Laser คืออะไร ? ใช้ทำอะไร อันตรายจริงไหม ? (Update 2024)

Laser คืออะไร ? ใช้ทำอะไร อันตรายจริงไหม ? (Update 2024)

เมื่อพูดถึง Laser หลายวงการมักรู้จักกันดีอยู่แล้ว ทั้ง Laser ที่ยิงแสงออกมาเพื่อความบันเทิง เพื่อการแสดงโชว์ หรือแม้กระทั่งด้านการแพทย์ในการใช้ตัดเนื้อเยื่อ เย็บแผล หรือแม้แต่การศัลยกรรม นี่ยังไม่รวมการลบรอยสักตามร่างกายหรือเส้นขนต่างๆ แต่สำหรับ Laser ในวันนี้ของเรา จะเป็นเลเซอร์ที่ใช้งานในด้านอุตสาหกรรมการผลิตเช่นการตัด การแกะสลักบนพื้นผิว หรือสินค้านั่นเอง โดยหลักจะมีทั้งหมด 3โหมด คือ Diode Laser , Co2 Laser , Fiber Laser เลเซอร์พวกนี้จะมีความเข้นข้นของแสงอยู่มาก รวมถึงการใช้งานที่รุนแรง วันนี้เราจะมาเริ่มเจาะลึกกัน หากใครรู้เบื้องต้นแล้วสามารถกดดูบางเนื้อหาที่อยู่ด้านล่างได้เลย

Laser คืออะไร

เลเซอร์ laser ย่อมาจากคำว่า light amplification by stimulated emission of radiation ในทางฟิสิกส์ คือ อุปกรณ์ที่ให้กำเนิดลำแสง ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่รวมกันระหว่างกลศาสตร์ควอนตัมกับอุณหพลศาสตร์ ซึ่งพลังงานแสงเลเซอร์ สามารถมีคุณสมบัติได้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ในการออกแบบ เลเซอร์ส่วนมากจะเป็นลำแสงที่มีขนาดเล็ก มีการเบี่ยงเบนน้อย (low-divergence beam) และสามารถระบุความยาวคลื่นได้ง่าย โดยดูจากสีของเลเซอร์ ถ้าอยู่ในสเป็กตรัมที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า (visible spectrum) ซึ่งเลเซอร์นี้อาจกล่าวได้ว่า เป็นการรวมพลังงานแสงที่ส่งออกมาจากหลายความยาวคลื่นเข้าด้วยกัน ซึ่งปัจจุบัน หลายอุตสาหกรรมนิยมนำเลเซอร์เข้ามาใช้งานในการผลิตอย่างเช่น การนำไปตัดที่เป็นอุปกรณ์เฉพาะ การนำไปแกะสลักบนขวด เพื่อมาร์คกิ้งวันเดือนปี ที่ผลิต และอื่น ๆ อีกมากมาย

ความเป็นมาของ Laser

Laser นั้นมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน และต่างกันออกบอกไป เพราะหากมีการค้นหาเกี่ยวกับ Laser แล้วค่อนข้างที่จะหลากหลายมากๆ แต่อีกหนึ่งประวัติที่พอจะเชื่อถือได้ และมีหลักการสูงคือ Laser ที่เราใช้กันอยู่ทุกวัน เป็นผลพลอยได้จากข้อเสนอแนะของ อัลเบิร์ด ไอน์สไตล์ ในปี 1916 ที่ว่าภายใต้สถานการณ์ที่เหมาะสม อะตอมสามารถปล่อยพลังงานส่วนเกินออกมาเป็นแสง ไม่ว่าจะโดยธรรมชาติหรือเมื่อถูกกระตุ้นด้วยแสง และจากนั้น ก็มีการคิดค้นขึ้น โดยการใช้ คลื่นความถี่ไมโครเวฟในปี 1953 โดย Charle H. Townes และได้ตั้งชื่อของที่เขาประดิฐว่า Maser และจากนั้นเค้าก็ร่ำรวยจากค่าลิขสิทธิ์หลายล้านดอลลาร์ จนทำให้หลายกลุ่มที่เป็นนักประดิษฐ์ พยายามสร้าง Laser และจากนั้นเริ่มมีการนำ ruby gemstone เข้ามาในการประดิษฐ์ William Bennett, Jr. และ Donald Herriott จาก Bell Labs เป็นผู้สร้างเครื่อง gas laser เครื่องแรกซึ่งสร้างลำแสงอินฟราเรดจากส่วนผสมของฮีเลียมและนีออน ในปี 1960

