3D Scanner วัดเครื่องกลึงแกนเพลา เพื่อให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ไม่ให้ผิดเพี้ยนแม้แต่องศาเดียว

3D Scanner วัดเครื่องกลึงแกนเพลา เพื่อให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ไม่ให้ผิดเพี้ยนแม้แต่องศาเดียว

เมื่อเราพูดถึงรถยนต์ ปัจจัยหลักนอกจากเครื่องยนต์แล้วจะเป็นในส่วนของช่วงล่าง ซึ่งเราจะเรียกกันว่า เพลา ซึ่งเพลงของรถยนต์มีหลายตำแหน่ง แต่ทุกตำแหน่งย่อมมีการสึกหลอ และทำให้เกิดอันตารายได้สำหรับผู้ใช้งาน ซึ่งการที่เพลาเริ่มสึกหลอส่วนใหญ่ มักจะไปหาช่างทำช่วงล่าง และช่างก็จะถอดเพลาเพื่อไปหาโรงกลึง เพื่อกลึงเพลาใหม่ให้ใช้งานได้มีประสิทธิภาพเหมือนเดิม

เพลาทำหน้าที่รับน้ำหนักเป็นแกนกลางของรถยนต์
เพลาพ่วงเกรด 10 ตัน

ซึ่งปัจจัยหลักมักจะอยู่ที่เครื่องที่นำมากลึง จำเป็นต้องมีความแม่นยำสูง เที่ยงตรง วันนี้เราเลยจะพามาวัดความเที่ยงตรงของเครื่องกลึง ซึ่งทำมาเพื่อเพลาของรถพ่วงขนาด 10ตัน โดยการใช้ 3D Scanner FreeScan Combo ร่วมกับซอฟต์แวร์ Quicksurface ซึ่งเป็นบทความที่เราแปลมา และให้ความรู้เพิ่มเติม

เครื่องกลึงเพลา สำหรับโรงกลึง

วิธีการวัดเครื่องกลึงเพลา
โดยทั่วไป ช่างเทคนิคจะตรวจสอบเครื่องกลึงเพลาด้วยตนเอง วิธีนี้ใช้เวลานานและมักไม่แม่นยำ การตรวจสอบด้วยตนเองยังต้องใช้ทักษะและประสบการณ์อย่างมาก ทำให้เป็นงานที่ท้าทาย เนื่องจากเครื่องกลึงเพลามีทั้งจุดที่ต้องกึ่งกลาง รวมถึงระนาบในการวางเครื่องและอื่น ๆ

และนั่นถือว่าเป็นการตอบโจทย์อย่างมาก หามีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเหลืออย่าง FreeScan Combo ซึ่งทำงานได้รวดเร็วและยังมีโหมดการรองรับที่หลากหลายเช่นการสแกนในรูปด้านใน การสแกนที่มีความแม่นยำสูง และยิ่งใช้งานกับโปรแกรมที่มีชื่อว่า QuickSurface จะยิ่งทำให้ช่างเทคนิคทำงานได้ง่ายขึ้น

 

จากนั้นจึงนำการสแกนดังกล่าวที่ได้จากการใช้ FreeScan Combo เข้าสู่ซอฟต์แวร์ QUICKSURFACE เพื่อวัดผล เราตรวจสอบขนาดของชิ้นส่วนต่างๆ โดยเราใช้ 2D sketching feature  เพื่อสร้างวงกลมบน โรตารี่เพื่อดูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของแกนหมุนและทำอย่างเดียวกันในส่วนของหัวจับทำให้ได้เส้นผ่านศูนย์กลาง

ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางแกนหมุนคือ 79.938 มม.
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหัวจับดอกสว่านคือ 315.094 มม.
ความแตกต่างของจุดศูนย์กลาง

เชื่อมต่อจุดศูนย์กลางของแกนหมุนและจุดศูนย์กลางของหัวจับเพื่อให้ได้เส้นตรง (เส้นทึบในภาพ) เปรียบเทียบเส้นทึบนี้กับเส้นเฉลี่ยของตัวนำเครื่องจักรเป็นการประมวลผล (เส้นประในภาพ) เส้นทั้งสองเส้นจะสร้างมุม 0.0764 องศา และข้อผิดพลาดที่ปลายทั้งสองข้างอยู่ที่ประมาณ 1 มม. โดย 1.058 มม. ทางด้านซ้ายและ 1.385 มม. ทางด้านขวา

จุดศูนย์กลางของเพลาอยู่เหนือจุดศูนย์กลางของหัวจับ 1.446 มม.

ความแตกต่างของจุดศูนย์กลาง
วัดความแตกต่างของความสูงระหว่างจุดศูนย์กลางของเพลาหมุนและจุดศูนย์กลางของหัวจับชิ้นงาน จุดศูนย์กลางของเพลาจะสูงกว่าจุดศูนย์กลางของหัวจับชิ้นงาน


ประโยชน์ที่สำคัญของการสแกน 3 มิติ
เทคโนโลยีการสแกน 3 มิติมีข้อได้เปรียบที่ชัดเจนมากเมื่อเทียบกับวิธีการวัดด้วยมือ ซึ่งแสดงให้เห็นได้ดังนี้:

ความแม่นยำที่เพิ่มขึ้น : เครื่องสแกน 3 มิติสามารถจับภาพการสแกนที่มีรายละเอียดและแม่นยำสูง ลดความเสี่ยงจากข้อผิดพลาดของมนุษย์ในการวัด QUICKSURFACE มอบความสามารถในการวิเคราะห์เชิงลึก ช่วยให้วัดผลได้อย่างแม่นยำ

ประสิทธิภาพด้านเวลา : การสแกนและวิเคราะห์สามมิติเร็วกว่าวิธีการด้วยมืออย่างมาก จึงช่วยประหยัดเวลาอันมีค่าได้ รวมภึงมีความละเอียดสูงอย่างมาก