บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักเครื่องสแกน 3มิติ การนำไปใช้งาน และ ประเภทของสแกนเนอร์ 3มิติ หลายคนน่าจะรู้จักเครื่องสแกนเอกสาร (2D) เราสามารถเก็บสำเนาดิจิทัลเป็นไฟล์รูปหรือ PDF ได้ เครื่องสแกนเนอร์ 3มิติมีจุดประสงค์การใช้เดียวกัน คือการสร้างสำเนาของมูล Digital ของวัตถุ ต่างกันที่เป็นรูปแบบ 3มิติ Polygon (หรือ อาจใช้คำว่า Mesh ก็ได้) ไฟล์ 3D ที่ได้นี้อาจจะไปต่อ ไปพิมพ์ออกมาเป็นโมเดล 3มิติ (ใช้เครื่องพิมพ์ 3มิติ) , เอาไปทำ Animation, ทำหนัง CG, เอาไปใช้ในเชิง Engineer วิศวกรรมย้อนรอย, ใช้เชิงการแพทย์ได้ และล่าสุดในอุตสาหกรรม VR / AR
โดยเครื่อง 3D Scanner นั้นมีหลายแบบหลายประเภทเหมาะในการใช้งานไม่เหมือนกัน เช่นแบบ LED-Structure Light เป็นการฉาย Pattern แสงไปยังวัตถุ เหมาะกับการสแกนวัตถุ รูปปั้น สามารถเก็บไฟล์ได้ละเอียด , Laser ใช้เส้น Laser ยิงไปที่ชิ้นงาน เหมาะกับงานโลหะ รถยนต์ หรือวัตถุที่มีขนาดใหญ่, Lidar การยิงลำแสงเลเซอร์จำนวนมาไปยังวัตถุ หรือ สถานที่ Lidar เหมาะกับงานสแกนสำรวจ หรือใช้กับสถานที่มากกว่า สแกนวัตถุ, Infrared แม้ว่ามีคุณภาพต่ำไม่ละเอียด แต่มีความสามารถที่ระบบอื่นไม่มีคือการแยกวัตถุด้วยความร้อน เหมาะกับการสแกนสิ่งมีชีวิต คน หรือ สัตว์เป็นต้น, MRI Scan เครื่องสแกนภายในร่างกายมนุษย์ ที่ใช้ในโรงพยาบาล ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า นำภาพ 2D หลายๆ Slice มาต่อเป็น 3D เป็นต้น โดยแต่ละชนิดมีความสามารถข้อดี ข้อเสียแตกต่างกัน ซึ่งจะกล่าวถึงรายละเอียดด้านล่างต่อไป
ปล. บทความนี้เขียนขึ้นจากข้อมูลปัจจุบัน ธันวาคม 2020 / ท่านสามารถอ่านต่อ วิธีการเลือก 3D Scanner ให้เหมาะกับคุณ
3D Scanner คืออะไร?
เครื่องสแกน 3มิติ คือเครื่องเก็บข้อมูล 3มิติ (Collecting 3D Data) จากวัตถุ, โมเดล, สิ่งของ, คน รวมถึงสถานที่ก็ได้ โดยผลที่ได้คือ ไฟล์ 3มิติ ในรูปแบบ Polygon, 3D Mesh (หลายครั้ง เข้าใจผิดว่าไฟล์ที่ได้เป็น CAD) นามสกุลที่นิยมกันกันคือ .STL, .OBJ เป็นต้น ข้อมูลที่ได้มีมิติกว้าง, ลึก, สูง x-y-z ความละเอียดความแม่นยำของไฟล์ที่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของ 3D Scanner คำที่เกี่ยวข้องกับ 3D Scanner คือ
- Point Cloud กลุ่มของจุด coordinate x-y-z เป็น Raw Data ของเครื่องสแกน 3มิติ (เป็นกลุ่มจุด) ก่อนที่ Software จะแปลงจุดดังกล่าวเป็น Polygon (สามเหลี่ยมต่อกัน)
- Accuracy ความละเอียดหรือแม่นยำในการ 3D scanner โดยมากจะระบุในหน่วย Micron เช่นเครื่องความละเอียดสูงระดับ 10Micron หรือ ระยะความห่างของ Point Cloud ดีสุดที่ทำได้คือ 10micron (ยิ่งระยะห่างน้อยยิ่งละเอียดนั้นเอง)
