Review Ray Mark 3D เครื่องแกะสลัก 3 มิติเครื่องแรกในไทย

Review Ray Mark 3D เครื่องแกะสลัก 3 มิติเครื่องแรกในไทย

เพิ่งเข้าไทยมาสดๆร้อนกับเจ้าเครื่อง Ray Mark 3D เครื่องแกะสลักเลเซอร์ 3มิติ Laser Engrave 60W JPT ที่เรียกได้ว่าพลิกวงการอุตสาหกรรมพอสมควร เพราะถ้าหากงานของคุณ
เป็นงานเกี่ยวกับการทำ Molds แม่พิมพ์เหรียญ วัตถุมงคล หรือเหรียญรางวัลต่างๆ งานแกะสลักโลหะ งานแกะสลักหิน แล้วล่ะก็ ต้องขอบอกเลยว่าคุณไม่ควรพลาดบทความนี้อย่างแน่นอน
เพราะถึงแม้ว่าเดิมทีแล้วการสร้างแม่พิมพ์ โลหะต่างๆจะสามารถผลิตได้ตามโรงงานอุตสหรกรรมเกี่ยวกับงานโลหะกันอยู่แล้ว ด้วยการผลิตด้วยเครื่อง CNC โดยใช้ดอกกัดที่มีความเร็วรอบสูง
วิ่งตามแนวซ้าย-ขวา ขึ้นลง ก็ยังติดข้อจำกัดบางอย่างอยู่ เช่น การสร้างชิ้นงานที่มีรายละเอียดเล็กๆอย่างตัวอักษรเล็กๆ หรือการสร้างลวดลายบนพื้นผิวที่มีร่องเล็กๆ เกินกว่าที่ดอกกัดจะเข้าไปได้
ด้วยเหตุนี้เองการมาของเจ้า Ray Mark 3D เครื่องแกะสลัก 3 มิติ ที่สามารถแกะโลหะได้ด้วยระบบเลเซอร์กำลังสูง จึงสามารถเติมเต็มความต้องการของคุณในส่วนนี้ได้อย่างแน่นอน

ด้วยการที่เครื่องทำงานโดยใช้ระบบเลเซอร์กำลังสูง ทำให้สามารถแกะสลักในงานที่มีขนาดเล็ก หรือมี Detail เล็กๆ หรือแม้กระทั่งลวดลาย Texture ต่างๆได้อย่างอิสระ และที่สำคัญ
เจ้าเครื่อง Ray Mark 3D นี้เองยังสามารถแกะสลักบนเนื้อวัสดุ ได้อย่างหลากหลายอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น เหล็ก อลูมิเนียม ทองแดง ทองเหลือง สแตนเลส หรือโลหะอื่นๆ และไม่ใช่เพียงโลหะเท่านั้นที่แกะได้
เครื่องยังสามารถแกะลงบนหินชนิดต่างๆ หรือวัสดุอโลหะอื่นๆได้อีกหลายชนิด โดยขนาดการแกะสลักสามารถสร้างได้มากถึง 110 mm x110 mm (150 Optional ) ทำให้คุณสามารถต่อยอดไอเดีย
การนำได้อย่างไม่จำกัด โดยวันนี้เราจะมารีวิว และแนะนำการใช้งานเครื่อง RAY Mark 3D ให้ดูกัน ซึ่งต้องขอบอกเลยว่าไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญด้าน Software หรือระบบการทำงาน
ของเครื่อง Laser ลึกมาก ก็สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ไม่ยากเลย


การแกะสลักลงบนวัสดุชนิดต่างๆ
ก็อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่าตัวเครื่องสามารถเลเซอร์ลงบนพื้นผิววัสดุที่มีความแข็งที่ต่างชนิดกันได้อย่างหลากหลาย ด้วยระบบการทำงานของตัวเครื่องที่สามารถปรับจูนค่าการทำงานผ่านซอฟแวร์ได้นั้น
ทำให้เราสามารถตั้งค่าการเลเซอร์บนวัสดุที่เราต้องการได้ โดยในการเลเซอร์บนวัสดุใดๆ ควรจะต้องมีการหาค่าที่เหมาะสมสำหรับวัสดุนั้นๆก่อน โดยการทดลองยิงและปรับจูนค่า จนกว่าเราจะได้ชิ้นงาน
ที่ตรงตามที่ต้องการ เมื่อได้ค่าที่เหมาะสมแล้ว เราก็สามารถใช้ค่าเดิมในการเลเซอร์ครั้งต่อๆไปได้เรื่อยๆโดยไม่ต้องมีการปรับค่าอีก