เลเซอร์ฮีเลียมนีออนเป็นเลเซอร์ชนิดแรกที่มีการใช้งานเชิงพาณิชย์ในวงกว้าง เนื่องจากสามารถปรับให้สร้างลำแสงสีแดงที่มองเห็นได้แทนลำแสงอินฟราเรด พวกเขาจึงพบว่าสามารถนำไปใช้ได้ทันทีโดยฉายเส้นตรงเพื่อการจัดตำแหน่ง การสำรวจ การก่อสร้าง และการชลประทาน ในไม่ช้า ศัลยแพทย์ตาก็ใช้พัลส์จากเลเซอร์ ruby gemstone เพื่อเชื่อมจอประสาทตาที่แยกออกมากลับเข้าที่โดยไม่ต้องตัดเข้าไปในดวงตา แอปพลิเคชันขนาดใหญ่ตัวแรกสำหรับเลเซอร์คือเครื่องสแกนเลเซอร์สำหรับการชำระเงินอัตโนมัติในซูเปอร์มาร์เก็ต ซึ่งได้รับการพัฒนาในช่วงกลางทศวรรษ 1970 และกลายเป็นเรื่องปกติในอีกไม่กี่ปีต่อมา ในไม่ช้า โดยมีประเภทของเลเซอร์ออกมามากมาย


ประเภทของ Laser  ที่ใช้ในอุตสาหกรรม

อย่างที่เกิ่นกันเอาไว้ว่าเลเซอร์มีหลากหลายประเภทนิยมใช้ในหลายอุตสาหกรรม แต่ที่ใช้หลัก ๆ จะมี Diode Laser , Co2 Laser , Fiber Laser  ซึ่งเลเซอร์ทั้ง 3ประเภทจะถูกใช้ได้ในหลายอุตสาหกรรม

Diode Laser

แห่งกำเนิดแสงมาจากตัว Diode มีขนาดเล็กมาก และมีกำลังที่น้อย 1-10Watt โดยลำแสงที่ออกมาอยู่ในช่วง UV 405 – 1080 nm (เป็นแสงที่ตาเรามองเห็นนะคับ จะเห็นเป็นสีน้ำเงิน-ม่วง ต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันเมื่อใช้งาน เช่น แว่นตา) หลังๆ Diode Laser ใช้ในการแพทย์และเสริมความงามมากขึ้นเช่นการจี้ขน กำจัดขน จี้ไฝ ตามคลินิคเสริมความงาม ซึ่งเมื่อก่อนใช้ CO2 เลเซอร์ในการจี้ผิว แก้แผลเป็น หลังจากที่ Diode เลเซอร์มาจึงนิยม เนื่องจากเครื่องไม่ใหญ่ เคลื่อนย้ายสะดวก แต่ในส่วนของ 3DD ที่เป็น Diode Laser จะเป็นเครื่องสำหรับแกะสลัก เนื่องจากกำลังไม่สูงมากอย่าง RAY-X และ RAY-Cube

ข้อดีของ Diode Laser

  • มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับหลอด CO2 ทำให้ตัวเครื่อง Laser Cutter/Engraving มีขนาดเล็กลงตามด้วย
  • เมื่อมีขนาดเล็กจีงไปติดตั้งได้กับหลายเครื่องมือ ปัจจุบันนิยมใช้ทางการแพทย์ เลเซอร์กำจัดขน เลเซอร์เพื่อความงาม
  • จากความยาวคลื่นสูง ทำให้ใช้งานดีกับแกะสลักบนพื้นผิวโลหะ (ไม่จำเป็นต้องทางน้ำยาก่อน)

ข้อเสีย

  • กำลังน้อยมากเมื่อเทียบกับ CO2 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
  • ส่วนใหญ่เน้นไปด้านงานที่ใช้แกะสลัก