ประโยชน์ของ 3D Scanner
ไฟล์ที่ได้จากเครื่อง 3D Scanner สามารถไปใช้งานต่อได้มากมาย ถ้าไม่ได้ไปแต่อะไรเพิ่มเติมสามารถพิมพ์ได้ทันทีด้วย 3D Printer โดยสามารถย่อ-ขยายโมเดลตามต้องการ, 3D Files สามารถนำไปวาดต่อเป็น CAD ไฟล์ หรือ นิยมเรียกว่า Reverse Engineer, เอาวิเคราะการรักษาทางการแพทย์-ทันตกรรม, เอาสร้างเกมส์-สร้างหนัง, แสดงตัวอย่างสินค้าเพื่อการโฆษณา และ ล่าสุดไปแสดงผลในงาน VR/AR
Engineering เชิงวิศวกรรม จะนิยมเอาไปใช้ 2 ทางด้วยกัน คือ Reverse Engineering หรือ วิศวกรรมย้อนกลับ และ Inspection
- Reverse Engineering เป็นการสแกน วัตถุที่มีอยู่ เป็นไฟล์ 3มิติ แล้วไปทำย้อนกลับเป็น CAD ตัวอย่างเช่น รถยนต์โบราณที่ไม่มีผลิตแล้ว หากอยากจะสร้างขึ้นมาใหม่ หรือ ทำเฉพาะบางส่วน สามารถใช้เครื่องสแกนเนอร์ 3มิติ เก็บรายละเอียด เอามาสร้างไฟล์ CAD นำไปใช้กับเครื่อง CNC หรือเครื่อง 3D Printer ต่อไป
- Inspection เป็นการควบคุมการผลิต เพื่อเปรียบเทียบงานที่ผลิตออกมาจริงๆ กับไฟล์ต้นแบบมาตรฐานที่สร้างไว้ การผลิตสินค้าหลายๆครั้งเมื่อรันเครื่องผลิตไปเรื่อยๆแล้วขนาดรูปร่างอาจจะไม่ตรงตามต้องการต้องมีการจูนเครื่องจักรกัน การผลิตที่เข้มงวดกับเรื่องนี้มากๆเช่นการผลิตเครื่องยนต์ งานหล่อ หรือ งานฉีดพลาสติกอาจจะไม่ได้คุณภาพหรือขนาดตามที่ต้องการ 3D Scanner จะมาช่วยในส่วนนี้ โดยวิศวกรจะนำไฟล์สแกน มาเทียบกับไฟล์ CAD มาตรฐาน
ทางด้านศิลปะ และ ภาพยนต์ เกมส์ สแกนวัตถุ คน สิ่งของ แล้วเอาไปแต่ไฟล์ต่อใน Software อื่นๆ เช่น Zbrush สามารถแก้ไขปรับแต่ง เพิ่มรายละเอียด เป็นการลดระยะเวลาในการทำงาน และคงคุณภาพงานได้ใกล้เคียงความจริงกว่า เช่น แต่ก่อนจะต้องสร้างโมเดลหน้าคนจากศูนย์เลย ตอนนี้สามารถสแกนเอาไฟล์สแกนมาแต่งเพิ่มเติม จะลดเวลา และได้ผลลัพธ์ออกมาเหมือนหน้าคนจริงๆมากกว่า เอาไปแสดงผลในภาพยนต์หรือเกมส์ต่อ STL สามารถเอาไปพิมพ์ 3มิติออกมา ตัวอย่างการนำไปใช้
- ย่อขยายโมเดล งาน Scale ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนคือ ปั้นพระองค์หนึ่งจากขึ้ผึ้งขึ้นมาขนาด 20cm (หรือขนาดที่ผู้ปั้นถนัด) สแกนไฟล์ดังกล่าวเพื่อเอาไปผลิต พระองค์นั้นในขนาดต่างๆ 5cm, 10cm, 20cm, 50cm, 100cm ไม่ต้องปั้นพระองค์เดิมๆหลายขนาด / ตย.ที่สอง เช่นที่อุทยานราชภักดิ์ ช่างปั้นโมเดลขนาดเ
- สร้างซ้ำ เช่นมีวัตถุโบราณ ต้องการสร้างซ้ำ เราจะใช้การสแกน
- สแกนเพื่อความสมจริง ประยุกต์ใช้ 3D scanner เก็บข้อมูลจากของจริง เช่นสแกนหน้าคนจะได้ความสมจริงกว่า (สแกนบางส่วน ปั้น3D ขึ้นเองบางส่วนก็ได้
