รีวิว เครื่อง Flashforge Finder
เครื่อง Flashforge Finder เป็นเครื่องพิมพ์ตัวเล็กของยี่ห้อ Flashforge ที่ออกแบบมาให้ใช้งานง่าย และ ปลอดภัย เน้นตลาดกลุ่มผู้เริ่มต้นจับเครื่อง 3D Printer เครื่องพิมพ์สามารถสร้างชิ้นงานได้ขนาด 14*14*14cm มีหนึ่งหัวฉีด มีระบบช่วย Calibrate ฐานพิมพ์, ระบบแจ้งเตือนเมื่อเส้นพลาสติกหมด, สั่งวางด้วยหน้าจอ Touch Screen, สามารถเชื่อมต่อได้สามรูปแบบคือ USB Stick, USB Cable, Wifi เนื่องจากออกแบบมาเพื่อให้พิมพ์ PLA ตัวเครื่องจะไม่มีระบบทำความร้อนที่ฐาน
หากเทียบคุณภาพพิมพ์ กับเครื่องเล็กของยี่ห้ออื่นๆแล้ว Flashforge พิมพ์งานได้สวยและเนียน และทำงานได้เงียบ ใช้งานง่าย แต่มีจุดด้อยอยู่บ้างที่ขนาดการพิมพ์ที่ 14*14*14cm สำหรับหลายคนที่ต้องการพิมพ์ชิ้นงานขนาดใหญ่หน่อยอาจจะลำบากต้องต่อชิ้นงานกันหน่อย
รูปลักษณ์ภายนอก
ตัวเครืองบรรจุมาในกล่องค่อนข้างดีและ Solid หากเทียบกับรุ่นพี่อย่าง Dreamer และ Creator Pro ที่เป็นกล่องลังไม่ค่อยสวย ข้างในกล่อง Finder เป็นโฟมที่ฉีดมาจาก Mold ให้มีขนาดพอดีกับเลย การแพคจัดว่าดีและดูพัฒนาขึ้น
มาดูที่ตัวเครื่องบ้าง ตัวเครื่องที่ทางเรา มาขายจะเป็นสีแดง โดยพื้นผิวของเครื่องเป็นพลาสติก ABS ฉีดขึ้นรูปแบบด้าน (ไม่ต้องกลัวรอยขีดขวนเพราะผิดด้านเลย) หน้าตาเป็นดังรูป ตัวเครื่องเปิดสี่ด้าน คือ ด้านหน้า ด้านข้างทั้งสอง และ ด้านบน มีที่ใส่เส้นพลาสติกอยู่ด้านหลังของเครื่อง Size ของเส้นที่พอดีเลยคือ Flashforge PLA 600g หน้าจอ Touch Screen อยู่ด้านหน้าของเครื่อง พร้อมปุ่มเปิด และ ปิดเครื่อง
ส่วนของหัวพิมพ์ประกอบเป็นก้อนเดียวกันเลย (Motor Feed เส้นแบบ Direct Drive, Turbo Fan, Sensor ที่ช่วยในการ Calibrate ฐาน) ก้อนหัวฉีดวิ่งบนแท่งเหล็ก แนวแกน XY และฐานพิมพ์เคลื่อนที่ขึ้นลง ส่วนแผ่นรองฐานพิมพ์สามารถถอดออกมาจากตัวเครื่องได้ สะดวกในการแกะชิ้นงานออก
ด้านขวาล่างของตัวเครื่อง เป็นช่วงใส่ USB Stick, และ Port ต่อ USB Cable. ด้านหลังของตัวเครื่องเป็นช่องเสียบสายไฟ โดยเสียบตรงเข้ากับไฟบ้านได้เลย เนื่องจากใช้ไฟ 220V อยู่แล้ว
ที่ใส่เส้น และ ระบบ Filament Detection
ที่ใส่เส้นพลาสติก Filament ทำออกมาแบบ Build in กับตัวเครื่องเลยคือซ่อนไว้ส่วนหลังของตัวเครื่อง ทำให้ดูสวยความเรียบร้อย ไม่ต้องนำเส้นพลาสติกมาห้อยเหมือนรุ่นอื่นๆ โดยม้วนพลาสติกที่ขนาดพอดีคือ เส้นพลาสติก Flashforge PLA 600g จากที่เราทดลองพิมพ์เส้น Filament Flashforge และ เส้นจากยี่ห้อ esun ได้ผลออกมาค่อนข้างดี (หัวฉีดมี Turbo Fan คอยเป่าชิ้นงาน)
เครื่องมีระบบ Filament detection (ซึ่งเราสามารถเลือกจะเปิดหรือปิดก็ได้) ระบบนี้ทำงานเมื่อใส่เส้น Flashforge 600g ลงใน Slot โดยเซนเซอร์ของเครื่องจะทำการตรวจว่ามีเส้นอยู่หรือไม่ หากพิมพ์ๆอยู่แล้วเส้นหมด เครื่องจะทำการ Pause เครื่องให้โดยอัตโนมัติ ให้เราเปลี่ยนเส้น แล้วสั่งงานให้พิมพ์ต่อได้ ประโยชน์คือ ป้องก้นชิ้นงานเสียจากสาเหตูไม่มีเส้นหรือพิมพ์เปล่า (บางงานพิมพ์เป็น 10ชม. สุดท้ายมาเส้นหมดชม.ที่ 10) โดยโหมดนี้เปิดหรือปิดก็ได้ (ความหมายอีกนัยหนึ่งคือใช้เส้นของยี่ห้ออื่นก็ได้)