Fiber Laser

เป็นเลเซอร์ที่มีกำลังมากที่สุด แหล่งกำเนิดแสงมาจาก Diode Laser จำนวนมากๆหลายตัว มารวมแสงผ่านกันที่เส้นไฟเบอร์นำแสง แสงของ Diode แต่ละเส้นจะมารวมกันที่เส้น Fiber เส้นใหญ่นำไปสู่หัวเลเซอร์และโฟกัสไปที่จุดเดียว Fiber Laser นิยมใช้ใน Fiber Marking 10-50Watt เป็นที่นิยมกับ ช่างจิวเวลรี่ ในการแกะสลักแหวน กำไร ที่วัสดุเป็นโลหะ การแกะสลักแก้วน้ำเยติ รวมถึงการ Marking ที่นิยมนำมารันตัวเลขบนวัสดุสินค้า หรือแม้แต่การลงวันผลิตสินค้าบนขวดน้ำพลาสติก และบางครั้งในส่วนของ 3D Printer SLA ก็มีการนำเอา Laser Fiber เข้ามาใช้งานในรุ่นใหญ่ ๆ อย่าง RAY SLA 3D Printer

Fiber laser สลักได้หลายพื้นผิว

ข้อดีของ Fiber Laser

  • กำลังวัตสูงสามารถใช้งานแกะสลักโลหะได้แต่ไม่สามารถตัดโลหะได้ ยกเว้นเครื่องที่มีกำลังวัตสูงๆ Fiber Metal Cutter ขนาด 1000-5000Watt (ซึ่งมีราคาสูงมาก)
  • สามารถแกะสลักได้ทุกวัสดุ ใช้งานง่าย ทำงานเร็ว
  • จากความยาวคลื่นสูง ทำให้ใช้งานดีกับแกะสลักบนพื้นผิวโลหะ (ไม่จำเป็นต้องทางน้ำยาก่อน)

ข้อเสีย

  • Fiber marking ไม่สามารถตัดได้ ทำได้เพียงแกะสลักอย่างเดียว
  • ถ้าในรูปแบบ Fiber Metal Cutter มีกำลังสูง และราคาที่สูงตามมา

Note : เครื่อง Laser Cut&Engrave เกือบทั้งหมดจะเป็นแบบ cartesian ส่วนเครื่อง Fiber Marking เกือบทั้งหมดจะเป็นแบบ Galvano แบบ Hybrid เริ่มจะมีให้เห็นได้บ้าง ยังใช้ในเครื่อง 3D Printer


Co2 Laser

เลเซอร์ ซีโอทู ทำการยิงแสงเลเซอร์ด้วยแก็สคาบอนไดออกไซด์ แสงที่ได้มีความยาวคลื่น 10.6 uM (10600 nm) เป็นช่วงความยาวคลื่นที่ตาเรามองไม่เห็น คือความยาวคลื่นใหญ่กว่า Infrared มากลำแสงที่ออกมาเป็นลำแสงความร้อนนั้นเอง การใช้งานต้องมีหลอด CO2 หลอดยาวๆตามขนาดกำลัง มีการใช้งานแพร่หลายมาก (ใช้กันมานานแล้ว) หาซื้อได้ทั่วไปในท้องตลาด ราคาเครื่องไม่แพง (แต่หลอดต้องเปลี่ยนบ่อยหน่อย) แต่มีจุดสำคัญเลยคือเครื่องมีขนาดใหญ่มาก ใหญ่ตามหลอดเลเซอร์ ต้องมีระบบหล่อเย็น Chiller เนื่องจากกระบวนการสร้างเลเซอร์เกิดความร้อนสูง แต่สำคัญที่สุดเลยหลอดเสื่อมประสิทธิภาพเร็วทุกครั้งที่ใช้งานต้องเปลี่ยน 3-6 เดือนครั้ง

ข้อดีของ CO2

  • หาซื้อง่าย มีผู้เล่นในตลาดหลายเจ้า เป็นเทคโลยีค่อนข้างอิ่มตัวแล้วในทั้งคุณภาพ และ ราคา
  • เหมาะกับการตัดงานเกือบทุกอย่างยกเว้น บนผิวโลหะตรงๆ (ต้องเลือกกำลังสูงหน่อยถ้าทำแกะสลักโลหะโดยตรง)
  • มีกำลังให้เลือกหลากหลาย 30-80Watt พบเห็นได้ทั่วไป, 150-400Watt (เกรดอุตสาหกรรม)

ข้อเสีย

  • การเคลื่อนย้ายทำได้ยาก เนื่องจากหลอด CO2 เป็นแก้วที่สามารถหล่นแตกได้
  • ต้องเปลี่ยนหลอดบ่อยๆ อายุการใช้งาน 3-6 เดือนตามความบ่อยใช้งาน
  • ในขั้นตอนการใช้งานต้องมีผู้ชำนาญการคอยเฝ้าดู