ทางการแพทย์ ทันตกรรม ใช้สแกนเนอร์ 3มิติ ไปวินิจฉัยอาการและทำแผนการรักษาต่อไป ทางการแพทย์นั้นจะใช้สแกนเนอร์ ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ตัวอย่างเช่น
- ทันตแพทย์ ใช้ Intraoral สแกนฟันในช่องปาก นำไฟล์ที่ได้ไปทำการจัดฟันในช่องปาก Clear Aligner, สร้างครอบฟัน หรือ อื่นๆจากเครื่องพิมพ์ 3มิติ
- แพทย์ศัลยกรรมสมอง ใช้ MRI สแกนสมองเพื่อวิเคราะห์การรักษา จากไฟล์ 3มิติ
- แพทย์วินัจฉัยกระดูผิดรูป จากเครื่อง CT Scan
ประเภทของ 3D Scanner
แบ่งประเภท 3D Scanner ตามชนิดแสง/ชนิดเซนเซอร์
LED / Structure Light ใช้แสงในการสแกน โดยมากจะเป็นแสงขาว หรือ แสงน้ำเงิน โดยทั่วไปหลักการทำงานจะฉายแสงที่มี Pattern เป็นแถบเส้น (เหมือน Barcode แบบเส้น) หรือ แบบ Noise (เหมือน QR Code) ไปที่วัสดุ กล้องจะจับภาพกลับโดยมากจะมีกล้อง 2 ตัวขึ้นไป Software จะนำภาพ pattern ที่จับได้มาแปลงเป็นไฟล์ 3มิติ (แสงยิง Pattern ไปเหมือนเดิม แต่รูปร่างของวัตถุไม่เหมือนกัน กล้องจะเก็บรูปที่ได้ไม่เหมือนกัน)
- เก็บข้อมูลเป็น Plane XY หนึ่ง shot คือหนึ่งภาพ
- ข้อดีคือ สแกนเร็ว และ ได้ข้อมูลความละเอียดหวังผลได้
- ข้อเสียคือ ไม่สามารถสแกนหรือสแกนได้คุณภาพไม่ดี ใน วัตถุสีทีบแสง(ไม่สะท้อนแสง), วัตถุมันวาว(สะท้อนแสงมากเกินจนกระเจิง), วัตถุใสทะลุ(กล้องไม่สามารถเก็บค่าแสงที่สะท้อนออกมาได้) อย่างไรก็ตามสามารถแก้ปัญหานี้โดยการเตรียมผิวชิ้นงาน เตรียมสภาพแวดล้อมการสแกนก่อน อ่านเพิ่มที่ขั้นตอบการเตรียมวัสดุสแกน
- Brand ที่มีอยู่ในท้องตลาด Shining3D, Artech, Gom
Laser ใช้เลเซอร์เป็นแหล่งแสง เลเซอร์อาจจะมีสีแดง หรือ สีน้ำเงินก็ได้ ข้อดีของแสงเลเซอร์คือ มีความเข้มของแสงมากกว่าที่ฉายจากโปรเจคเตอร์หรือจากLED มากๆ ดังนั้นสามารถลองรับวัสดุที่หลากหลายกว่า วัสดุสีเข้ม หรือวัสดุที่มันวาวสะท้อนแสง
- เก็บข้อมูลเป็นเส้น Line หนี่ง frame เอาเส้นมาต่อๆกันเป็นไฟล์ 3มิติ
- ข้อดีแสงมีความเข้มแสงมากกว่า รอบรับการสแกนหลายพื้นผิว ไม่ว่าจะเป็นวัสดุที่มีสีเข้ม สีดำ, ผิวโลหะ ผิวมันวาว Chrome, สแกนในพื้นที่แจ้ง
- ข้อเสียของระบบนี้เลย คือต้องติด Marker เนื่องจากการสแกนไม่ได้เก็บข้อมูลเป็นระนาบ แต่เก็บเป็นเส้น Software ไม่สามารถต่อไฟล์ 3มิติ เข้าด้วยกันได้ ต้องใช้ Marker เป็นตัวอ้างอิง การติด Marker หลักๆคือเสียเวลา (ไม่ต้องเสียเวลาเตรียมผิวชิ้นงาน แต่เสียเวลาติด Marker แทน) และ อีกข้อคือถ้าเป็นเครื่องสแกนเนอร์แบบ Laser ล้วนๆ จะเก็บภาพสีไม่ได้ แต่ปัจจุบันรุ่นใหม่ๆมีกล้องเก็บสีเพิ่มเข้ามาด้วย
- Brand ที่มีอยู่ในท้องตลาด Shining3D, Creaform