การใช้เส้นสามารถใช้ PLA ยี่ห้อไหนก็ได้ แต่แนะนำให้ใช้ ยี่ห้อ Flashforge เนื่องจากพิมพ์ง่ายและราคาไม่แพง (ประมาณ 600 บาท) อีกทั้งยังใส่กับตัวเครื่องได้เลยไม่เกะกะ แถมยังใช้ความสามารถของโหมด Detection ได้ด้วย
ระบบช่วย Calibrate
ระบบช่วย Calibrate ไม่ได้มีอะไรหวือหวา เป็นแค่ระบบที่เอาไว้ช่วยเท่านั้นเองครับ อีกอย่างเครื่อง Flashforge Finder นั้นแทบจะไม่ต้อง Calibrate กันบ่อยๆนานๆที Calibrate ทีเนื่องจากถอดฐานออกไปได้เวลาแกะชิ้นงาน ทำให้ไม่ต้องออกแรงแงะของออกจากฐานอันเป็นสาเหตุทำให้ต้อง Calibrate กันบ่อยๆ
หลักการของระบบนี้คือ ก่อนที่จะทำการ Calibrate จะต้องหมุนหางปลาข้างล่างทั้ง 3 ให้ฐานลงมาในตำแหน่งล่างที่สุด และเกดคำสั่ง Leveling เครื่องจะดีด Sensor ออกมาตามใน Video ฐานพิมพ์จะเคลื่อนที่ขึ้น จากนั้นให้เราคลายเกลียวให้ฐาน ณ ตำแหน่งนั้นๆสูงขึ้น เมื่อสูงได้ตำแหน่งแล้วจะฐานจะไปแตะ Sensor ทำให้มีเสียงร้องขึ้น ให้เราหมุนเกลียวปรับฐานลงมาอีกนิดเพื่อให้ไม่มีเสียงร้อง
FlashPrint
อธิบายในนี้อาจจะไม่หมด ทางเราจึงทำเป็น Video มาให้ครับ โดยหน้าที่หลักๆของ Flashprint คือโปรแกรมการสั่งพิมพ์ชิ้นงาน 3 มิตินั้นเอง จุดเด่นของ FlashPrint จะมีเช่น
1. สามารถ Manual สร้าง Support เองได้
2. สามารถ Save File เป็น .gx ซึ่งเวลาสั่งพิมพ์ที่หน้าจอ Touch Screen จะมีรูป Preview ให้เห็นว่าชิ้นงานเป็นอย่างไร
3. มีความสามารถในการ ซ่อม File 3มิติ เบื้องต้น เช่นหาก File ที่นำมาเปิดไม่สมบูรณ์ โปรแกรมสามารถซ่อมให้ได้
การสั่งพิมพ์ และ ชิ้นงานพิมพ์
การสั่งพิมพ์ชิ้นงาน เมื่อไรได้ไฟล์จาก Flashprint แล้วเราสามารถสั่งพิมพ์ได้ทั้งหมด 3 ทางคือ ผ่าน USB stick, USB Cable และ Wifi
อย่างไงหลังจากที่ใช้งานแล้วสรุปใช้ USB Stick ดีสุดและเสถียรที่สุด คือเครื่องสามารถ Stand Alone ไปใช้ที่ไหนก็ได้ (USB Cable ดูจะดูเกะกะ และเครื่องต้องอยุ่ใกล้ๆ PC / Wifi หากเป็น ไฟล์ใหญ่ก็จะไม่ค่อยเสถียร)
สรุป
อาจจะสรุปง่ายๆว่าเครื่องนี้ ตั้งใจเอามาแข่งเรื่องราคา และออกแบบมาให้ใช้งานง่าย เครื่องไม่ต้องการการ Maintenance อะไรมาก เครื่องดูสวย ไปตั้งโชว์ในบ้าน หรือ Office ได้
ในด้านงานที่ได้ออกมา จัดอยู่ในขั้นดี-ดีมาก งานเนียน แค่ติดอยู่ที่ว่าพิมพ์ได้เฉพาะ PLA หรือ วัสดุที่ไม่ต้องใช้ฐานทำความร้อน (จริงๆเราทดลองพิมพ์ ABS ดูก็ได้ครับ แล้วแต่เทคนิค อิๆ) เครื่องนี้จึงเหมาะกับผู้เริ่มใช้งาน ที่ต้องการเครื่องพิมพ์คุณภาพดี ไม่ได้ต้องการชิ้นงานที่มีขนาดใหญ่มากนัก สามารถใช้ได้ต้องแต่ที่บ้าน พ่อแม่ซื้อไปให้ลูกศีกษา จนเด็กมหาลัย ซื้อไว้ทำโปรเจค จนถึง Office ที่ต้องการออกแบบงานของตน (ขนาดไม่ใหญ่มาก)
จุดเด่น
1. ราคาไม่แพงมาก
2. งานพิมพ์คุณภาพสูง
3. เสียงค่อนข้างเงียบ ต้องการการดูแลน้อย
4. เครื่องสวย(อันนี้แล้วแต่บุคคลครับ) หน้าจอ Touch Screen เครื่องดูเรียบร้อยไม่มีสายพันกันยุ่ง และไม่ต้องห้อยเส้นพลาสติกกันข้างนอก
จุดด้อย
1. ขนาดพิมพ์ 14*14*14 cm
2. ไม่มีฐานทำความร้อน (ผู้ผลิตอ้างว่าปลอดภัยต่อเด็ก เมืองจีน กับญี่ปุ่นนิยมเอาตัวนี้ไปสอนในโรงเรียน) จึงเหมาะใช้กับ PLA หรือ พลาสติกอื่นที่ไม่ต้องใช้ Heated bed
3. Print3Dd ขอขายแค่สีเดียวคือ สีแดงครับ