**จงคำนึงไว้เลเซอร์ทุกตัว ทุกชนิดมีความอันตารายขึ้นอยู่กับการใช้งาน โปรดใช้อย่างระมัดระวัง และสวมอุปกรณ์ป้องกันทุกครั้งเช่นแว่นตา ถุงมือกันความร้อน และไม่ควรสงสัยเวลาทำงาน และไม่ควรเข้าไปยุ่งกับตัวเครื่องในเวลาทำงาน หรือทำการปิดเซ็นเซอร์ต่าง ๆ **


เปรียบเทียบสเปค Laser และการใช้งานของแต่ละรุ่น รวมถึงแยกประเภท

 


การเคลื่อนที่ของเลเซอร์

1. Cartesian

เคลื่อนที่แบบ cartesian หัวเลเซอร์เคลื่อนทั้งระนาบ X Yหรือ หัวเลเซอร์เครื่องที่ในแกน XY โดยมอเตอร์ ระบบนี้พบเห็นได้บ่อยที่สุด พวกเครื่องตัด CO2, Fiber Laser , Diode Laser ต่างๆในท้องตลาด ระบบนี้ข้อดีคือถูก แต่ยังมีข้อจำกัด ด้านความเร็วของการทำงาน หัวเลเซอร์ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เร็ว เร็วเกินไปงานที่ได้ไม่ชัดไม่สวย เช่น ถ้าแกะสลักที่ 200mm/Sec เริ่มจะเห็น Ghost (ภาพเคลื่อนจากความหน่วงของหัวฉีด)

2. Galvano

เคลื่อนที่แบบ Galvano Scanner จะเห็นได้มากใน Fiber Laser Marking
Fiber laser สลักได้หลายพื้นผิว

 

หรือ การกวาดแสงโดยใช้ กระจก 2 บาน เป็นตัวหักเหลำแสงเลเซอร์ ไปยังจุดต่างๆบน Table จะเห็นระบบนี้ได้มากกับ เครื่อง Fiber Laser Marking ข้อดีของระบบนี้คือเร็วมาก ความเร็ว 5000mm/Sec มีให้เห็นได้ง่ายๆ ข้อเสียหลัก หลักๆของระบบนี้คือ คุณภาพของงานจะลดลงเมื่ออยู่ขอบชิ้นงาน ห่างจากจุดกึ่งกลางเท่าไหร่คุณภาพลดลงเท่านั้น เพราะเลเซอร์จะตั้งฉากที่จุดกึ่งกลางภาพ และจะตกกระทบเป็นมุมมากขึ้นเรื่อยหากห่างจุดกี่งกลาง และมีการนำไปประยุกต์ใช้ใน 3D Printer ระบบ SLA ขนาดใหญ่

3. Hybrid cartesian & Galvano

อันนี้เป็นอะไรที่มาใหม่มาก คือใช้กันหักเหแสง กับ การเครื่องที่ตามแกนมอเตอร์เข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่นเครื่อง Formlabs Form3 หัวเลเซอร์เคลื่อนที่ในแนวแกน X แบบ cartesian และ ใช้การหักเหของกระจกที่แกน Y เป็นการประยุกต์เอาข้อดีของทั้งสองระบบเข้าด้วยกัน คือเคลื่อนที่ยังเร็วอยู่ และแสงเลเซอร์ตกกระทบยังได้ฉากอยู่เสมอ


การเลือกใช้เลเซอร์ให้เข้ากับงาน

สิ่งที่ต้องการในการใช้งานเป็นปัจจุยหลักในการเลือกเครื่องให้เข้ากับชิ้นงาน ถ้าหากเป็นในส่วน Co2 Laser ทางเรา 3DD ก็มีให้เลือกมากมาย โดยดูได้จากภาพด้านล่าง โดยแยกกันไปในแต่ละขนาด

