หนึ่งในอัตลักษณ์ความเป็นไทยที่โดดเด่นไม่แพ้ชาติใดในโลก นั่นก็คือด้านศิลปะวัฒนธรรม ที่มีมาช้านาน และไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัย ศิลปะแบบไทยๆ ก็ยังคงเป็นที่ยอมรับถึงความวิจิตรงดงาม
อ่อนช้อย มีเสน่ห์น่าหลงไหล ทั้งต่อชาวไทยและชาวต่างชาติ ที่บางคนถึงกับบินข้ามน้ำข้ามทะเลมาเพื่อชมศิลปวัฒนธรรมบ้านเรากันเลยทีเดียว และหนึ่งในศาสตร์ทางศิลปะที่ยังคงเป็นที่ยอมรับ
มาจนถึงปัจจุบันนั่นก็คือ “ศิลปะลายไทยโบราณ” หรือเรียกสั้นๆว่าลายไทยที่หลายคนรู้จักเช่น พวกลายกนก ลายกระจัง ต่างๆ ซึ่งเราสามารถพบเห็นลายไทยได้ทั่วไป แฝงอยู่ตามสถาณที่ต่างๆ
ที่มีส่วนร่วมและเติมโตมากับวัฒนธรรมไทยอย่างเช่น วัด, โบราณสถาณ หรือบ้านเรือนไทย แสดงให้เห็นว่าลายไทยนั้นมีมาแต่โบราณ
- ลายไทยกับงานออกแบบ
- ไอเดียการใช้ลายไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์
- เครื่องมือการแกะแม่พิมพ์
- แชร์การทำงาน
ลายไทยกับงานออกแบบ
แต่ด้วยความที่ว่าลายไทยนั้นมีความวิจิตรสวยงามอันเหนือกาลเวลา ทำให้ปัจจุบันในปัจบันนี้ ไม่ใช้แค่เพียงตามสถานที่โบราณ หรือตามวัดเท่านั้น ที่เราจะพบเห็นลายไทยได้ แต่สถานที่ที่ถูกสร้างขึ้นใหม่
ก็ยังมีการนำเอาศิลปะลายไทยไปใช้เป็นส่วนประกอบอยู่ ซึ่งลายไทยนี้ยังมีการนำไปใช้ในวงการออกแบบสินค้าหรือผลิตภัณฑ์อื่นๆอีกหลายวงการ เช่น การออกแบบเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย
การออกแบบลวดลายบนเฟอร์นิเจอร์ การออกแบบตกแต่ภายใน ข้าวของเครื่องใช้ จาน ชามแก้ว ต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมเอกลักษ์ความเป็นไทยให้เป็นที่น่าจดจำแก่สายตาชาวโลก
ไอเดียการใช้ลายไทยเพื่อเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์
ซึ่งวันนี้เราก็มีอีกหนึ่งไปเดียการนำลายไทยมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า ส่งเสริมผลักดัน Soft Power ไทยให้ต่างชาติได้จดจำกับสิ่งของธรรมดาๆราคาไม่แพงอย่างสบู่ ให้เป็นสินค้าที่ดูเลอค่า
มีมูลค่าน่าจดจำด้วยการสร้าง “สบู่ลายไทย” เพราะสบู่ก็เป็นหนึ่งในสิ่งที่เรามักจะได้รับเวลาเราไปพักตามโรงแรม จึงถือว่าเป็นหนึ่งช่องทางที่เหมาะที่จะสร้าง Soft Power ให้ชาวต่างชาติได้เห็นได้ง่าย
และตัวสบู่นี้เองก็มีต้นทุนที่ต่ำ เหมาะที่จะสร้างมูลค่าทางธุรกิจอย่างมาก และหนึ่งในวิธีการสร้างสบู่ที่ประหยัดต้นทุน และขั้นตอนการผลิตที่ง่ายและรวดเร็วที่สุด นั่นก็คือการปั๊ม
ซึ่งอีกวิธีก็คือการละลายด้วยความร้อน เทใส่พิมพ์ รอให้เย็นแล้วแกะพิมพ์ จะเห็นได้ว่ามีขั้นตอนหลายขั้นตอนที่อาจทำให้เปลืองทรัพยากรและเวลา แต่วิธีการปั๊มเราเพียงแค่ใช้เม็ดสบู่
ใส่เข้าไปในช่องของแม่พิมพ์ที่จะประกบทั้งบนและล่างและกดปั๊มซึ่งจะได้ทั้งลายด้านหน้าและหลังพร้อมกัน
เครื่องมือการแกะแม่พิมพ์
แต่ก่อนที่จะปั้มสบู่ได้ เราก็ต้องสร้างแม่พิมพ์กันก่อน โดยวิธีการสร้างแม่พิมพ์สบู่ของเราในวันนี้ก็ไม่ใช่วิธีธรรมดาทั่วไป อย่างการใช้เครื่อง CNC เครื่องแกะโลหะด้วยหัวกัดคล้ายสว่าน
ซึ่งจะมีข้อจำกัดหลายอย่างเช่น ไม่สามารถกัดตามลายละเอียด พวกร่องเล็กๆได้ หรือไม่สามารถแกะร่องที่มีลักษณะแหลมมากๆได้ รวมทั้งยังต้องเปลี่ยนหัวกัดตามขนาดของงานที่ต้องการกัดด้วย