โดยการหาค่าในการเลเซอร์ลงบนวัสดุแต่ละชนิด เราจะอ้างอิงจากตัวเนื้อวัสดุ เช่นความแข็งของวัสดุ เนื้อวัสดุความมีหนาแน่น หรือความเปราะแค่ไหน เช่นวัสดุที่มีความแข็งมากก็ควรปรับให้เลเซอร์
กัดด้วยความเร็วที่ลดลงกว่าวัสดุที่เนื้ออ่อน หรือวัสดุที่มีความเปราะอย่างหิน ก็ควรปรับความเร็วที่สูงขึ้นเพื่อไม่ให้หินแตกง่าย หรือเนื้อถูกกินลงไปลึกเกินไปนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ทำให้การแกะสลัก
ในวัสดุต่างๆ อาจใช้เวลาที่ไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับตัววัสดุเอง


เหมาะสำหรับงานแบบไหนบ้าง ?
ด้วยเจ้าเครื่อง Ray Mark 3D สามารถเลเซอร์แกะสลักลงบนวัสดุที่หลากหลายได้นั้นนั้น ทำให้สามารถต่อยอดการทำงานได้อย่างหลากหลาย โดยงานหลักๆ ที่เหมาะกับการนำเครื่อง Ray Mark 3D
ไปใช้งานนั้น แน่นนอนว่าผู้ที่ไม่ควรพลาดเลยนั่นก็คือ ผู้ที่ทำงานด้านการทำแม่พิมพ์เหรียญพระ วัตถุงมคล เหรียญที่ระลึก เหรียญประกาศเกียรติคุณ หรือเหรียญรางวัลต่างๆ เพราะจุดเด่นสำคัญ
ของเจ้าตัว Ray Mark 3D นี้ นั่นก็คือการที่สามารถแกะสลักรายละเอียดเล็กๆได้ เช่น ตัวหนังสือเล็กๆบนเหรียญพระ หรือลายไทยที่มีความเแหลมและเล็ก หรือแม้กระทั่งลวดลายเล็กๆบนพื้นผิว
ก็สามารถทำได้ เพราะด้วยการทำงานด้วยระบบเลเซอร์จึงทำให้ตัวงานให้มีความคมชัดสูง




นอกจากนี้ยังสามารถนำไปผลิตงานประเภทอื่นๆ ที่อาจไม่ได้มีรายละเอียดสูง แต่ยังคงต้องการความคมของเหลี่ยมมุมต่างๆ เช่น การแกะสลักตัวอักษร หรือการแกะสลักโลโก้ โดยหากรูปแบบ
ที่ต้องการแกะเป็นรูปทรงที่เน้นรูปทรงที่ Outline แต่ตรงกลางมีความเรียบ เราก็สามารถแกะซ้ำลงไปได้เรื่อยๆเพื่อเพิ่มความลึกได้ สามารถนำไปต่อยอดในงานที่หลากหลายขึ้นได้อีก
เช่น การแกะแม่พิมพ์ขนม

อีกหนึ่งสายงานที่น่านำเจ้าเครื่อง Ray Mark 3D มาประยุกใช้นั่นก็คืองานด้านธุรกิจศิลป์ หรือการสร้างมูลค่าด้วยศิลปะ อย่างการแกะสลักงานนูนต่ำลงบนแผ่นหิน เพื่อการตกแต่ง หรือการเพิ่มมูลค่า
ของวัตถุ เช่น การสลักลวดลายลงบนจานเซรามิก การสลักจี้หิน เป็นต้น