Infrared ใช้หลักการจับภาพ Infrared ในการสแกน ตัวอย่างที่ใช้กันเยอะเช่น Kinect ของ Xbox กล้อง interactive ต่างๆ ข้อดีคือสามารถแยกคนออกจากสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าระบบอื่น
- ข้อดีคือ มีราคาถูกและใช้กันแพร่หลาย สามารถแยกคนจากสภาพแวดล้อมได้ดี เพราะแยกจากความร้อน
- ข้อเสีย เป็นระบบที่มีรายละเอียดต่ำที่สุด
Arm 3D Scanner Scanner เป็นระบบที่ใช้กันมานานแล้ว แต่มีราคาสูงมาก นิยมใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ โดยมาก Arm จะติด Probe หรือ Laser Scan เข้ามาด้วย โดยหากเป็น Probe ก็จะวัดจุดที่ Probe ไปแตะ ดูเป็นจุดๆไป แต่หากเป็นหัว Laser Scanner ที่ติดบน Arm อันนี้จะสามารถแสกนออกมาเป็นไฟล์ 3มิติ ได้เลย ไม่ต้องติด Marker เนื่องจาก Software รู้ตำแหน่งที่ของหัวสแกนเนอร์จาก Motor Servo ที่อยู่บน Arm (Laser Scanner ที่ไม่ติดบน Arm จะไม่รู้ตำแหน่ง จึงให้ Marker ช่วยระบุตำแหน่ง)
- เก็บข้อมูลเป็นจุด Coordinate กรณีเป็น Probe และเก็บเป็นเส้นเลเซอร์ กรณีเป็นหัว Laser Scanner
- ข้อดี เป็นระบบที่มีความแม่นยำสูงมาก เนื่องจากระบุตำแหน่งโดยใช้มอเตอร์ Servo ที่ข้อต่อแต่ละอัน
- ข้อเสีย ราคาสูงมาก และ มีข้อจำกัดในพื้นที่การสแกน ต้องสแกนในระยะที่ Arm ไปถึง
- Brand ที่มีอยู่ในท้องตลาด FARO, Kreon, Hexagon
Lidar เป็นระบบที่มีนานแล้ว ใช้ในเครื่องสแกน Land Scape หลักการคือการยิงแสงเลเซอร์จำนวนมากไปยังวัตถุและมี Sensor รับภาพกลับมาก เร็วๆนี้มีการเพิ่ม Lidar เข้ามาในเครื่อง Ipad Pro 2020 อย่างไรก็ตามคุณภาพในการสแกนยังค่อนข้างทำอยู่มาก อาจจะมีการพัฒนาให้ดีขึ้นเร็วๆนี้
- สาดลำแสงเลเซอร์จำนวนมากไปรอบ เก็บจุดที่เลเซอร์ตกกระทบ มาต่อกันเป็นไฟล์ 3มิติ เหมาะการสแกน LandScape-สถานที่ มากกว่า สแกนวัตถุ
- ข้อดี สามารถเก็บข้อมูลพื้นที่ใหญ่ๆมากๆได้ เริ่มมีการพัฒนาไปใส่ในอุปกรณ์พกพา (Ipad Pro 2020)
- ข้อเสีย ยังเก็บรายละเอียดได้ไม่ดีนัก เหมาะกันสแกนสถานที่ มากกว่าการสแกนวัตถุ
- Brand ที่มีอยู่ในท้องตลาด FARO, Leica
Photogrammetry เป็นการแปลงรูปถ่ายจำนวนมากๆ หลายๆมุมมาต่อกัน และแปลงค่าเป็นไฟล์ 3มิติ ระบบนี้ไปประยุกต์งานได้หลากหลายมากๆ ข้อดีคือ สามารถสร้างไฟล์ 3มิติ ของพื้นที่ใหญ่ๆได้ (ใช้ Drone เก็บภาพมุมสูง หรือ Video มุมสูง มา Process Mapping เป็นไฟล์ 3มิติ) อีกความสามารถหนึ่งที่เก่งมากๆคือ การสร้างไฟล์ 3มิติ ความละเอียดสูงของบุคคล ทำได้โดยการถ่ายภาพ จากกล้อง DSLR จำนวนมาก 70+ ตัว พร้อมกัน และนำมาประมวลผล นิยมใช้กันมากในการสร้างหนัง หรือ เกมส์ สร้างความสมจริงในการแสดงสีหน้า
