รีวิว การใช้งาน PETG และ Nylon Filament

รีวิว การใช้งาน PETG  และ Nylon Filament

Compare03
บทความนี้เรา Print3dd มาเจาะลึกการใช้งาน PETG (Polyethylene terephthalate) พลาสติกที่ใช้ทำขวดน้ำดื่ม, Nylon (Polyamides) พลาสติกที่ใช้ทำเสื้อผ้า และ กระเป๋า เชือก

คุณสมบัติ

PETG

อย่างที่ทราบกัน PET เป็นพลาสติกที่ใช้ทำขวดน้ำดื่ม ภาชนะใส่อาหาร เนื่องจากมีคุณสมบัติเหนียวขึ้นรูปได้ง่าย อีกทั้งมีความใส ไม่มีสารเจือปนอันตราย จึงนิยมนำมาใช้เป็นภาชนะบรรจุภัณฑ์ เมื่อเทียบกับ Nylon แล้ว PETG ใสกว่าใช้งานง่ายกว่า เพราะไม่ดูดความชื้นเหมือน Nylon ใช้งานได้ง่ายใกล้เคียง PLA แต่มีความแข็งแรงกว่า เหนียวกว่า แล้วทนกับอุณหภูมิได้มากกว่า เส้นไม่เปราะเหมือน PLA

0183860

Nylon

โดยทั่วไปใช้ทำเสื้อผ้า และ กระเป๋า เนื่องจากเหนียวและยืดหยุ่นสูง มีลักษณะเป็นเส้นใย คุณสมบัติอีกข้อที่น่าสนใจคือ Nylon มีรูพรุนทำให้ดูความชื้นหรือติดสีได้ จึงใช้คุณสมบัติในการย้อมสีได้ (แต่ก็เป็นข้อเสียของมันเองเช่นกัน คือเวลาเก็บต้องเก็บในที่แห้ง หากชื้นทำให้พิมพ์ยากขึ้น) มีคุณสมบัติเหนียวไม่เปราะ

Many_NYLON_Pots

การใช้งาน

PETG

ค่าที่แนะนำให้ใช้คือ อุณหภูมิหัวฉีด 230-240 ฐานพิมพ์ จะปิดหรือตั้งที่ 50-60องศาก็ได้ ความเร็วในการพิมพ์ 30-50mm/sec
ผลการทดสอบใช้งานได้ค่อนข้างง่าย ใกล้เคียงกับ PLA และง่ายกว่า ABS ค่อนข้างมาก ขณะพิมพ์มีลักษะเหนียวกว่า PLA จึงอาจจะต้องพิมพ์ที่ค่าเร็วต่ำกว่าเล็กน้อย
เป็นตัวที่แนะนำให้ใช้นะครับ แข็งแรงกว่า ทนอุณภูมิได้มากกว่า PLA พิมพ์ไม่ยาก เหมาะกับการทำชิ้นส่วน หรือ อะไหล่ที่รับแรง ติดอยู่อย่างเดียวที่มีเฉพาะสีใสธรรมชาติ

Nylon

ค่าที่แนะนำให้ใช้คือ อุณหภูมิหัวฉีด 240-250 ฐานพิมพ์ 50-60องศา ความเร็วในการพิมพ์ 30-50mm/sec
ผลการทดสอบ ทั้งพิมพ์ปกติ และ ย้อมสีก่อนพิมพ์ ถือว่าพิมพ์ยากกว่า PETG (พิมพ์ยากประมาณ ABS) แต่หดตัวหน่อยกว่า ABS เวลาพิมพ์จะมีเสียเหมือนน้ำเดือด(เส้นชื้น แก้โดยอบก่อนพิมพ์ทำให้พิมพ์ดีขึ้น)
ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนกว่าเส้นแบบอื่นคือสามารถย้อมสีได้โดย สีย้อมผ้าธรรมดา จะย้อมก่อนพิมพ์ หรือ ย้อมหลังพิมพ์ก็ได้ (ย้อมก่อนพิมพ์จะได้ลวดลายบนชิ้นงาน ย้อมหลังพิมพ์และได้สีเดียวกัน)
สามารถนำมาใช้เป็นของตกแต่งได้

