พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับงานพิมพ์สามมิติสกัดจาก DNA ของปลาหมึก

พลาสติกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับงานพิมพ์สามมิติสกัดจาก DNA ของปลาหมึก

SONY DSC

แม้ว่า PLA จะเป็นวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ถูกใช้ในการพิมพ์สามมิติ แต่นักวิจัยจาก Penn State กำลังมองหาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่านี้อีก แล้วพวกเค้าก็พบพลาสติกที่มาจากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อว่าจะเป็นจริง นั่นคือ DNA ของปลาหมึก โดยได้รับเงินทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยทางทะเลและสถาบันวิจัยทางทหาร ทีมงานได้วิจัยถึงโปรทีนที่อยู่ในฟันของปลาหมึก (squid ring teeth – SRT)

Dr. Melik C. Demirel อธิบายว่า “บริษัทส่วนใหญ่มักจะมองหาวัสดุใหม่ๆ แต่ก็มุ่งไปยังพลาสติกสังเคราะห์ ซึ่งมันยังไม่พร้อมจะใช้งานจริงๆ ได้ และที่สำคัญมันไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ทั้งนี้ Dr. Demirel, Prof. Wayne Curtis, และทีมงานก็ได้เริ่มจัดลำดับพันธุกรรมของฟันปลาหมึก

Dr. Melik C. Demirel กล่าวอีกว่า “เราจัดลำดับพันธุกรรมของปลาหมึกหกสายพันธุ์จากทั่วโลก แต่เราเลือกสายพันธุ์ปลาหมึกของยุโรป” เขาสามารถสังเคราะห์โปรทีนได้ส่วนหนึ่งแล้ว รวมทั้งบางส่วนที่ให้ความคงตัวต่ออุณหภูมิ มีคุณลักษณะที่เหมือน thermoplastics คือหลอมละลาย และแข็งตัวได้ และยังคงความบริสุทธิไว้ได้ และมันยังมีน้ำหนักเบาที่สุด ซึ่งสามารถนำไปใช้ในกระบวนการทางอุตสาหกรรมเช่นการขึ้นรูป และใช้กับเครื่องพิมพ์สามมิติด้วย

ในการสร้างวัสดุนี้ นักวิจัยใส่ยีนของโปรตีนในฟันปลาหมึกเข้าไปในแบคทีเรีย E. coli แล้วให้มันลิตโมเลกุลของพลาสติก ผมก็คือเราจะได้พลาสติกที่มีลักษณะแข็งหรืออ่อนนุ่มได้ และยังมีลักษณะเป็นกาวเปียก หมายถึงสามารถเชื่อมติดกับวัตถุในขณะที่เปียกได้ ทั้งยังสามารถปรับแต่งได้ในขณะผลิตอีกด้วย ด้วยความที่เป็นวัสดุจากธรรมชาติ มันจึงสามารถใช้ในวงการยาและเครื่องสำอางได้ด้วย

Davide Sher กล่าวตลาดของวัตถุดิบในการพิมพ์สามมิติมีมูลค่าทางการตลาดเกินกว่าหนึ่งพันล้านเหรียญสหรัฐภายในปี 2019

ที่มา http://3dprintingindustry.com/2014/12/29/3d-printing-plastic-from-squid-dna/