PVA & PLA ซัพพอทเยอะแค่ไหนก็ละลายได้ด้วยน้ำเปล่า

PVA & PLA ซัพพอทเยอะแค่ไหนก็ละลายได้ด้วยน้ำเปล่า

ทดสอบการขึ้นรูป PLA และซัพพอท PVA ด้วยเครื่องพิมพ์ FlashForge Creator 3 สองหัวพิมพ์อิสระ จะดีอย่างไรมารับชมกันครับ

         เรามาทดลองพิมพ์ชิ้นงานโมเดลที่มีการใช้ซัพพอทหลายตำแหน่งและ บางตำแหน่งเราเป็นส่วนที่สำคัญของชิ้นงานบางท่านไม่ต้องการให้ชิ้นงานเป็นหลุมหรือมีส่วนที่สึกลงไปในตัวชิ้นงานในตอนนี้เรามาแนะนำเส้น Esun ePVA 1.75mm กันครับซึ่งบางท่านยังไม่ทราบว่าการพิมพ์งานในรูปแบบสามมิตินั้นมีเส้นเฉพาะทางในการช่วยการขึ้นรูปที่เรียกว่าซัพพอทแบบละลายน้ำได้ บางท่านจะพบว่าชิ้นงานบางชิ้น มีส่วนหลบมุมที่บางทีไม่สามารถแกะซัพพอทออกได้ หรือ แกะยากมากในบางส่วน และวันนี้เราจะมาแนะนำเครื่องพิมพ์ที่เป็นน้องใหม่มากความสามารถของเรา FlashForge Creator 3 เราจะมาขึ้นรูปโมเดลกันครับ โดยโมเดลนี้เป็นโมเดลที่ขึ้นรูปด้วยเส้นพลาสติก PLA และซัพพอทที่เราใช้คือ PVA ครับ

 

ภาพที่ 1 แสดงภาพโมเดลที่จะทำการพิมพ์สามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.thingiverse.com : Lattice Cube

ซัพพอทเยอะขนาดนี้คงต้องนั่งแกะซัพพอทแล้วต้องนั่งแต่งเองอีกเป็นชั่วโมงแน่ๆ แต่ไม่ต้องห่วงเราใช้ซัพพอท PVA แค่ละลายน้ำก็ไม่ต้องเปลืองแรงแถมเนื้องานยังไม่สึกอีกด้วย มาดูการตั้งค่าการพิมพ์สำหรับเครื่อง FlashForge Creator 3 กันครับ

 

ภาพที่ 2 แสดงการตั้งค่าการพิมพ์ขึ้นรูป 3 มิติ เมื่อใช้สองวัสดุ

ภาพที่ 3 แสดงภาพเครื่องพิมพ์ FlashForge Creator 3  [2] หัวพิมพ์ อิสระ

1. หัวพิมพ์ซ้ายใส่เส้น PLA 1.75 mm สีแดงจะสังเกตุเห็นได้ว่าเมื่อหัวพิมพ์ซ้ายทำงานหัวพิมพ์ขวาจะอยู่ ณ ตำแหน่งที่ห่างจากตัวชิ้นงานและขัดหัวพิมพ์รอการขึ้นซัพพอท

2. หัวพิมพ์ขวาใส่เส้น ePVA 1.75 mm สีธรรมชาติเพื่อเป็นซัพพอทของ PLA

** ซึ่งข้อดีของ FlashForge Creator 3 นั้นคือไม่จำเป็นต้องสร้าง Wall หรือ Oozing Shield เพื่อมาขัดหัวพิมพ์ระหว่างรอหัวพิมพ์ที่ทำงานอยู่ ซึ่งเครื่องพิมพ์รุ่นนี้มาช่วยขจัดปัญหาโหลดเส้นทิ้งออกไปได้ดีเลยทีเดียว **

 

  • ลดการใช้ Filament เมื่อมีการใช้งานหัวพิมพ์ 2 หัวพิมพ์ใน 1 งาน
  • ลดเวลาในการพิมพ์ขึ้นรูปงาน 3 มิติ
  • สามารถพิมพ์งาน 1 งานพร้อมกัน 2 ชิ้นได้ในเวลาเดียวกัน

มาเริ่มพิมพ์ขึ้นรูป 3 มิติกันเลยครับ

วีดีโอที่ 1 แสดงการทำงานของเครื่องพิมพ์ Creator 3 และการขึ้นรูปงาน

ภาพที่ 4 แสดงภาพชิ้นงานที่ขึ้นรูปเสร็จเรียบร้อยแล้ว ถ้าแกะซัพพอทชิ้นงานคงหักด้วยแน่ๆ ครับ ยังดีที่เราใช้เป็น PVA ละลายในน้ำเปล่าได้หมดห่วง ^^

* เรามาเริ่มการละลายซัพพอทกันครับ *

วีดีโอที่ 2 แสดงการละลายตัวของซัพพอท PVA ขณะที่อยู่ในน้ำ

ภาพที่ 5 แสดงภาพชิ้นงานที่ถูกละลายซัพพอทเรียบร้อยแล้ว สวยงามตามท้องเรื่องครับ

 

** ไม่จำเป็นต้องแกะซัพพอทให้เปลืองแรงและเปลืองเวลา **

** ป้องกันการเสียหายขณะที่แกะซัพพอทของชิ้นงานได้ดีเลยทีเดียวครับ **