Review Flashforge Adventurer 4 เครื่องแรกในประเทศไทย มีอะไรอัพเกรดมาบ้าง!!

Review Flashforge Adventurer 4 เครื่องแรกในประเทศไทย มีอะไรอัพเกรดมาบ้าง!!

Flashforge Adventurer4 เครื่องพิมพ์3มิติ ที่ถูกพัฒนามาจาก Adventurer3 จะมีอะไรมาใหม่ น่าสนใจแค่ไหน!!!
ต้องบอกเลยว่า 3D Printer Adventurer4 ที่จะรีวิววันนี้เป็น 3D Printer ระบบ FDM ที่ถูกจัดให้อยู่ในหมวดหมู่สำหรับผู้เริ่มต้นไปจนถึงมือโปร
เพราะความหลากหลายและการรองรับของเครื่องที่มีมาก ทำให้สามารถใช้ได้ทุกระดับ  ณ ปัจจุบัน นับว่าเป็นเครื่องแรก ที่มีในประเทศไทย
เพราะเป็นรุ่นใหม่ที่ออกมาได้ไม่นานนี้เอง

บทความทั้งหมด

Flashforge Adventurer 4

Design ของตัวเครื่อง
หลังจากที่ทาง Flashforge ได้ปล่อย Adventurer4 ออกมา ทาง “Print3DD” ที่เป็น Partner หลักกับทาง Flashforge ก็ได้รับเครื่อง Adventurer4 มาเป็นที่แรกในประเทศไทย
ต้องบอกเลยว่าลักษณะภายนอกดูสวยและดูดีอย่างมาก เครื่องถูกออกแบบมาให้สามารถวางได้หลายสถานที่ เช่น ในบ้าน ในออฟฟิศ ในโรงเรียน หรือพื้นที่เวิร์คช๊อป
เนื่องจากมีกรองที่สามารถกรองสารพิษ และอากาศที่อยู่ภายในสู่ภายนอก นับว่าใช้ง่ายและปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน จัดอยู่ในโหมด Midle Size

ขนาดการพิมพ์และตัวเครื่องใหญ่ขึ้นถึง 3.2เท่า!!!

Adventurer4 มีอะไรใหม่
ภายนอกของเครื่อง Adventurer4 จะพูดได้ว่ามันคือ Adventurer3 ที่ถูกอัพเกรดใหม่เป็นสีดำทั้งเครื่องและใหญ่ขึ้นถึง 3.2เท่า!!!
ส่วนของตัวเครื่องเริ่มจากหน้าจอ Touch Screen 4.3นิ้ว ที่มีการพัฒนาให้สัมผัสง่ายขึ้นอีกด้วย ส่วนด้านข้างของเครื่องก็มีการขยายช่องการใส่เส้น Filament
ให้สามารถใส่เส้นได้ตั้งแต่ขนาด 500-1,000gปกติของ Adventurer3 จะไม่สามารถใส่เส้นม้วนขนาด 1,000g ได้การใส่ม้วนขนาดใหญ่จะต้องมีส่วนเสริมเช่นขาตั้งม้วนที่ด้านนอกเครื่อง ซึ่งถ้าหากต้องการที่จะใช้ Adventurer3 ก็ต้องบอกเลยว่าไม่เป็นอุปสรรคเพราะ ถ้าซื้อเครื่องกับทางร้านเรา เราก็จะมีแถมม้วนตั้งที่ด้านนอกให้ หรือหากต้องการนำไปทำเองเราก็มีโมเดลขาตั้งม้วนที่อยู่หลังกล่อง Filament PLA/ABS ของทางร้านให้เช่นกัน

จุดเด่นที่มีการพัฒนาของ Adventurer4

ด้านในของตัวเครื่อง Adventurer4
ด้านในของเครื่องนั้นจะเรียกได้ว่าพัฒนาเพิ่มขึ้น เริ่มต้นภายในจากที่เห็นชัดเจนคือพื้นที่การพิมพ์ที่ ใหญ่ขึ้น  3.2เท่า
คือขนาด 220*200*250mm ที่อ้างอิงจาก Adventurer3 ที่ขนาด 150*150*150mm และฐานพิมพ์ที่มาแบบ PEI ที่จะทำให้ตัวงานของเราติดกับแผ่นพิมพ์ได้ง่ายขึ้น เรียกได้ว่างาน Fail น้อยลงแน่นอน ในการแกะชิ้นงานออกจากฐานพิมพ์ก็แสนง่าย เพราะแผ่นพิมพ์เป็นแบบ Flexible ซึ่ง Adventurer3 เองก็เป็นแบบ Flexible เช่นกัน ฐานพิมพ์ของ Adventurer4 เองก็เป็นฐานทำความร้อนที่สามารถทำความร้อนได้สูงสุด 110°c ส่วนพิเศษที่เพิ่มเข้ามาซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากๆคือแผ่นกรองอากาศ HEPA หรือที่ย่อมาจากคำว่า “High Efficiency Particulate Air Filter” จัดเป็น แผ่นกรองอากาศคุณภาพสูง ทำมาจากเส้นใยไฟเบอร์กลาส (Fiberglass) ถักทอจนมีขนาดที่เล็กมากๆ จนมันมีความสามารถ ในการกรองฝุ่นละอองขนาดเล็กมากๆ ทำให้สารพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของเส้น ไม่สามารถออกมาสู่ภายนอกได้ จึงทำให้ง่ายต่อการติดตั้งในหลายๆสถานที่