- input คือ รูปภาพจำนวนมาก ของสิ่งที่เราต้องการสร้างไฟล์ 3มิติ โดยรูปภาพดังกล่าวควรจะถ่ายด้วยช่วงเลนส์ ช่วงเลนส์เดียวกัน รูรับแสงเดียวกัน White Balance เดียวกัน Software จะประมวลผล
- ข้อดี เอาไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย เช่น แผนที่ 3มิติ (เหมือนที่ Google Map ใช้) หรือ ใช้สร้างโมเดลสามมิติบุคคลแบบระเอียดสูง Capture สีหน้าได้สมจริง โดยใช้กล้อง DSLR จำนวน 70+ตัว ถ่ายภาพพร้อมกัน
- ข้อเสีย ใช้เวลาในการทำงานนานมากๆ ประมวลผลนานมากๆ บางครั้งใช้เวลาหลายวัน หากต้องการงานคุณภาพสูงต้องลงทุนหลายล้าน
- Brand ที่มีอยู่ในท้องตลาด Agisoft, RealityCapture บริษัทที่เป็น Reference ที่ดีคือ Ten24
Other 3D Scanners อื่นๆ มีอีกมากมายเช่นเครื่อง CT Scan และเครื่อง MRI Scan ก็เป็น 3D Scanner แบบหนึ่งเหมือนกัน
- CT Scan จะเป็นการสแกน Slice ร่างกายเราโดยใช้รังสี เหมาะสแกนพวกชิ้นส่วนที่ดูดซับแสง เช่นพวกกระดูก ไฟล์ที่ได้เป็น DICOM Slice ร่างกายเป็นหลายๆส่วน เอา Slice มาต่อกันเป็นไฟล์ 3มิติ
- MRI Scan จะสแกนเป็น Slice เช่นกันแต่จะใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เหมาะกับสแกนพวกเนื้อเยื้อ สมอง ไฟล์ที่ได้เป็น DICOM เหมือนกัน
- CMM อันนี้อาจจะเก่าสักหน่อย เป็นเครื่องสแกนแบบสัมผัสชิ้นงาน (Contact) เป็นหัว Probe จิ้มไปที่ชิ้นงานไปเรื่อย นำ Point Cloud มาประกอบเป็นไฟล์ 3มิติ
แบ่งประเภท 3D Scanner จากวิธีการสแกน (Fix Scan, Hybrid, Handheld)
Fix Scan การสแกนแบบ Fix Scan คือ “ขณะสแกนใน Shot นั้นๆ เครื่องสแกนต้องอยู่นิ่ง” อาจจะอยู่บนขาตั้งกล้อง หรือ แท่นจับ ก็ได้ เวลาในการสแกนแต่ละช็อตเกินวินาที-หลายวินาที ข้อดีของระบบนี้คือ สามารถเก็บงานได้ละเอียดกว่า ข้อเสียคือใช้เวลาในการสแกนนานกว่า
- เวลาสแกนเครื่อง 3D Scanner ต้องอยู่นิ่งบนขาตั้งกล้อง สแกนจบค่อยย้ายไป Shot ต่อไป (แนะนำให้เลื่อมกับจุดเดิม 30% ขึ้นไป Software จึงจะต่อไฟล์ให้เองอัตโนมัติ)
- ข้อดีของแบบนี้คือ สามารถเก็บรายละเอียดได้ดีกว่า ไฟล์คมชัดกว่า (เหมือนใช้ขาตั้งกล้องถ่ายรูป เทียบกับเราเอามือถือกล้องถ่าย)
- ข้อเสียของระบบนี้ คือ ใช้เวลาในการสแกนนานกว่าแบบ Handheld โดยเฉพาะงานชิ้นใหญ่ๆเกิน 50cm ขึ้นไป
- ระบบนี้สามารถทำงานร่วมกัน Automatic Turntable ได้ (3D Scanner อยู่บนขาตั้งกล้อง ชิ้นงานสแกนอยู่บนแท่นหมุนอัตโนมัติ เมื่อสแกน Shot หนึ่งเสร็จแท่นจะหมุนอัตโนมัติ ในองศาที่กำหนด เช่น 45องศา และ สแกนใน Shot ต่อไป สแกน 8 ครั้งจะได้ครบ 360องศา
- ตัวอย่าง 3D Scanner ที่เป็น Fix Scan ล้วนๆ EinScan SE, AutoScan Inspec, DS-EX Pro