ในรูปแบบพลาสติก หรือ อะโลหะ การเลือกใช้งานเลเซอร์ สิ่งแรกที่ต้องดูเลยคือสโคปของงาน เพราะเลเซอร์แต่ละอย่างมีความสามารถและราคาที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ยกตัวอย่างเช่น ต้องการนำเครื่องเลเซอร์ไปทำ กรอบพระอคริลิค หรือ เลี่ยมพระ อาจจะต้องดูว่าตัวไหนที่สามารถทำการตัด และแกะสลักบนพลาสติกได้ เนื่องจากกรอบพระอคริลิคลูกค้าหลายคนที่ใช่งานต้องการการตัดขอบให้เป็นรูปร่าง และต้องการการแกะสลักขอบด้านข้างของอคริลิค โดยตัวที่ตอบโจทย์ได้อย่างมากจะเป็น Laser Co2 หรือ Diode ที่มีกำลังที่สูงและออกแบบมาเพื่อการตัด

ซึ่งแน่นอนหลายคนคงมีคำถามว่า ทำไมต้อง Laser Diode ที่มีการออกแบบมาสำหรับตัด อย่างที่เราได้กล่าวไปว่า Diode คือหัวเลเซอร์ขนาดเล็ก ซึ่งการที่จะตัดได้นั้นจำเป็นต้องมีกำลังวัตต์ที่สูง  รวมถึงมีข้อจำกัดที่เยอะ ไม่ว่าจะเป็นห้ามเป็นสีใส เนื่องจากกำลังวัตต์ที่น้อย จะทำให้ทะลุผ่านไปได้เลย  ห้ามเป็นสีขาวคล้ายกับสีใสแต่แสงของเลเซอร์จะกระจายหายไป ถ้าหากดีหน่อยจะเป็นเพียงกระจายหาย หากร้ายแรงจะเป็นแบบในส่วนถัดไปคือ ห้ามเป็นสีสะท้อน เพราะเลเซอร์จะสะท้อนกำลังเข้าหลอดทำให้เสียหายได้ จึงทำให้ในรูปแบบ Diode นิยมมาทำงานกระดาษ งานไม้กันมากกว่า และเน้นไปทางการแกะสลักนั่นเอง

ในรูปแบบเหล็ก เงิน ทองแดง หรือ โลหะ ถ้าว่ากันว่า Co2 ไม่สามารถทำงานบนโลหะได้อันนั้นก็เรื่องจริง แต่ก็เกือบถูก เพราะเครื่อง Co2 ทุกวันนี้มีการพัฒนาเพิ่มขึ้นโดยเป็นการผสมผสานเข้ากับการใช้ Gas Inlet O เพื่อให้ทำงานได้บนแผ่นโลหะ แต่ก็มีข้อจำกัดเนื่องจากกำลังการตัดยังน้อยอยู่ทำได้เพียง 2mm จะไม่เท่าตัว Fiber MetalCut ที่สามารถตัดได้หลาย mm และนอกจากนี้ยังมีเครื่องที่ใช้งานเฉพาะทาง อย่างเช่น การแกะสลัก ไม่ว่าจะเป็น แก้วเยติ แกะสลักแหวน จิวเวลรี่ แกะสลักปากกาเหล็ก เป็นต้น

 


ไฟล์ที่ใช้สั่งงานเลเซอร์ได้มาจากที่ไหน

ก่อนที่จะไปรู้ว่าไฟล์หาหรือสร้างมาจากไหนมารู้ประเภทของไฟล์กันก่อน

1 Bitmap การเรียงตัวของช่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กเป็นจำนวนมากหรือที่รู้จักกันในนามว่า Pixel หรือเรียกว่ารูปภาพนั่นเอง โดยเครื่องเลเซอร์ในปัจจุบันหลายตัวและหลายรุ่นสามารถใช้งานกับรูปภาพทั่วไปได้แล้ว หรืออาจจะมีพลิกแพลงเล็กน้อย แต่ส่วนใหญ่งานที่ใช้การตัดจะไม่ใช้รูปแบบ Bitmap หรือรูปภาพ มักจะนิยมใช้ในการแกะสลักกันมากกว่า


ตัวอย่างนามสกุลไฟล์Bitmapที่พบเห็นได้ทั่วไป :
 JPEG,BMP,PNG,TIFF

ข้อเสีย : ยิ่งขยายภาพยิ่งแตก แกะสลักได้เพียงอย่างเดียว

2 Vector เกิดจากการกำหนดพิกัดและการคำนวณค่าบนระนาบสองมิติรวมทั้งมุมและระยะทางในลักษณะที่แต่ละส่วนของภาพเป็นเส้นอิสระต่อกันโดยที่ภาพนั้นจะประกอบไปด้วยรูปแบบของเส้นตรง หรือเรียกอีกอย่างว่า ไฟล์เส้น ซึ่งไฟล์ประเภทนี้จะเป็นเฉพาะทางอย่างมาก ถ้าหากเปรียบเทียบได้อย่างเห็นได้ชัดคือ ไฟล์ Bimap เป็นไฟล์รูปภาพ Vector เป็นไฟล์เส้นที่สร้างขึ้นมา

