ประติมากรรม 4.0 กับ เทคโนโลยี 3D Scanner/Printer ตอน1/2 เครื่องสแกน 3มิติ
ประติมากรรม 4.0 กับ เทคโนโลยี 3D Scanner/Printer ตอน2/2 เครื่องพิมพ์ 3มิติ
จากความเดิมตอนที่แล้วเราว่ากันเรื่องการสแกนเนอร์ 3มิติ คราวนี้เรามาต่อกันในส่วนที่สอง เมื่อเราได้ไฟล์ที่สแกนแล้วเราสามารถนำมาพิมพ์ต่อด้วยเครื่อง 3D Printer โดยการใช้ 3D Printer นั้นช่วยลดเวลาในการผลิตชิ้นงาน
ข้อดีของการประยุกต์ 3D Printer กับงานประติมากรรม 4.0
1. สร้างชิ้นงานได้หลากหลาย ในต้นทุนที่ต่ำกว่า ไม่มีจำนวนขั้นต่ำในการผลิต
2. นำมาใช้รวมกับเครื่องสแกน 3มิติ (3D Scanner ถอดแบบ >> พิมพ์ขนาดใหญ่ขึ้น หรือ เล็กลงได้)
3. สามารถพิมพ์ชิ้นงานเล็กมากๆ หรือ ใหญ่มากๆ ได้
4. งานที่ได้มีความสมมาตร ได้สัดส่วน แน่นอนมากกว่าการปั้นมือ
สร้างชิ้นงานได้หลากหลาย ทุนต่ำ ไม่ต้องมีการผลิตขั้นต่ำ
เนื่องการสร้างชิ้นงาน จาก 3D Printer ไม่ต้องสร้างโมลฉีด จึงไม่ต้องมีต้นทุนในการสร้างโมล ชิ้นงานที่พิมพ์ออกมานั้นไม่จำเป็นต้องเป็นแบบเดียวกัน สร้างอิสระในการออกแบบชิ้นงานได้ อีกทั้งสามารถสร้างชิ้นงานที่มีความสลับซับซ้อนมากได้ (มีส่วน undercut) ต้นทุนในการพิมพ์เฉลียของระบบเส้นอยู่ที่ 0.7-1บาท/กรัม และระบบเรซิ่นอยู่ที่ 3-10บาท/กรัม เช่นการพิมพ์ชิ้นงาน สูง 15cm มีต้นทุนในการพิมพ์ไม่เกิน 200บาท เป็นต้น
ใช้งานร่วมกับ 3D Scanner ได้ดี
หากเปรียบแล้วเครื่อง 3D Scanner เปรียบเหมือนกล้องถ่ายภาพ เครื่อง 3D Printer เหมือนเครื่องพิมพ์ การสแกนเป็นการถอดแบบออกมาในรูปแบบ Digital ไฟล์ที่ได้สามารถนำไปแต่งต่อ หรือ เอาไปพิมพ์เลยก็ได้
เครื่อง 3D Printer มีความหลากหลาย
– SLA 3D Printer ไว้พิมพ์งานเล็กๆ 1-15cm ระบบนี้จะละเอียดที่สุดงานดีสุด (Industrial SLA ที่พิมพ์ได้ขนาดใหญ่ๆ ถึง 100cm สามารถดูได้ที่นี่)
หมายเหตุ เครื่องที่ใช้ใน Video เป็นรุ่น Formlabs Form2
– 3D Pritner FFF/FDM ระบบเส้น
หมายเหตุ เครื่องที่ใช้ใน Video เป็นรุ่น Flashforge Guider2
– CNC กัดโฟม