ซึ่งวิธีที่เราจะใช้นั่นก็คือ การแกะแม่พิมพ์ด้วยเครื่อง Ray Mark 3D เครื่องแกะสลัก 3มิติ ระบบเลเซอร์กำลังสูง Laser Engrave 60W JPT ที่สามารถแกะสลักได้ไม่ว่าจะ เหล็ก อลูมิเนียม ทองแดง
ทองเหลือง สแตนเลส หรือโลหะอื่นๆ ซึ่งก็ไม่ใช่เพียงโลหะเท่านั้นที่แกะได้ เครื่องยังสามารถแกะลงบนหินชนิดต่างๆ หรือวัสดุอโลหะอื่นๆได้อีกหลายชนิดโดยสามารถสร้างงานแกะสลัก
ที่มีขนาดได้มากถึง 110 mm x110 mm (150 Optional ) โดยจุดเด่นสำคัญของ Ray Mark 3D นั่นก็คือสามารถแกะสลักรายละเอียดเล็กๆได้ เช่น ตัวหนังสือเล็กๆบนเหรียญพระ หรือลายไทย
ที่มีความเแหลมและเล็ก หรือแม้กระทั่งลวดลายเล็กๆบนพื้นผิว ก็สามารถทำได้
แชร์การทำงาน
ก่อนอื่นก็ต้องมาเตรียมไฟล์กันก่อน โดยลายไทยที่เราเลือกมาใช้ในวันนี้เรียกว่าลาย “ดาวเพดาน” ลายไทยประเภทหนึ่งที่ถูกออกแบบขึ้นเพื่อประดับส่วนบนของอาคาร โครงสร้างลายดาว
อยู่ในทรงกลมมีกลีบดอกเป็นรัศมีรอบแกนกลาง หรือกลีบดอกกลมมนรอบแกนกลาง มักพบเห็นได้ตามเพดานของวิหาร โดยสบู่ของเราก็จะมีลักษณะทรงกลมเช่นเดียวกัน
จึงเหมาะที่จะใช้ลายดาวเพดาน
ก่อนอื่นก็นำไฟล์ Vector มาแยกออกเป็น Layer ต่างๆ เพื่อสำหรับนำไปสร้างเป็นไฟล์ 3D โดยอาจแบ่งเป็นส่วนต่งๆตามกลีบดอก โดยข้อดีของลายนี้ก็คือ แต่ละกลีบของลายมีความคล้ายกัน
และตัวลายมีการซ้ำกันเป็นวงกลม ทำให้เราไม่จำเป็นต้องปั้น 3D ทีละส่วนจนครบ แต่เราจะใช้วิธีสร้างแค่ 1 ใน 4 ของลายในวงกลม จากนั้นทำการ Duplicate สะท้อนไปยังอีกฝั่ง ทั้งซ้าย-ขวา บน-ล่าง
และตัวกลีบลายที่มีความคล้ายกันเราก็จะ Duplicate ไปใช้ในหลายส่วน
เมื่อไฟล์ 3D เสร็จเรียบร้อยเราก็จะทำการ Render Depth Map เพื่อนำไปใช้กับเครื่อง Laser โดยเครื่องเลเซอร์จะจัดการไฟล์โดยแบ่งออกเป็นชั้นการยิงเลเซอร์ออกเป็น Layer ทั้งหมด 255 ชั้น
ตามค่าการไล่ระดับของสีขาวไปถึงดำหรือ Grayscale โดยส่วนที่มีสีขาวคือส่วนที่จะไม่ถูกเลเซอร์ และส่วนสีดำจะเป็นส่วนที่ถูกเลเซอร์ลึกที่สุด
เราจะทำการเลเซอร์ลงบนเหล็กคาร์บอนแบบแข็งพิเศษเกรดเดียวกับที่ใช้ทำแม่พิมพ์พระ ซึ่งประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องก็ยังทำงานได้ดี ซึ่งขณะเลเซอร์ลงบนผิวงาน
จะเห็นได้ว่าเกิดประกายไฟเลย แสดงให้เห็นถึงเนื้้อวัสดุที่ถูกแกะออกไปแสดงว่าเครื่องสามารถแกะเหล็กคาร์บอนได้สบาย ที่สำคัญต้องระมัดระวังเรื่องอัคคีภัย ควรใช้งานเครื่องบริเวณที่มีอากาศถ่ายเท
และควรติดตั้งระบบเป่าหรือดูดฝุ่นผงจากการเลเซอร์ เพื่อประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น
ผลลัพธ์การแกะแม่พิมพ์สบู่ด้วยเครื่อง Ray Mark 3D
เมื่อแม่พิมพ์เสร็จแล้วเราก็ไปปั้มกันเลย โดยเราได้ทำการแกะแม่พิมพ์ทั้งด้านหน้าและด้านหลังอย่างละ 1 ชิ้น เพื่อนำไปใช้กับเครื่องปั้ม โดยจะติดตั้งแม่พิมพ์ทั้งสองตัวเข้ากับเครื่องปั้มและบล็อกของพิมพ์
ที่ใช้กำหนดความหนาของสบู่ จากนั้นใส่เม็ดสบู่เข้าไปและทำการปั๊มเลย การปั๊มแบบนี้ทำให้เราผลิตได้อย่างรวดเร็วและเป็นจำนวนมาก
ผลลัพธ์งานปั้มสบู่ด้วยแม่พิมพ์ที่แกะด้วยเครื่อง Ray Mark 3D