ตัวอย่างนามสกุลไฟล์Vectorที่พบเห็นได้ทั่วไป : AI,DRW,CDR,DXF

ข้อเสีย : ขนาดไฟล์ที่ใหญ่กว่ามากและการสร้างขึ้นมาหรือดูต้องเป็นโปรแกรมเฉพาะที่รองรับเท่านั้นอีกทั้งคนสร้างไฟล์ประเภทนี้ต้องมีความรู้ในระดับนึงด้วย

หลังจากที่เรียนรู้เกี่ยวกับไฟล์ไปแล้ว เราจะทำการพาเข้าสู่การใช้งานไฟล์ โดยไฟล์ที่ได้มา จะไม่สามารถใช้งานได้เลยทันที จำเป็นต้องนำมาเข้ามาการสไลด์ไฟล์หรือผ่านตัวกลางอยู่ดี โดยเราจะยกตัวอย่างขึ้นมาไม่กี่ตัว

1  RD Works เป็นโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อระหว่าง ผู้ใช้ ไฟล์ และเครื่องเลเซอร์ โดยเน้นไปที่การควบคุม Controller Ruida

จุดเด่นของ RDWorks V8

  1. Workflow การทำงานเข้าใจง่าย แบ่งการทำงานเป็น Layer เลือกค่าการทำงานเป็นการตัด Cut, การแกะสลัก Scan แต่ละเลเยอร์สามารถตัวค่า%กำลัง ความเร็ว เป็นอิสระต่อกัน สามารถสร้างงานได้หลากหลาย
  2. มี Simulation ก่อนยิงจริงให้เห็นเส้นทางการทำงานของเครื่องตามลำดับ
  3. สามารถสั่งควบคุมเครื่องจาก Software
  4. ทำงานร่วมกับกล้องได้
  5. Save ไฟล์ .rd เพื่อเอาไปใช้งานที่เครื่องต่อได้

สามารถ Download มาทดลองใช้งานก่อน >>ได้ที่นี่<<

2 EZCAD2 Software สำหรับเครื่อง Ray Mark เครื่องแกะสลักชนิด Fiber Laser สั่งงานหรือตั้งค่าการทำงานกับเครื่อง Ray Mark แบ่งการทำงานเป็น Layer สามารถตั้งค่าความละเอียดของลายเส้น ความคมชัด รายละเอียดการแกะสลัก ใช้งานร่วมกับ RAYCUS Laser Genarator

จุดเด่นของ EZCAD2

  1. รองรับเลเซอร์ 4 ชนิด ได้แก่ Co2 / YAG / Fiber / SPI
  2. รองรับไฟล์ รูปภาพ (ฺBitmap) และไฟล์เส้น (Vector)
  3. รองรับการสร้าง QR Code / Barcode ได้
  4. รองรับการทำงานร่วมกับ Rotary (แท่นหมุน) และ สวิตซ์เท้า (Foot Switch)
  5. สามารถแบ่งการทำงานเป็น Layer เพื่อเรียงลำดับขั้นตอนการทำงาน
  6. สามารถเลือกองศาลายเส้น ความละเอียดของลายเส้นได้
  7. สามารถสั่งการทำงานเป็น Mark loop และแสดงขอบเขตการชิ้นงาน ก่อนทำงานจริง

สามารถ Download มาทดลองใช้งานก่อน >>ได้ที่นี่<<

3 LightBurn เป็นโปรแกรมที่ใช้งานไดหลากหลายมาก ๆ ทั้งบอร์ดการควบคุมที่หลากหลาย อาจจะมีซื้อเพิ่มเพื่อใช้กับบอร์ดของ RAYCUS แต่ก็คุ้มค่าเพราะสามารถใช้งานทุกเครื่องได้ในโปรแกรมเดียว