ขั้นตอนเตรียมไฟล์แกะสลัก
ไฟล์ที่จะสามารถนำมาเลเซอร์ด้วยเครื่อง Ray Mark 3D นั้นมีความอิสระมากสามารถแกะสลักงานนูนต่ำได้ทุกรูปแบบ ซึ่งถึงแม้ว่าเราจะไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องของการเตรียมไฟล์ 3D
ก็สามารถสร้างไฟล์สำหรับเลเซอร์จากไฟล์ 2D ด้วย Photoshop หรือ Illustrator ได้โดยสร้างไฟล์เป็น Bitmap สีขาวดำ โดยเครื่องจะสร้างเลเยอร์หรือความลึกของการแกะสลักได้สูงสุด 255 ระดับ
ซึ่งมาจากค่า Gray Scale สีขาวไล่ไปถึงสีดำ 255 ระดับ โดยสีขาวสุดจะเป็นส่วนที่ไม่ถูกเลเซอร์ และสีดำที่สุดจะเป็นจุดที่เลเซอร์กัดลงไปได้ลึกที่สุด ส่วนสีเทาจะอยู่ตรงกลางขึ้นอยู่กับความเข้มความสว่างของสี
เราสามารถใช้หลักการนี้นี่เองมาผลิตเป็นไฟล์ 2D สำหรับไปเลเซอร์งานได้นั่นเอง

ตัวอย่างการยิง logo จากไฟล์ 2D

 

ตัวอย่างการใช้หลัก Gray Scale มาประยุกต์ใช้สร้างไฟล์โดยไม่ต้องทำ 3D

เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่จะได้จากไฟล์ 2D ขาวดำ และภาพที่มีการไล่สีขาว-เทา-ดำ

ส่วนถ้าหากใครมีความรู้เรื่องไฟล์ 3D ก็จะสามารถสร้างงานที่ซับซ้อนขึ้นได้ โดยการเตรียมไฟล์ก็จะอาศัยตัวไฟล์ 3D นี้เองมา Render ให้เป็น Dept Map โดยจะคำนวนจากความสูงต่ำของโมเดล
ให้อัตโนมัติ แล้วเซฟไฟล์เป็น .jgp .png .bmp หรือ .tif เป็นต้น หรือใครที่ไม่ได้รู้เรื่อง 3D ลึกมาก อาจศึกษาในส่วนของการ Render ไฟล์ 3D ให้เป็นภาพ Bitmap ก็สามารถโหลดไฟล์ 3D ทั่วไป
ตามเว็บโหลดไฟล์มาใช้ได้แล้ว

ขั้นตอนและระยะเวลาการทำงาน
ในส่วนของขั้นตอนการทำงานก็ถือว่าง่ายพอสมควรมือใหม่ก็สามารถเรียนรู้และใช้งานได้โดยไม่ยาก โดยหลังจากที่เราเตรียมไฟล์ที่จะมาเลเซอร์พร้อมแล้ว เราก็สามารถเชื่อมต่อเครื่องเลเซอร์
เข้ากับคอมพิวเตอร์จากนั้นเปิดซอฟแวร์สำหรับควมคุมการทำงานและ Import ไฟล์ของเราเข้าโปรแกรม โปรแกรมจะทำการแบ่งเลเยอร์การเลเซอร์ตามไฟล์ของเราโดยไล่ระดับสีขาวไปถึงดำ
สูงสุด 255 ระดับแล้วยิงทีละชั้น

ให้เราทำการปรับตั้งค่าต่างๆที่ต้องการ เช่น ความเร็วในการเลเซอร์ ความแรงและความถี่ของเลเซอร์ ระดับเลเยอร์ที่ต้องการเลเซอร์ เป็นต้น เมื่อพร้อมแล้ว
ก็สามารถเปิด Laser Guide เพื่อกำหนดจุกที่เราจะยิงบนวัสดุ จากนั้นกดยิงได้เลย ซึ่งในการปรับค่าครั้งแรกสำหรับวัสดุต่างๆ อาจต้องมีการทดลองปรับและยิงในหลายๆค่าก่อน
เพื่อหาค่าที่ต้องการ โดยดูที่ตัวชิ้นงาน เช่น ความลึก ความห่างของชั้นเลเยอร์การยิง เมื่อได้ค่าที่ชอบแล้วก็สามารถใช้ค่าแบบเดิมในครั้งต่อไปได้โดยไม่ต้องมาปรับอีก