แผ่นพิมพ์ PEI แบบ Flexible

ทางด้านของหัวฉีดที่พัฒนาพิเศษ ที่สามารถถอดเปลี่ยนได้โดยการใช้มือเปล่าได้เลย ซึ่งการถอดก็ทำแสนง่าย กดปุ่มที่หัวพิมพ์และดึงออกได้เลยตามภาพด้านล่าง ซึ่งAdventuer3 เองก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่สิ่งที่พัฒนาเพิ่มขึ้นมาคือการรองรับหัวฉีด HighTemp โดยหัวฉีด HighTemp เองก็ต้องบอกเลยว่ามีแถมมาให้พร้อมเลย หัวฉีดที่มีแถมมาให้นั้นจะเป็น 0.4-240°cและ 0.4-265°c ซึ่งบอกเลยว่า Adventurer3 ปัจจุบันยังไม่มี… แต่อนาคต Flashforge อาจจะพัฒนาให้สามารถใช้ได้นะ

การถอดเปลี่ยนหัวฉีดของ Adventurer4

การพัฒนาของหัวฉีด HighTemp ไม่ได้พัฒนาให้รองรับความร้อนได้เพียงอย่างเดียว แต่ตัวทำความร้อนของหัวฉีดก็ถูกพัฒนาเช่นกัน โดยทั่วไปแล้วการทำความร้อนของหัวฉีดนั้นจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-3นาที แต่การพัฒนาครั้งนี้ทำให้ Adventurer4 สามารถทำความร้อนได้ไม่ถึง 1นาที โดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 52-53วินาทีโดยนับจากอุณหภูมิปกติจนถึง 240°c

ทำความร้อน 240°c ในเวลาเพียงแค่ 51 วินาที

และสิ่งที่พัฒนามาถึงขั้นสุดยอดอีกอย่างคือ Camera Build In หากถามว่าแล้วพิเศษตรงไหนในเมื่อหลายๆเครื่องของ Flashforge เองก็มีกล้องเช่นกัน
ต้องบอกเลยว่ากล้องของ Adventurer4 นั้นสามารถถ่ายภาพได้ ดูชิ้นงานผ่านอินเตอร์เน็ตได้ แต่สิ่งที่เพิ่มมาพิเศษคือการถ่ายวีดีโอ TimeLaps โดยการถ่ายทุกๆ 1%ของชิ้นงาน
และนำมาภาพมาต่อกันจนกลาย Video TimeLaps

Video TimeLaps จาก Adventurer4
สามารถใส่เส้นได้ตั้งแต่ 500-1,000g และหัวฉีด HighTemp

 

 

 

 

เมนูของตัวเครื่องใช้งานยังไง
การใช้งานเมนูของตัวเครื่อง เป็นเมนูที่เข้าใจง่าย และมีหลายภาษามากๆ ซึ่งในอนาคตจะมีอัพเดทภาษาไทยแบบ Adventurer3 อย่างแน่นอน
เนื่องจากตอนนี้เครื่องยังเป็นการพัฒนาอยู่เรื่อยๆ ถามว่าทำไมเราถึงรู้หลายๆเรื่องเกี่ยวกับ Flashforge ต้องขอบอกก่อนว่า เราเป็น Partner
โดยตรงและเมนูภาษาไทยที่มีในเครื่องก็มาจากเรา Print3DD ที่ส่งข้อมูลการอัพเดทไปเพื่อให้ผู้ผลิตอัพเกรดเฟิร์มแวร์เข้ามาในเครื่อง
เราช่วยเหลือลูกค้าเต็มที่ให้ลูกค้าได้ใช้งานเครื่องที่ง่ายขึ้น และใน Adventurer4 มีเมนูหลักๆอยู่ 4 เมนู คือ

 

 

 

 

 

1 Build ภายในเมนูนี้จะมีการเรียกไฟล์ต่างๆของเครื่องและแฟลชไดร์ฟ ซึ่งสามารถเรียกไฟล์ที่เคยพิมพ์มาแล้วได้เช่นกัน

ไฟล์ที่เคยพิมพ์และสามารถดูรายละเอียดของการพิมพ์ในไฟล์นั้นได้อีกด้วย

 