จุดเด่น Light Burn

  1. .ใช้งานกับเลเซอร์ได้หลากหลายชนิด
  2. รองรับไฟล์ได้หลากหลาย
  3. ตัวโปรแกรมออกแบบมาให้ใช้งานง่าย เข้าใจง่าย

4 Beam Studio เป็นโปรแกรมที่มากับ Flux Beamo Laser Co2 ซึ่งทำงานได้หลากหลายเหมือนกัน แต่จำกัดการใช้งานเพียงแค่ของ Flux Inc เท่านั้น และนอกจากโปรแกรมที่ขั้นเทพใช้งานง่ายแล้ว Beamo ยังมี Application ของตัวเองอย่างเช่น Flux Beamo Laser Co2 ที่สามารถใช้กล้อง ของโทรศัพท์มือถือมาถ่ายภาพและสั่งแกะสลักได้เลยผ่าน App ได้เลย

จุดเด่น Beamo Studio 

  1. .ใช้งานง่าย Friendly User
  2. สามารถจบทุกอย่างได้ใน Application และโปรแกรมของตัวเอง
  3. Application ไม่ได้ทำเพียงหน้าที่ส่งข้อมูลเท่านั้นยังสามารถทำงานบนนั้นได้เลย
  4.  โปรแกรมมีในรูปแบบ Online บนเว็ปไซต์

+สรุปข้อดีและข้อเสียในแต่ละประเภท

ในแต่ละประเภทของเลเซอร์จะมีการใช้งานที่แตกต่างกัน จะไม่มีตัวไหนที่สามารถทำงานได้ครอบคลุม จึงทำให้พูดได้ยากว่าแบบไหนดีกว่ากัน เพราะฉนั้นควรเลือกเลเซอร์ให้เหมาะกับงานของตัวเอง ถ้าหากต้องการให้ครอบคลุมอาจจะมีหลายรูปแบบ หรือหลายเครื่องนั่นเอง และเรื่องของราคา ส่วนตัวสำหรับเลเซอร์เป็นงานที่อาศัยความคิดสร้างสรรค์ รวมถึงความเข้าใจถึงหลักการทำงานของเครื่อง

Smart Laser Cutter and Engraver – CO2 เครื่องตัดและแกะสลักเลเซอร์อัจฉริยะ
เลเซอร์อัจฉริยะสั่งผ่าน Wifi, ผ่าน App มีกล้องไว้มองชิ้นงาน สามารถตัดตามแบบได้ง่ายๆ มีระบบดูดควันกรองอากาศในตัว

Laser Cutter and Engraver – CO2 เครื่องตัดและแกะสลักเลเซอร์ชนิด CO2 
เลเซอร์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด ระดับอุตสาหกรรม สามารถนำไปใช้เพื่อประกอบอาชีพ เป็น Workshop งานในบริษัท โรงเรียนที่ทำการเรียนการสอน STEM สามารถทำได้ทั้งการตัดและแกะสลัก เลเซอร์มีแหล่งกำเนิดจากหลอดแก้ว CO2 จำสามารถตัดได้แม้กระทั้งอคลิลิกใส ขนาดพื้นที่ทำงานเริ่มต้นที่ 40*30cm ถึง 250*130cm

Fiber Laser Marking เครื่องสลักโลหะไฟเบอร์เลเซอร์ความละเอียดสูง
เลเซอร์มาค์กิ้ง สำหรับแกะสลักผิวงานโลหะคุณภาพสูง เป็น Galvano ทำงานรวดเร็ว นิยมใช้ในอุตสาหกรรม สร้างอักษร Logo บนชิ้นงาน ชิ้นส่วนรถยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็คทรอนิค ใช้เวลาในการยิงไม่กี่วินาที, อุตสาหกรรมเครื่องประดับ, สามารถใช้ในการพิมพ์แผงวงจรอิเล็กทรอนิก มีให้เลือกระบบหว่างแบบ Station ออกแบบมาให้ใช้อยู่กับที่ โครงสร้างแข็งแรง และแบบ Handheld เพื่อใช้กับชิ้นงานขนาดใหญ่เคลื่อนที่ชิ้นงานยาก ย้ายเครื่องไปที่ชิ้นงานสะดวกกว่า เช่นพวกแม่พิมพ์ หรือ ใช้ Laser Fiber Marking ในการทำความสะอาดพื้นผิวโลหะ ยิงสนิมออกจากพื้นผิว