ในส่วนของระยะเวลานั้นขึ้นอยู่กับตัววัสดุเลย ซึ่งแน่นนอนว่าวัสดุที่มีความหนาแน่น หรือมีความแข็งความเหนียวของเนื้อวัสดุสูง ก็ย่อมใช้เวลาเพิ่มขึ้นด้วยเป็นธรรมดา ในทางกลับกัน หากใช้งานแกะสลัก
บนวัสดุที่อ่อนกว่าหรือไม่ได้แกะสลักลึกมาก ก็ใช้เวลาน้อยลงด้วยนั่นเอง เช่น วัสดุประเภทโลหะก็จะใช้เวลาแกะสลักอยู่ที่ 2-4 ชม. ขึ้นอยู่กับขนาดส่วนหินโดยพื้นฐานแล้วจะแกะสลักได้ไวกว่า
แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับขนาดการแกะสลักด้วย

ผลลัพธ์การแกะสลักบนอลูมิเนียมและทองเหลือง จะเห็นได้ว่าแม้รายละเอียดเล็กๆที่เครื่อง CNC ทำไม่ได้ก็สามารถแกะสลักได้

ข้อควรระวัง
แน่นนอนว่าการใช้เครื่องจักรทุกชนิดควรอยู่ภายใต้การควบคุมความปลอดภัย ในส่วนของเครื่อง Ray Mark 3D ที่ทำงานด้วยระบบเลเซอร์กำลังสูง แน่นนอนว่าสิ่งที่ควรระวังอันดับแรกนั่นก็คือ
ในเรื่องของอัคคีภัย ควรมีการเฝ้าระวังในตลอดการทำงาน การทำงานของเครื่องเลเซอร์ควรมีระบบจัดการฝุ่นที่เกิดขึ้นจากการเลเซอร์ ควรติดตั้งระบบเป่าหรือดูดฝุ่นในขณะเลเซอร์
เพราะหากมีฝุ่นบนผิวชิ้นงานแล้วการเลเซอร์ในเลเยอร์ถัดไปอาจไม่มีประสิทธิภาพ และในขณะและเซอร์อาจมีกลิ่นที่เกิดจาการเลเซอร์ ควรตั้งเครื่องในที่ที่มีอากาศถ่ายเท

สรุป
การเข้ามาของเครื่อง Ray Mark 3D ถือว่าเป็นเครื่องมือที่สร้างมิติใหม่ให้กับวงการอุตสาหกรรมการผลิตงานแม่พิมพ์โลหะ การแกะสลัก โลหะ หรือวัสดุอโลหะ พอสมควร เพราะด้วยความละเอียด
ของการแกะสลักชิ้นงานที่เครื่อง CNC ไม่สามารถทำได้ ความหลากหลายของวัสดุที่สามารถแกะสลักได้ ทำให้สามารถต่อยอดนำไปใช้งานได้หลากหลายประเภท วิธีการใช้งานก็สามารถเรียนรู้ได้ไม่ยาก
มือใหม่ก็สามารถทำได้ ระยะเวลาการผลิตชิ้นงานถือว่าสมเหตุสมผล โดยรวมแล้วถือว่าเป็นเครื่องมือที่น่าสนใจ และน่าจะสร้างมูลค่าต่อยอดเพิ่มเติมได้ในอนาคต

 

ข้อดี

  • ระดับความคมชัดของงานที่แกะสลักสูง
  • แกะสลักได้แม้กระทั่งรายละเอียดเล็กๆที่เครื่อง CNC ไม่สามารถทำได้
  • สามารถปรับตั้งค่าได้ยืดหยุ่น ทำให้แกะชิ้นงานได้หลากหลายวัสดุ
  • สามารถใช้งานได้ทั้งผู้ที่ทำงาน 2D และ 3D

 

ข้อสังเกตุ

  • หากวัสดุมีความแข็งมากจะต้องใช้เวลาในการเลเซอร์มากขึ้น
  • ควรติดตั้งระบบจัดการฝุ่นที่เกิดจากการเลเซอร์
  • ควรใช้งานในที่อากาศถ่ายเท เนื่องจากมีกลิ่นจากการเลเซอร์