะสม หรือ ชิดกับหัวพิมพ์มากเกินไป อาจทำให้วัสดุพิมพ์ (Filament) ไม่ถูกส่งลงสู่หัวพิมพ์ (์Nozzle) อย่างเหมาะสม และอุดตันได้
    ** คำแนะนำ ** ควรตั้งระดับฐานพิมพ์เป็นประจำ เพื่อลดความผิดพลาดจากการพิมพ์
  4. คุณภาพของวัสดุพิมพ์
    – การใช้วัสดุพิมพ์ที่มีคุณภาพต่ำหรือวัสดุที่มีความชื้นอาจทำให้เกิดการบวมและอุดตันในหัวพิมพ์
    ** คำแนะนำ ** เลือกวัสดุพิมพ์ Filament ที่ดี และเหมาะสมกับงานจากทาง Print 3DD เพื่อการพิมพ์ที่ราบรื่น!

Showing 1–6 of 14 results


การซ่อมแซมหัวพิมพ์เบื้องต้น (Nozzle)

การซ่อมแซมหัวพิมพ์ (Nozzle) ของเครื่องพิมพ์ Adventure 5M และ Adventure 5M Pro ไม่ใช่เรื่องยาก หากคุณปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้อย่างระมัดระวัง
โดยสำหรับการซ่อมแซมหัวพิมพ์ที่อุดตัน ในกรณีที่เกิดการอุดตันไม่มากนักสามารถซ่อมแซมอาการเบื้องต้นได้ง่ายๆตามวิดีโอด้านล่างนี้

แต่ถ้าหากทำตามวิดีโอดังกล่าวแล้วหัวพิมพ์ยังมีอาการอุดตันจนไม่สามารถใช้งานต่อได้ลองทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการซ่อมแซมหัวพิมพ์เพิ่มเติม (Nozzle)

  1. ถอดหัวพิมพ์ออกจากเครื่อง
    – ปิดเครื่องพิมพ์และถอดหัวพิมพ์ออกอย่างระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายเพิ่มเติม
  2. ถอดส่วนปลายหัวพิมพ์
    – ใช้ประแจหรือคีมหนีบในการถอดบริเวณปลายหัวพิมพ์
    – ต้องมั่นใจว่าไม่มีการกดหรือดึงอย่างแรงเพื่อป้องกันการเสียหาย
  3. ถอด Heat sink
    – ใช้ประแจหรือคีมหนีบในการถอดส่วนที่เป็น Heat sink ออกจากหัวพิมพ์
    -ควรทำอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันความเสียหายและการผิดรูปของ Heat sink
  4. ทำความสะอาด Heat Sink
    – ใช้เข็มเหล็กแทงเส้นพลาสติกที่ติดอยู่บริเวณ Heat Sink ออกอย่างระมัดระวัง เพื่อกำจัดพลาสติกที่ติดอยู่ภายใน Heat sink
  5. ประกอบชิ้นส่วนทั้งหมดกลับ
    – เมื่อทำความสะอาดเสร็จแล้ว ให้ประกอบทุกชิ้นส่วนกลับเข้าด้วยกันตามเดิม
  6. ติดตั้งหัวพิมพ์เข้าเครื่องพิมพ์
    – นำหัวพิมพ์ที่ประกอบเรียบร้อยแล้วกลับไปติดตั้งเข้ากับเครื่องพิมพ์
  7. ทดสอบการพิมพ์
    – ทดลองใช้ฟังก์ชันทดสอบการโหลดเส้น (Load Filament) เพื่อให้แน่ใจว่าหัวพิมพ์ทำงานได้ตามปกติ
    **อย่าลืม:** เลือกใช้วัสดุพิมพ์ที่เหมาะสมกับการใช้งานและเลือกใช้เส้นพลาสติกคุณภาพสูงจาก Print3DD สำหรับการทดสอบการพิมพ์ เพื่อป้องกันปัญหาการอุดตันของหัวพิมพ์ในอนาคต!

**หากคุณมีคำถามเพิ่มเติมหรือต้องการความช่วยเหลือเพิ่มเติมเกี่ยวกับการซ่อมแซมเครื่องพิมพ์ 3D ของคุณ สามารถติดต่อเราได้ทุกเมื่อ ทางทีม Print3DD ยินดีให้คำปรึกษาและบริการหลังการขาย**

Showing all 4 results