Handheld การสแกนแบบ Handheld จะเป็นเทคโนโลยีที่มาใหม่ พัฒนาต่อมาจาก Fix Scan สืบเนื่องจากคอมพิวเตอร์พัฒนาประมวลผลได้เร็ว ทั้งกราฟิกและการเขียนอ่านข้อมูล จึงสามารถเก็บ Shot ได้เร็วขึ้น เครื่อง Handheld จึงถือกำเนิด เครื่องใหม่จะเก็บ shot ได้ 15-30 fps หรือ 15-30 shot ในเวลาหนึ่งวินาที ทำให้ถือสแกน ลากเก็บภาพ 3มิติไปเรื่อยๆได
- เวลาสแกนสามารถใช้มือถือสแกนชิ้นงานไปเรื่อยๆได้ ลากช้าหรือเร็วขึ้นกับ Spec ของเครื่องสแกนและความแรงของคอมพิวเตอร์ประมวลผล
- ข้อดีคือ สแกนได้รวดเร็ว สะดวก เหมาะกับความชิ้นใหญ่
- ข้อเสีย หากให้เทียบจริงๆแล้วคุณภาพงานสแกนสู้แบบ Fix ไม่ได้
- สามารถสแกนคนหรือสัตว์ได้ (อย่างไรก็ตามคน ควรจะอยู่นิ่ง ยืนเฉย หรือ นั่งเฉยๆ)
- เหมาะกับการสแกนของชิ้นใหญ่, ของที่เคลื่อนย้ายไม่ได้, คน หรือ สัตว์
- ตัวอย่าง 3D Scanner ที่เป็น Handheld ล้วนๆ EinScan Pro 2X/2XP,EinScan Pro HD,EinScan H,EinScan HX, AoralScan Intra-Oral Scanner
Hybrid เครื่องสแกนที่รวมเอาสองความสามารถนี้เข้าด้วยกัน คือจะใช้ขาตั้งกล้องก็ได้ หรือ มือถือสแกนก็ได้ จะมาเสริมจุดเสียของ Fix Scan ที่เก็บงานได้ละเอียดแต่ช้ามีข้อจำกัด กับ Handheld Scan ที่เก็บงานได้เร็วคล่องตัว ละเอียดจะเก็บได้น้อยลง
- เวลาที่ต้องการงานละเอียด ชิ้นงานเล็กใช้ โหมด Fix Scan
- เวลาสแกนคน, ของชิ้นใหญ่ ของที่เคลื่อนย้ายไม่ได้ ใช้โหมด Handheld Scan
- เครื่องแบบ Hybrid จะครอบคลุมการทำงานหลาก สแกนได้ทั้งของชิ้นกลาง-ใหญ่
- ตัวอย่าง 3D Scanner ที่เป็นแบบ Hybrid EinScan Pro 2X/2XP, EinScan Pro HD
อ่านเพิ่มเติม
ดูรายละเอียดสินค้าเพิ่มเติมได้ที่นี่
-
HotInfraredColorDental Scan
MetiSmile Dental Face 3D Scanner – เครื่องสแกนใบหน้าสำหรับงานทันตกรรม
โปรดสอบถามราคา Add to cart -
ColorLEDDental Scan
DS-EX Pro/Pro C Dental Model Scanner เครื่องสแกนเนอร์โมเดลฟัน ละเอียดสูง
Best Seller 249,000.00 ฿ – 269,000.00 ฿ Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
HotWifiColorLEDDental Scan
AoralScan3/AoralScan3 Wireless Intra-oral Scan สแกนเนอร์ในช่องปาก เรียวกว่า เร็วกว่า
โปรดสอบถามเพิ่มเติม Select options This product has multiple variants. The options may be chosen on the product page -
ColorLEDDental Scan
AoralScan2 Intra-oral Scan เครื่องสแกนเนอร์ในช่องปาก
โปรดสอบถามราคา Read more -
AoralScan3/AoralScan3 Wireless Intra-oral Scan สแกนเนอร์ในช่องปาก เรียวกว่า เร็วกว่า
โปรดสอบถามราคา Read more
อ่าน Review เพิ่มเติมตามแต่ละรุ่นไปที่นี่