ผลการทดสอบโดยการพิมพ์ชิ้นงานเดียวกัน

(ชิ้นงานทั้งหมดพิมพ์ด้วย Flashforge Creator Pro)
เรามาทดสอบพิมพ์ด้วยการพิมพ์ 3D เป็นกำไลข้อมือ ในขนาดเดียวกัน Setting คุณภาพเท่ากันเพื่อทดสอบ ทดสอบความใส การอยู่ทรงการคงสภาพ ความยืดหยุ่น
( http://www.thingiverse.com/thing:425784 )
ทดสอบความใส PLA กับ PETG มีความใสใกล้เคียงกันแต่ PLA มีความเงามากกว่า ส่วน Nylon นั้นเส้นขุ่นมาต้องแต่แรกแล้วพิมพ์ออกมายิ่งขุ่น เป็นฝ้าเหมือนมีฟองอากาศแทรกอยู่

Compare01
Compare05
ทดสอบความยืดหยุ่น Nylon ดูจะนิ่มยืดหยุ่นสุดแต่ไม่ค่อยคงรูป PLA ดูจะยืดหยุ่นบางพลิกได้ PETG ยืดหยุ่นเช่นกันแต่ดูแข็งแรงสปริงกลับดีที่สุด แต่เรื่องคงรูปต้องยกให้ PLA

Compare03
Compare02

ผลการทดสอบการย้อมสี Nylon

การย้อมสีเหมือนการย้อมไหมมัดหมี่ คือเรานำมาเป็นม้วนวงๆ และจุ่มกับสีย้อมผ้าแบบเย็นหรือแบบร้อน(ย้อมขณะน้ำสียังร้อนอยู่) แช่ไว้เป็นชม. เหมือนกันครับขณะทำการทดสอบ

IMG_0600
เมื่อได้เส้นมาแล้วก็ทำการอบให้แห้ง เราใช้ Dreamer อบครับ(เป็นตู้อบได้เหมือนกัน 🙂

IMG_0608

ทดสอบพิมพ์ ที่อุณหภูมิ 245องศา เปิดฐานพิมพ์ 60 องศา พิมพ์ด้วยความเร็ว 30mm/sec

DSC_0074

สรุป

หากท่านกำลังมองหาวัสดุแปลกใหม่ที่แข็งแรง ทนทานกว่า PLA และไม่โก่งตัวเหมือน ABS ท่านสามารถใช้ PETG และ Nylon ได้วัสดุทั้งสอง สามารถเป็นตัวเลือกให้ท่านในการทำ ชิ้นส่วนอะไหล่ หรือ โครงสร้างรับแรง หรือ ทนต่อสภาพแวดล้อม โดย PETG พิมพ์ได้ไม่ยาก Nylon พิมพ์ยากกว่าแต่ย้อมสีได้ ที่สำคัญเส้น PETG และ Nylon เหนียวและไม่เปราะเท่า PLA แต่น่าเสียดายที่มีให้เลือกเพียงสีเดียวคือใสธรรมชาติ
ความพิมพ์ง่าย-ยาก (เรียงจากง่าย ไปหา ยาก)

PLA > PETG > Nylon > ABS
หากจะพิมพ์เพื่อแน่นความสวยงาม ไม่ได้ไปใช้รับแรงอะไร ก็ใช้เป็น PLA ครับเพราะพิมพ์ง่ายสุด มีสีให้เลือกเยอะกว่า (PLA มีข้อเสียแค่เสียเปราะ / กับทนความร้อนมากไม่ได้ครับ)

ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติ อุณหภูมิหัวฉีด อุณหภูมิฐานพิมพ์ ความเร็วในการพิมพ์
PETG 225-240c ปิด หรือ 50c 20-50c
Nylon 240-250c 50-60c 20-50c
PLA 210-240c ปิด 40-80c

** เครื่องพิมพ์แต่ละยี่ห้อ หรือ รุ่น อาจจะใช้ค่าที่แตกต่างกัน **