2 Prepare เป็นการเช็คความร้อนและเตรียมอุณหภูมิความร้อนทั้งฐานพิมพ์ หัวฉีด รวมถึงการเปลี่ยนหรือโหลดเส้นเข้าเครื่อง

เมนูภายในของ Prepare

3 Settings ในเมนูนี้เป็นเมนูที่เยอะมากๆ มีมาถึง 2หน้าด้วยกัน

ภายในเมนูของ Settings

3.1 Move : เป็นการขยับหรือเคลื่อนย้ายของหัวพิมพ์และฐานพิมพ์ เพื่อดูสิ่งผิดปกติ
3.2 Wifi : เป็นการตั้งค่าการเชื่อมต่อของ Wifi Internet,Hotspot,WLAN,Flash Cloud,Polar Cloud
3.3 Fan : เปิดและปิดพัดลม เพื่อระบายอากาศหรือกลิ่นหลังจากเสร็จงานแล้ว
3.4 Language : เปลี่ยนภาษาที่แสดงของเครื่อง
3.5 Status : ตรวจสอบอุณหภูมิของอุปกรณ์ต่างๆภายในเครื่อง
3.6 Camera : เป็นการเรียกดูภาพภายในเครื่องหรือ Video TimeLaps ภายในเครื่อง

3.7 Brightness : ปรับแสงไฟหน้าจอแสดงผล
3.8 Light :  ปรับแสงไฟที่หัวพิมพ์
3.9 FilamentDetect : เปิด/ปิด ระบบเช็คเส้น
3.10 Buzzer : เปิด/ปิด เสียงเตือนการสัมผัสหน้าจอ และตัวเครื่อง
3.11 PrinterName : ตั้งค่าชื่อเครื่องพิมพ์
3.12 About : ดูรายละเอียดทั้งหมดของตัวเครื่อง ทั้ง IP Address จำนวนชั่วโมงการพิมพ์ เป็นต้น
3.13 FactoryReset : รีเซ็ทเครื่องคืนค่าโรงงาน

4 Maintain เมนูเกี่ยวกับการอัพเดทรวมถึงการรีเซ็ตข้อมูลของเครื่อง

เมนูการตั้งค่า Maintain

4.1 Upgrade : Upgrade Program ของตัวเครื่อง
4.2 Log : เมื่อไหร่ที่เครื่องมีปัญหาในการตั้งค่าต่างๆหรือผิดปกติ บันทึกหรือคัดลอกอาการเพื่อส่งรายงานให้กับทางผู้ผลิตได้
4.3 Calibration : เป็นการตั้งค่าฐานพิมพ์ เพื่อทำให้การพิมพ์ที่ดีขึ้น
4.4 ChangeExtruder : ตั้งค่าหัวพิมพ์ที่เราใช้ เพื่อการทำงานของเครื่องที่มั่นคง
4.5 Maintain : เป็นเมนูที่รวมข้อส่งสัย Q&A ของเครื่อง Adventurer4 เอาไว้ให้ผู้ใช้ได้ศึกษาหรือหาคำตอบเบื้องต้น

สรุปตัวไหนดีกว่ากัน

Adventurer4 เครื่องมีขนาดใหญ่กว่า Adventurer3 ถึง 3.2เท่า และมีการอัพเกรดหรือพัฒนาส่วนอื่นๆเข้ามาอีกมาก เครื่องนี้สามารถใช้ หรือตั้งได้ทุกที่ เนื่องจากเครื่องเป็นทรงปิด และสามารถดูตัวงานหรือวิธีการทำงานเครื่องได้ง่าย เนื่องจากมีพื้นที่ใสทั้ง3ด้านให้มองเห็นตัวงาน และด้วยกรองอากาศ HEPA ที่กรองอากาศพิษภายในตัวเครื่องทำให้เครื่องนี้สามารถตั้งได้ทั้ง ในบ้าน ในโรงเรียน ในสำนักงาน หรือพื้นที่เวิร์คช๊อป และการใช้งานของตัวเครื่องก็ใช้ง่าย กับผู้ใช้ มี Resume Print ที่สามารถพิมพ์ต่อได้เมื่อไฟดับ หัวฉีดที่สามารถถอดได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ และสามารถอัพเกรดเปลี่ยนไปใช้หัว HighTemp ก็ยังได้ อย่างสำคัญคือ มีแถมมาให้ด้วยเป็นหัว 0.4-265°c และอีกหลายหัวที่สามารถสั่งซื้อแยกเพื่อใช้งาน พร้อมกับในอนาคตจะมีหัวฉีดอีกหลายแบบที่สามารถใส่กับเครื่องนี้ได้อีกมาก จากที่เครื่องใส่หัวความร้อนได้หลายขนาดจึงทำให้พิมพ์วัสดุได้หลากหลายเช่น ABS / PLA / PC / PETG / PLA-CF / PETG-CF และอื่นๆที่สามารถรองรับ

ABS / PLA / PC / PETG / PLA-CF / PETG-CF และอื่นๆที่สามารถรองรับ

หากถามว่า Adventurer4 หรือ Adventurer3 อันไหนดีกว่ากัน ต้องบอกเลยว่า สำหรับสาวก Adventurer Series แล้วก็ดีทั้งคู่ ขึ้นอยู่กับกำลังซื้อและการใช้งาน เพราะงานแต่ละที่ ไม่เหมือนกัน แต่ถ้าต้องการความหลากหลาย Adventurer4 ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดี แต่ถ้ากำลังซื้อมีไม่พอ Adventurer3 ก็นับว่าเป็นทางออกที่ถูกต้องเช่นกัน


บทความที่เกี่ยวข้อง