เครื่องพิมพ์ 3มิติ “โมเดลเรซิ่นทั่วไป Vs โมเดลเรซิ่นลงสี” ต่างกันอย่างไร ?

เครื่องพิมพ์ 3มิติ “โมเดลเรซิ่นทั่วไป Vs โมเดลเรซิ่นลงสี” ต่างกันอย่างไร ?

หลาย ๆ ท่านอาจจะคุ้นเคยกับเครื่องพิมพ์ 3 มิติกันมาบ้างแล้ว ไม่ว่าจะระบบเส้นพลาสติก FDM หรือ SLA ระบบเรซิ่น เป็นเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ตอนนี้สามารถหาใช้ง่ายมากกว่ายุคก่อน ๆ ขึ้นมาก สามารถใช้พิมพ์ โมเดล ตุ๊กตา ชิ้นส่วนอะไหล่ หรือรวมไปถึงงานโมเดลที่ใหญ่ระดับอุตสหกรรม ซึ่งเครื่องพิมพ์ 3 มิติะส่วนใหญ่จะให้สีสันของงานตามสีของ Material ที่ใช้ เช่น เป็นสีของเส้นพลาสติกที่เลือก สีที่เป็น Base ของเรซิ่น หลังจากนั้นก็จะนำตัวงานไปลงสีตามที่ออกแบบต่อทีหลัง ไม่ว่าจะเป็นการพ่นสเปรย์ หรือการลงสีด้วย Air Blush

ต่อมาในปัจจุบันเครื่องพิมพ์ 3 มิติได้มีการพัฒนาให้มีความสามารถในการลงสีบนตัวงานได้เลยทันที เหมือนเช่นเดียวกับเครื่องพิมพ์เอกสารที่เรียกว่า Full Colos 3D Print ซึ่งมีหลักการพิมพ์คล้ายกับระบบ Ink Jet จะเป็นเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ใช้หลักการพิมพ์โดยการฉายแสง UV ทีละชั้นบนตัวงานจนเกิดเป็นโมเดล 3 มิติ วัตถุหลักที่ใช้คือหมึกพิมพ์ที่มี Base เป็นเรซิ่น โดยที่หมึกพิมพ์ตัวนี้จะมีสี CMYK และสีใสสำหรับเป็น Support ของงาน

ซึ่งวันนี้เราจะมาเจาะรายละเอียดความแตกต่างระหว่างเครื่องพิมพ์เรซิ่น SLA และ ระบบ Poly Jet ต่างกันอย่างไร และทั้งสองแบบเหมาะกับงานพิมพ์ประเภทไหนบ้าง ?

SLA 3D PRINT POLY JET FULL COLORS 3D PRINT
ราคาเริ่มต้น 20,000 – 10,000,000.- ราคาเริ่มต้นที่ 2 ล้าน++
เหมาะสำหรับผู้ใช้งานเริ่มต้น นักเรียนนักศึกษา ผู้ชื่นชอบงานศิลปะจนถึงงานระดับอุตสหกรรม เหมาะสำหรับงานบริษัทอุตสหกรรมเพราะราคาค่อนข้างสูง
เน้นงานที่มีความละเอียดสูง ลวดลาย เน้นงานสี Texture เป็นหลัก หรือการพิมพ์ชิ้นส่วนอวัยวะจำลอง ,Mass Production
สามารถพิมพ์ได้หลากหลายขนาดเล็ก – Big Size พิมพ์ได้ขนาดเล็ก ยังไม่รองรับงานชิ้นใหญ่ขนาดอุตสหกรรม
เหมาะสำหรับงานต้นแบบ Mockup และงานศิลปะ อะไหล่ชิ้นส่วนต่าง ๆ นำมาลงสีเองทีหลัง เหมาะสำหรับงานศิลปะ งานทางการแพทย์ สามารถใช้งานได้ทันที ลงสีในตัว

ตัวซัพพอร์ตก็จะมีความแตกต่างกันประมาณนี้ งานโมเดลของ SLA ก็จะเป็นซัพพอร์ตวัสดุและสีเดียวกันกับโมเดล ส่วนงาน Poly Jet ก็จะเป็นซัพพอร์ตเจลลี่แบบสีใส การล้างและการเก็บรายละเอียดก็จะแตกต่างกันออกไป